ประวัติศาสตร์และหลักฐานประวัติศาสตร์สุโขทัย
ดร. วินัย พงศ์ศรีเพียร
บรรยาย
ณ โรงแรมโลตัสปางสวนแก้ว จังหวัดเชียงใหม่ (เสาร์ที่ ๑๐ กันยายน ๒๕๕๔)
จารึกวัดศรีชุม
(หลักที่ ๒)
๑ ความสำคัญของเอกสารจารึกวัดศรีชุม คือ
จารึกหลักที่ ๒ ในประมวญจารึกไทย พลโท หลวงสโมสรพลการ (ทัด ศิริสัมพันธ์)
ค้นพบที่ช่องอุโมงค์ มณฑปวัดศรีชุม เมืองเก่าสุโขทัย เมื่อ พ.ศ. ๒๔๓๐
จารึกนี้จารบนแผ่นศิลาขนาดสูง ๒ เมตร ๗๕เซนติเมตร กว้าง ๖๗ เซนติเมตร หนา ๘
เซนติเมตร ถือว่า มีขนาดใหญ่ที่สุดในบรรดาจารึกภาษาและอักษรไทยสุโขทัย
คำจารึกบนแผ่นศิลามีอยู่ ๒ ด้าน ด้านแรกมี ๑๐๗ บรรทัด ด้านที่สองมี ๙๕ บรรทัด
แต่เดิมได้เคยอ่านต่อเนื่องกันจากด้าน ๑ ไปยังด้าน ๒ เลย แต่าสตราจารย์ ดร.
ประเสริฐ ณ นคร ได้ค้นพบว่า แท้จริงนั้น ผู้จารึก จารึก ลงด้าน ๑ จนถึงบรรทัดที่
๙๐ มีเส้นขีดจบตอนอยุ่ แล้วไปขึ้นด้าน ๒ แต่เมื่อจารึกไปสิ้นด้าน ๒ แล้วพบว่า
ยังไม่จบความต้องย้อนกลับมาจารึกบนด้าน ๑ ส่วนที่หลือต่อจนจบ
จารึกหลักนี้แต่เดิมยอช
เซเดส์ได้อ่านไว้ก่อนแต่เนื่องจากศิลาจารึกได้รับความเสียหาย
คำจารึกขาดหายไปมากและส่วนที่เหลืออยู่ก็อ่านได้ด้วยความยากลำบาก ใน พ.ศ. ๒๕๒๒
กรมศิลปากรได้จัดประชุมผู้เชี่ยวชาญอ่านตรวจสอบจารึกนี้ใหม่ แม้จะอ่านได้มากขึ้น
แต่ส่วนใหญ่ก็ไม่มีความแน่ใจกันจึงได้ขีดเส้นใต้ความที่อ่านได้ไม่ชัดเจน เมี่อ
พ.ศ. ๒๕๒๙/๓๐ ผู้เขียนยังมีความข้องใจเกี่ยวกับคำอ่านและการอธิบายความหลายตอนในจารึกวัดศรีชุมจึงได้เรียนเชิญศาสตราจารย์
ดร. ประเสริฐ ณ นคร พลตรีหม่อมราชวงศ์ ศุภวัฒย์เกษมศรี และคุณวีณา โรจนราธา
มานั่งอ่านกันใหม่อยู่หลายเดือนที่ห้องประชุมบัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยศิลปากร
วังท่าพระความในจารึกวัดศรีชุมเป็นอัตชีวประวัติสมเด็จพระมหาเถรศรีสรธาราชจุฬามุนี
(ซึ่งมักถอดชื่อท่านเป็นสันสกฤตว่า “ศรีศรัทธาราชจุฬามุนี”) เจ้านายในราชวงศ์ศรีนาวนำถม
ทรงเล่าเรื่องการสร้างสมภารบารมีเพื่อหวังที่จะได้ตรัสรู้เป็นพระพุทธเจ้าในอนาคต
เอกสารประเภทนี้เข้าในข่ายประวัตินักบุญ หรือที่ฝรั่งเรียกว่า hagiography ลักษณะการเขียนไม่แตกต่างกับจารึกพ่อขุนรามคำแหงในข้อบางครั้งใช้สรรพนามบุรุษที่
๑ บางครั้งใช้พระนามแทนตนเหมือนอย่างสรรพนามบุรุษที่ ๓ ในการเล่าอัตชีวประวัติของพระองค์ท่าน ซึ่งเรื่องที่สำคัญที่สุด คือการที่ทรงไดได้ไปประทับอยลูั่งกา
๑๐ เข้า (คือ ๙ ปีเต็ม) และบูรณปฏิสังขรณ์ศาสนสำคัญที่สุดของลังกา นั่นคือ
มหิยังคณเจดีย์และพระมหาทันตธาตุสุคนธเจดีย์ ขอ้ สังเกตที่สำคัญ คือ
สมเด็จพระมหาเถรศรีสรธาราชจุฬามุนีทรงกล่าวยํ้าว่า
เมื่อทรงกระทำบุญและพระสารีริกธาตุของพระพุทธเจ้าทรงแสดงปาฏิหาริย์หลายครั้งนั้น
เป็นเพราะได้ไป “ยอ” (ฟื้นฟู) ศาสนาของพระเจ้าในลังกาทวีป ผู้ที่ศึกษาประวัติศาสตร์ลังกาในช่วงเวลานี้ย่อมทราบว่า
ได้เกิดความวุ่นวายในลังกามากอันเนื่องมาจากการรุกรานของพวกทมิฬจากอินเดียใต้
จนทำให้กษัตริย์ลังกาต้องย้ายเมืองหลวงบ่อยๆ เพราะฉะนั้น สิ่งที่สมเด็จพระมหาเถรฯ
ทรงพยายามจะถ่ายทอดก็คือ ได้ทรงกระทำสมภารบารมีอันยิ่งใหญ่
ในส่วนที่เกี่ยวกับธุดงควัตรและการสร้างสมพระบารมีนั้น
ทรงเล่าพระประวัติไว้เป็นสองส่วน ส่วนแรกคือชีวิตเมื่อครั้งยังเป็นคฤหัสถ์
เล่าตั้งแต่เป็นเด็กจนถึงเหตุที่ทำให้ทรงออกพระผนวชและส่วนที่สองคือ ชีวิต
เมื่อเป็นบรรพชิตและได้เถมิรเทศ (ออกเดินทางไปยังดินแดนต่างๆ) ทั้งในสยามประเทศเอง
ชมพูทวีปและลังกา แล้วจึงเดิทางกลับมายังประเทศสยามอีกสำ หรับนักประวัติศาสตร์แล้ว
เรื่องที่เล่าแทรกอยู่ในพระประวัติมีความสำคัญไม่ยิ่งหย่อนไปกว่าวัตรปฏิบัติทางศาสนาและการจาริกแสวงบุญ
เช่นเรื่องความเป็นมาของราชวงศ์ศรีนาวนำถม ความสัมพันธ์ระหว่างพ่อขุนบางกลางหาวกับพ่อขุนผาเมือง
การขึ้นมามีอำนาจของราชวงศ์ศรีอินทราทิตย์ และรายละเอียดเกี่ยวกับพัฒนาการทางการเมืองของอาณาจักรสุโขทัยในเวลานั้น
การอ่านบนจารึกในสมัยแรกซึ่งยังอ่านได้ไม่ดีนัก ทำให้นำไปสู่การตีความที่ผิดๆ
เป็นต้นว่า เมื่อคนไทที่ปรกครองน่านเจ้า ต้องเสียบ้านเมืองแก่จีนราชวงศ์หยวน
กลุ่มคนไทก็ได้อพยพลงมายังแหลมทอง ตั้งรัฐต่างๆ ขึ้นมา ในลุ่มแม่น้ำยม
ผู้นำไทสองพระองค์คือ พ่อขุนบางกลางท่าวเจ้าเมืองบางยาง
และพ่อขุนผาเมืองเจ้าเมืองราด ได้ร่วมมือกับขับไล่ขอมสบาดโขลญลำพงออกไป ทั้งพระนามของพ่อขุนบางกลางท่าวและเหตุการณ์
ในปัจจุบัน เช่น บางกลางท่าว ต้องเป็น บางกลางหาว เป็นต้น
ความรู้ใหม่ที่ได้จากการศึกษาจารึกวัดศรีชุมมีหลายด้านโดยเฉพาะอย่างยิ่ง บทบาทของราชวงศ์ศรีนาวนำถม
ในประวัติศาสตร์สุโขทัย๒ สารัตถวิพากษ์3ท่านผู้อ่านจารึกวัดศรีชุมที่นำ มาเสนอในที่นี้ จะเห็นว่า ผู้เขียนได้จัดเรียงลำดับความที่ถูกตอ้งเพื่อความสะดวกในการศึกษาวิเคราะห์
ส่วนที่เป็นคำอ่านต้นฉบับของหอสมุดแห่งชาติมาก่อน
ส่วนที่เป็นคำอ่านปัจจุบันของผู้เขียนซึ่งเรียงอยู่ในบรรทัดถัดมา ในส่วนคำอ่านปัจจุบัน
ผู้อ่านย่อมสังเกตได้ทันทีว่า ผู้เขียนได้ซ่อมข้อความที่ขาดไว้ให้สมบูรณ์
ในเชิงสมมุติฐาน ความส่วนที่ซ่อมจำลองอยู่ในเครื่องหมายวงเล็บเหล่ยี ม [..]
เพื่อให้ทราบว่า คำหรือความที่หายไปน่าจะเป็นอะไรเหมือนดั่งภาพซ่งึ
ถูกตัดออกเป็นชิ้นๆ เอามาต่อขึ้นใหม่ แม้บางส่วนหายไป แต่ก็พอทราบได้ว่าเป็นอะไร (อ่านต่อฉบับหน้า)
อ้างอิง
ดร. วินัย พงศ์ศรีเพียร.2554..จารึกวัดศรีชุม (หลักที่ ๒): บรรยาย ณ โรงแรมโลตัสปางสวนแก้ว จังหวัดเชียงใหม่.
จารึกวัดศรีชุม(หลักที่ ๒).2554 :http://social.obec.go.th/library/document/curriculum/2/1/1.4.pdf.
0 ความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น