ธรรมธาตุ 7 หมายถึง ระบบการทำงานของนามธาตุ คือ เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ มโน จิต และ ภวังค์
จิต
พระพุทธเจ้าตรัสว่าเป็นอัสนีธาตุ
จิตเกิดจากกระบวนการทำงานอย่างเป็นระบบของนามธาตุ
มีลักษณะเป็นตัวเชื่อมต่อกระบวนการทำงานต่างๆ เช่น
เชื่อมรูปธาตุและนามธาตุให้สัมพันธ์กันได้ นามธาตุเกิดจากการสั่นสะเทือน คือ
ทุกข์เท่านั้นที่เกิดขึ้น (ไตรลักษณ์) ทุกข์เท่านั้นที่ดับไป (นิพพาน)
มโน
หมายถึง หมายถึงสิ่งที่ใจน้อมไป
มาจาก นะมะ (ความนอบน้อม)
เช่นเราเพ่งความสนใจไปที่ใดอาการที่ใจเราไปสนใจนั้นคือมโน มีลักษณะน้อมไป ยึดไว้
เคลื่อนย้าย มโนคือกฎอนิจจังแห่งธรรมนิยามของนามธาตุ
เกิดจากการที่นามธาตุมีความสัมพันธ์ต่อรูปธาตุและเกิดจากกระบวนการภายในของนามธาตุเอง
คือการให้ความสนใจไปในสิ่งใดสิ่งสิ่งหนึ่งที่จิตเหนี่ยวรั้งมาพิจารณา
และจิตเกิดการสนใจหรือย้ายความสนใจในสิ่งที่พิจารณาอยู่
ภวังค์
จิตใต้สำนึก เป็นสิ่งที่ไม่มีตัวตน
มีแต่สภาวะเกิดขึ้นจากกฎแห่งเหตุและผลของธรรมชาติอย่างละเอียด (หรือเรียกว่ากฎแห่งกรรม) อธิบายเช่นต้นไม้แต่ก่อนมีเพียงเมล็ดกิ่ง ก้าน ราก ดอก ผล ใบย่อมมีมาแต่ไหน
เพราะในเมล็ดย่อมมีเพียงข้อมูล แล้วอาศัยอาศัยปัจจัยเพิ่มปริมาณสสารขึ้น
อาศัยข้อมูลในเมล็ดทำให้มีลักษณะต่างๆ ถ้าเป็นสัตว์ก็คือ DNA ภวังค์ก็มีลักษณะเช่นนั้น คือเป็นข้อมูลของจิต ทำให้สัตว์มีลักษณะนิสัย สันดานแตกต่างกัน
เมื่อจิตออกจากร่างภวังคะจะจดจำข้อมูลสร้างร่างจากจิตตะอันเป็นอัสนีธาตุหรือธาตุพลังงานทำให้มีรูปร่างตามแต่ปัจจัยกำหนด
ที่มักเรียกกันว่าผี ภวังค์คือกฎวัฏฏตาแห่งพีชนิยามของนามธาตุ
ทำให้เกิดวัฏจักรการเวียนว่ายตายเกิดขึ้น
เวทนา
หมายถึงธรรมชาติรับรู้อารมณ์
ทางกายคือ 1.สุขํ สุข 2.ทุกขํ ทุกข์ 3.อทุกขมสุขํ
ไม่สุขไม่ทุกข์ ทางใจ 3คือ 1. โสมนัส สุขใจ 2.โทมนัส ทุกข์ใจ 3. อุเบกขา วางเฉย เวทนา คือกฎทุกขังแห่งธรรมนิยามของนามธาตุ
คือการแปรปรวนผันผวนของนามธาตุ ทุกขเวทนาเพียงดังน้ำที่ถูกต้มให้เดือด
สัญญา
หมายถึง ความทรงจำมี6 คือ จักขุสัญญา สิ่งที่ทรงจำทางตา
(ภาพ) โสตสัญญา (เสียง) สิ่งที่ทรงจำทางหู ฆานะสัญญา สิ่งที่ทรงจำทางจมูก (กลิ่น)
ชิวหาสัญญา สิ่งที่ทรงจำทางลิ้น (รสชาติ) กายสัญญา สิ่งที่ทรงจำทางกาย
(ประสาทสัมผัส) มนสัญญา สิ่งที่ทรงจำทางใจ สัญญา คือกฎสมตาแห่งพีชนิยามของนามธาตุ
อย่างเช่น ภูมิคุ้มกันของร่างกายที่เกิดจากการจดจำทุกขังและปรับสมดุลด้วยสมตา
สัญญาก็เป็นดุจภูมิคุ้มกันของจิต ที่เกิดจากการจดจำทุกขังและปรับสมดุลด้วยสมตา
สังขาร
หมายถึงสิ่งที่ปรุงแต่ง มี 3 คือ กายสังขาร
(การบังคับร่างกาย) วจีสังขาร (ความคิดตรึก ตรอง) จิตตะสังขาร
(อารมณ์ที่จรเข้ามาในใจ)1. กายสังขาร (สิ่งที่ปรุงแต่งกายอัสสาสะ ลมหายใจเข้า ปัสสาสะ
ลมหายใจออก)อัสนีธาตุของจิตตะ จะเชื่อมกับ อัสนีธาตุของกายสังขาร ที่เกิดขึ้นจากลมหายใจเข้าออกอันเป็นเหตุให้หทยวัตถุ
(หัวใจ) เต้น เหมือนเขื่อนเปลี่ยนพลังงานกลเป็นพลังงานไฟฟ้า
ทำให้จิตสามรถสั่งการให้ร่างกายเคลื่อนไหวได้ 2.วจีสังขาร (สิ่งที่ปรุงแต่งวาจาหรือภาษานั้นคือ
วิตก (ตรึก) วิจาร (ตรอง ) อันเรียกว่าความคิด ) 3.จิตตสังขาร (สิ่งที่ปรุงแต่งจิต มี 2
คือเวทนา
สัญญา)จิตตะเป็นปภัสสรคือบริสุทธิ์ว่างเปล่าราวกับอากาศไม่สว่างหรือมืด แต่เพราะ
เวทนาและสัญญา ที่จรเข้ามาทำให้จิตมีอารมณ์เป็นไปตามเวทนาและสัญญานั้น เช่น
เวลาหลับเราเมื่อย เวทนาก็เป็นอิริยาบถให้เราหายเมื่อย เราเดินเองโดยอัตตโนมัติเพราะร่างกายเราจดจำสัญญาในการเดินไว้ทำให้บางที่เดินไปในที่เคยชิน
และสัญญาที่เกิดจากวิตก (ตรึก) วิจาร (ตรอง) การตรึก คือการน้อมไปในการใช้สัญญา
เช่น สิ่งนี้คือต้นไม้ ต้นไม้นี้ชื่อต้นไผ่ วิจารทำให้เกิดการเปรียบเทียบ เช่น
คนนี้สวยกว่าคนนี้ ชีวิตเราสำคัญน้อยกว่าความรัก เงินสำคัญที่สุดเป็นต้น
ทำให้เกิดจิตสังชารที่ทำให้ยึดมั่นและเกิดอารมณ์ต่างๆตามมามากมาย เช่นรัก โลภ
โกรธตระหนี่ ริษยา อิจฉา อันเป็นเจตสิกต่างๆ ที่เกิดขึ้นพร้อมกับจิต สังขารคือกฎชีวิตาแห่งพีชนิยามของนามธาตุ ได้แก่นามธาตุชนิดต่างๆทั้ง50ชนิด(เจตสิก) ที่ทำมีหน้าที่ต่อกัน
ทำงานเป็นกระบวนการ
วิญญาณ
หมายถึงการรับรู้ มี6คือ จักขุวิญญาณ
โสตวิญญาณ ฆานวิญญาณ ชิวหาวิญญาณ กายวิญญาณ มโนวิญญาณ มโนสิ่งที่รับรู้ทางใจ มี 3
คือ รับรู้เวทนา รับรู้สัญญา รับรู้สังขารวิญญาณคือกฎอนัตตาแห่งธรรมนิยามของนามธาตุ
ทำให้เกิดความว่างเพื่อเป็นทางผ่านเจตสิกทำให้เกิดการรับรู้ขึ้น
[แก้]
อ้างอิง
§ พระครูนิพัทธธรรมโกศล
(หลวงพ่อทองใบ) โชติทินฺโน วัดฉิมพลียางโทน นครสวรรค์
0 ความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น