วัดช้างล้อ
ตั้งอยู่ภายในกำแพงเมืองกลางตัวเมืองศรีสัชนาลัย บนที่ราบเชิงเขาด้านทิศใต้ของเขาพนมเพลิงสิ่งสำคัญคือเจดีย์ประธานทรงลังกา ตั้งอยู่ภายในกำแพงแก้วสี่เหลี่ยมจัตุรัส มีซุ้มประตูทั้ง ๔ ทิศ ประตูด้านหน้าและด้านหลังเป็นประตูเข้าออก ประตูด้านข้างเป็นประตูหลอก(ตัน) ยอดทำคล้ายปรางค์
เจดีย์ประธานเป็นทรงลังกา อยู่บนฐานประทักษิณรูปสี่เหลี่ยมจัตุรัส มีช้างปูนปั้นเต็มตัวประดับโดยรอบฐานทั้ง ๔ ด้าน ด้านละ ๙ เชือก (ด้านหนึ่งซึ่งเป็นบันไดทางขึ้นมีเพียง ๘ เชือก) ที่มุมอีก ๔ เชือก รวมเป็น ๓๙ เชือก ช้างที่ประดับตรงมุมจะมีขนาดใหญ่ และมีลวดลายปูนปั้นประดับที่คอ ตันขาและข้อเท้า ระหว่างรูปช้างจะมีเสาประทีปสลับอยู่ ด้านหน้าช้างทุกเชือกจะมีพุ่มดอกบัวตูมปูนปั้นวางอยู่
ด้านหน้าเจดีย์ประธานมีบันไดขึ้นสู่ลานประทักษิณ บันไดสองข้างมีโกลนลำตัวพญานาคเหลืออยู่หลังจากที่ปูนปั้นกะเทาะหลุดหายไป เหนือฐานประทักษิณมีซุ้มพระพุทธรูปประทับนั่งปางมารวิชัย ๒๐ ซุ้ม หลังผนังซุ้มมีปูนปั้นรูปต้นโพธิ์อยู่หลังพระพุทธรูป แต่ว่าพระพุทธรูปถูกทำลายไปคงเหลือเพียงองค์เดียวด้านทิศเหนือ บริเวณองค์ระฆังขึ้นไปเป็นบัลลังก์ ก้านฉัตรซึ่งประดับด้วยพระรูปพระสาวกปูนปั้นลีลานูนต่ำจำนวน ๑๗ องค์
วัดช้างล้อมที่เมืองศรีสัชนาลัย ช้างมีลักษณะเด่นกว่าช้างปูนปั้นที่วัดอื่นๆ คือยืนเต็มตัวแยกออกจากผนัง มีขนาดสูงใหญ่กว่าช้างจริง และด้านหน้ามีพุ่มดอกบัวปูนปั้นประดับไว้ นักวิชาการสันนิษฐานว่าวัดช้างล้อมนี้น่าจะเป็นวัดเดียวกับที่ปรากฏ ในศิลาจารึกหลักที่ ๑ ที่กล่าวไว้ว่าในปี พ.ศ. ๑๘๙๒ พ่อขุนรามคำแหงให้ขุดเอาพระธาตุขึ้นมาทำบูชา และเฉลิมฉลอง หลังจากนั้นจึงฝังลงในกลางเมืองศรีสัชนาลัย และก่อพระเจดีย์ทับลงไป โบราณสถานภายในวัดที่ยังมีหลักฐาน คือ วิหารอยู่ด้านหน้าเจดีย์ประธาน นอกจากนั้นเป็นวิหารขนาดเล็กๆ ๒ หลัง และ เจดีย์รายอีก ๒ องค์
เจดีย์ประธานเป็นทรงลังกา อยู่บนฐานประทักษิณรูปสี่เหลี่ยมจัตุรัส มีช้างปูนปั้นเต็มตัวประดับโดยรอบฐานทั้ง ๔ ด้าน ด้านละ ๙ เชือก (ด้านหนึ่งซึ่งเป็นบันไดทางขึ้นมีเพียง ๘ เชือก) ที่มุมอีก ๔ เชือก รวมเป็น ๓๙ เชือก ช้างที่ประดับตรงมุมจะมีขนาดใหญ่ และมีลวดลายปูนปั้นประดับที่คอ ตันขาและข้อเท้า ระหว่างรูปช้างจะมีเสาประทีปสลับอยู่ ด้านหน้าช้างทุกเชือกจะมีพุ่มดอกบัวตูมปูนปั้นวางอยู่
ด้านหน้าเจดีย์ประธานมีบันไดขึ้นสู่ลานประทักษิณ บันไดสองข้างมีโกลนลำตัวพญานาคเหลืออยู่หลังจากที่ปูนปั้นกะเทาะหลุดหายไป เหนือฐานประทักษิณมีซุ้มพระพุทธรูปประทับนั่งปางมารวิชัย ๒๐ ซุ้ม หลังผนังซุ้มมีปูนปั้นรูปต้นโพธิ์อยู่หลังพระพุทธรูป แต่ว่าพระพุทธรูปถูกทำลายไปคงเหลือเพียงองค์เดียวด้านทิศเหนือ บริเวณองค์ระฆังขึ้นไปเป็นบัลลังก์ ก้านฉัตรซึ่งประดับด้วยพระรูปพระสาวกปูนปั้นลีลานูนต่ำจำนวน ๑๗ องค์
วัดช้างล้อมที่เมืองศรีสัชนาลัย ช้างมีลักษณะเด่นกว่าช้างปูนปั้นที่วัดอื่นๆ คือยืนเต็มตัวแยกออกจากผนัง มีขนาดสูงใหญ่กว่าช้างจริง และด้านหน้ามีพุ่มดอกบัวปูนปั้นประดับไว้ นักวิชาการสันนิษฐานว่าวัดช้างล้อมนี้น่าจะเป็นวัดเดียวกับที่ปรากฏ ในศิลาจารึกหลักที่ ๑ ที่กล่าวไว้ว่าในปี พ.ศ. ๑๘๙๒ พ่อขุนรามคำแหงให้ขุดเอาพระธาตุขึ้นมาทำบูชา และเฉลิมฉลอง หลังจากนั้นจึงฝังลงในกลางเมืองศรีสัชนาลัย และก่อพระเจดีย์ทับลงไป โบราณสถานภายในวัดที่ยังมีหลักฐาน คือ วิหารอยู่ด้านหน้าเจดีย์ประธาน นอกจากนั้นเป็นวิหารขนาดเล็กๆ ๒ หลัง และ เจดีย์รายอีก ๒ องค์
วัดเจดีย์เจ็ดแถว
ตั้งอยู่ค่อนข้างกลางตัวเมือง ตรงข้ามกับวัดช้างล้อม วัดนี้หันหน้าไปทางทิศตะวันออกเฉียงใต้ โบราณสถานที่สำคัญคือ เจดีย์ประธานรูปดอกบัวตูมอยู่ด้านหลังพระวิหาร และมีเจดีย์รายรวมทั้งอาคารขนาดเล็กแบบต่างๆกัน ๓๓ องค์ มีกำแพงแก้วล้อมรอบอีกชั้นหนึ่ง นอกกำแพงมีโบสถ์และบ่อน้ำ เดิมมีคูน้ำล้อมรอบ เจดีย์รายที่วัดเจดีย์เจ็ดแถว มีรูปแบบที่ได้รับอิทธิพลศิลปะจากที่ต่างๆ หลายแห่ง เช่น ลังกาและพุกาม
ด้านหลังเจดีย์ประธานทีเจดีย์รายที่มีลักษณะเด่นคือ ฐานเป็นเจดีย์สี่เหลี่ยมจัตุรัสยอดเป็นทรงกลม ภายในเจดีย์มีซุ้มโถง และสามารถเข้าไปได้ มีซุ้มเล็กประกอบซุ้มโถงอยู่ทั้ง ๒ ข้าง ประดิษฐานพระพุทธรูปปูนปั้นปางลีลา ส่วนซุ้มโถงเป็นที่ประดิษฐานพระพุทธรูปยืนปูนปั้น และมีภาพจิตรกรรมใช้สีแบบเอกรงค์เป็นภาพอดีตพระพุทธเจ้า และเหล่าเทวดากษัตริย์ที่มาแวดล้อมถวายดอกไม้ ส่วนซุ้มจรนัมด้านหลังของเรือนธาตุจะทำเป็นพระพุทธรูปนาคปรกอย่างสวยงาม ต่อจากเรือนธาตุเป็นเจดีย์ทรงกลม ๕ องค์โดยมีองค์ใหญ่เป็นประธานและมีเจดีย์ประจำมุม ๔ องค์ ประดับด้วยพระพุทธรูปปั้นปางลีลา ในซุ้มเรือนธาตุ
วัดเจดีย์เจ็ดแถวเป็นชื่อที่ตั้งขึ้นภายหลังโดยราษฎรในท้องถิ่น สาเหตุที่เรียกเนื่องจากพบเจดีย์จำนวนมากมายหลายแถวภายในวัด สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอกรมพระยาดำรงราชานุภาพ ทรงสันนิษฐานว่าวัดเจดีย์เจ็ดแถว เป็นที่ประดิษฐานพระอัฐิของพระราชวงศ์สุโขทัย
ด้านหลังเจดีย์ประธานทีเจดีย์รายที่มีลักษณะเด่นคือ ฐานเป็นเจดีย์สี่เหลี่ยมจัตุรัสยอดเป็นทรงกลม ภายในเจดีย์มีซุ้มโถง และสามารถเข้าไปได้ มีซุ้มเล็กประกอบซุ้มโถงอยู่ทั้ง ๒ ข้าง ประดิษฐานพระพุทธรูปปูนปั้นปางลีลา ส่วนซุ้มโถงเป็นที่ประดิษฐานพระพุทธรูปยืนปูนปั้น และมีภาพจิตรกรรมใช้สีแบบเอกรงค์เป็นภาพอดีตพระพุทธเจ้า และเหล่าเทวดากษัตริย์ที่มาแวดล้อมถวายดอกไม้ ส่วนซุ้มจรนัมด้านหลังของเรือนธาตุจะทำเป็นพระพุทธรูปนาคปรกอย่างสวยงาม ต่อจากเรือนธาตุเป็นเจดีย์ทรงกลม ๕ องค์โดยมีองค์ใหญ่เป็นประธานและมีเจดีย์ประจำมุม ๔ องค์ ประดับด้วยพระพุทธรูปปั้นปางลีลา ในซุ้มเรือนธาตุ
วัดเจดีย์เจ็ดแถวเป็นชื่อที่ตั้งขึ้นภายหลังโดยราษฎรในท้องถิ่น สาเหตุที่เรียกเนื่องจากพบเจดีย์จำนวนมากมายหลายแถวภายในวัด สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอกรมพระยาดำรงราชานุภาพ ทรงสันนิษฐานว่าวัดเจดีย์เจ็ดแถว เป็นที่ประดิษฐานพระอัฐิของพระราชวงศ์สุโขทัย
วัดสวนแก้วอุทยานใหญ่
ตั้งอยู่ภายในกำแพงเมืองโดยอยู่ในแนวเหนือใต้ แนวเดียวกับวัดช้างล้อมและวัดเจดีย์เจ็ดแถว สิ่งก่อสร้างสำคัญประกอบด้วย เจดีย์ประธานทรงกลม ก่อด้วยศิลาแลง ส่วนองค์ระฆังพังทลาย ด้านหน้ามีบันไดขึ้นไปจากมุขหลังของวิหารไปถึงเรือนธาตุ เพื่อสักการะพระพุทธรูปในคูหา ด้านเจดีย์ประธานที่พระวิหาร มีมุขด้านหน้าและด้านหลัง มีบันไดขึ้น ๕ ทาง เสาวิหารก่อด้วยศิลาแลง ยังเหลือให้เห็นอยู่ ๑๐ เสา กำแพงวัดก่อด้วยศิลาแลงล้อมรอบทั้งสี่ด้านมีทางเข้าด้านหน้าทางเดียว
วัดนางพญา
อยู่แนวเดียวกันกับวัดสวนแก้วอุทยานใหญ่ใกล้กับกำแพงเมืองด้านทิศใต้ วัดหันหน้าไปทางทิศตะวันออกเฉียงใต้ สิ่งก่อสร้างสำคัญประกอบด้วย เจดีย์ประธานเป็นเจดีย์ทรงกลมตั้งอยู่บนฐานประทักษิณ เดิมมีช้างปูนปั้นประดับสลับกับเสาประทีปปูนปั้นเช่นเดียวกับวัดช้างล้อม ซุ้มด้านหน้ามีบันไดทางขึ้นจนถึงภายในโถงเจดีย์และเดินได้รอบโถง ตรงกลางโถงมีแกนเจดีย์ประดับด้วยลวดลายปูนปั้น ตรงกลางมีซุ้มประดิษฐานพระพุทธรูปทั้ง ๔ ด้าน แต่ถูกทำลาย
วิหารก่อด้วยศิลาแลงมีมุขหน้าและมุขหลัง ผนังวิหารเจาะช่องแสง ผนังด้านทิศใต้ยังมีลวดลานปูนปั้นที่สวนงาม ลวดลายปูนปั้นทำเป็นกึ่งมนุษย์กึ่งวานรกำลังวิ่ง แต่ถูกทำลายไปบางส่วน แต่ถ้าได้ศึกษาลวดลายโดยละเอียดแล้วก็พบว่ายังเห็นได้ชัดเจน นอกจากนี้ยังทำเป็นรูปลวดลายพรรณพฤกษาและรูปเทพพนม ซึ่งเป็นฝีมือชั้นครู รูปแบบศิลปะอยู่ในสมัยอยุธยาตอนต้น
วิหารก่อด้วยศิลาแลงมีมุขหน้าและมุขหลัง ผนังวิหารเจาะช่องแสง ผนังด้านทิศใต้ยังมีลวดลานปูนปั้นที่สวนงาม ลวดลายปูนปั้นทำเป็นกึ่งมนุษย์กึ่งวานรกำลังวิ่ง แต่ถูกทำลายไปบางส่วน แต่ถ้าได้ศึกษาลวดลายโดยละเอียดแล้วก็พบว่ายังเห็นได้ชัดเจน นอกจากนี้ยังทำเป็นรูปลวดลายพรรณพฤกษาและรูปเทพพนม ซึ่งเป็นฝีมือชั้นครู รูปแบบศิลปะอยู่ในสมัยอยุธยาตอนต้น
วัดสวนแก้วอุทยานน้อย
อยู่ทางตะวันออกของวัดช้างล้อม ห่างออกมา ๒๐๐ เมตร วัดหันหน้าไปทางทิศตะวันออกเฉียงใต้ กลุ่มโบราณสถานในวัดนี้มีกำแพงแก้วล้อมรอบ มีประตูทางเข้า ๒ ทาง คือด้านหน้าวัดและหลังวัด โบราณสถานประกอบด้วยเจดีย์ประธาน เป็นเจดีย์ทรงดอกบัวตูม ล้อมรอบด้วยกำแพงแก้ว มีทางเข้าอยู่ด้านหน้า รอบเจดีย์มีเจดีย์รายแบบต่างๆ ล้อมรอบอยู่ถึง ๑๓องค์ วิหารของวัดนี้ มีซุ้มพระตั้งอยู่ด้านหลัง ลักษณะเป้นทรงมณฑป หลังคามณฑปเป็นรูปโค้งแหลม ภายในประดิษฐานพระพุทธรูป เป็นพระพุทธรูปประทับนั่งปางมารวิชัย คงปรากฏให้เห็นเพียง โกลนศิลาแลงและแกนไม้สักที่ใช้เป็นแกนยึดพระกรแล้วฉาบปูน
วัดเขาพนมเพลิง
อยู่บนยอดเขาพนมเพลิงภายในกำแพงเมืองโบราณสถานที่สำคัญคือเจดีย์ประธานทรงกลม ก่อด้วยศิลาแลง ตั้งแต่ก้านฉัตรขึ้นไปพังทลายหมด มณฑปก่อด้วยศิลาแลง ฐานสี่เหลี่ยมจัตุรัสยกพื้นสูงหลังคาโค้งแหลม มีบันไดทางขึ้นสู่มณฑปชาวบ้านเรียกว่าศาลเจ้าแม่ละอองสำสี
เขาพนมเพลิงปรากฎในพงศาวดารเหนือตอนที่เกี่ยวกับการสร้างเมืองสวรรคโลก(ศรีสัชนาลัย) โดยเลือกทำเลให้เขาพนมเพลิงอยู่กลางเมืองและสร้างวัดไว้บนเขาพนมเพลิงด้วย
สำหรับทางขึ้นวัดขึ้นได้ ๒ ทาง คือจากด้านหน้าวัดทางแก่งหลวง และด้านข้างวัดซึ่งทางขึ้นทำเป็นบันไดศิลาแลง ระหว่างทางขึ้นทั้งสองด้านมีศาลาที่พักด้วย
เขาพนมเพลิงปรากฎในพงศาวดารเหนือตอนที่เกี่ยวกับการสร้างเมืองสวรรคโลก(ศรีสัชนาลัย) โดยเลือกทำเลให้เขาพนมเพลิงอยู่กลางเมืองและสร้างวัดไว้บนเขาพนมเพลิงด้วย
สำหรับทางขึ้นวัดขึ้นได้ ๒ ทาง คือจากด้านหน้าวัดทางแก่งหลวง และด้านข้างวัดซึ่งทางขึ้นทำเป็นบันไดศิลาแลง ระหว่างทางขึ้นทั้งสองด้านมีศาลาที่พักด้วย
วัดเขาสุวรรณคีรี
ตั้งอยู่ถัดจากเขาพนมเพลิงไปทางด้านหลัง (ทิศตะวันตก) โดยตั้งอยู่บนเขาอีกยอดหนึ่งในเทือกเขาเดียวกัน โบราณสถานที่สำคัญคือเจดีย์ประธานทรงกลมองค์ระฆังขนาดใหญ่ก่อด้วยศิลาแลง ฐานเขียงใหญ่ ๕ ชั้น ใช้สำหรับเป็นลานประทักษิณ มีซุ้มพระทั้ง ๔ ด้าน ตรงก้านฉัตรมีพระพุทธรูปปูนปั้นปางลีลาเดินจงกรมรอบก้านฉัตรเช่นเดียวกับวัดช้างล้อม ฐานวิหารก่อด้วยศิลาแลงเจดีย์รายก่อด้วยศิลาแลง ด้านหลังเจดีย์ประธาน มีเจดีย์ทรงกลมรอบด้วยแนวกำแพงศิลาแลง
ประตูรามณรงค์และป้อม
อยู่ระหว่างกำแพงเมืองชั้นในด้านตะวันออกเฉียงใต้ เป็นประตูขนาดใหญ่ก่อด้วยศิลาแลง ฐานประตูรูปบัวคว่ำกรอบนอกทั้ง ๔ มุม เป็นลักษณะย่อมุมไม้สิบสอง ด้านหน้ามีทางเดินปูด้วยลูกรังไปหาป้อมประตู ป้อมประตูรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้า ผนังด้านนอกสุดเป็นการสกัดลงบนชั้นดินดาน รอบตัวป้อมล้อมรอบด้วยคูเมืองและสระน้ำ (สระท้องกุลี)
ประตูสะพานจันทร์และป้อม
อยู่ระหว่างแนวกำแพงเมืองชั้นในด้านตะวันตกเฉียงใต้ บริเวณเชิงเขาสุวรรณคีรี ลักษณะประตูก่อด้วยศิลาแลงสูงขึ้นลักษณะเรียบและตรง มีป้อมประตูอยู่ด้านหน้าโดยตั้งอยู่บนคันดินกำแพงเมืองขึ้นนอกป้อม เป็นการใช้แนวหินธรรมชาติทางด้านหน้าป้อมมีคูน้ำลึก
ประตูชนะสงครามและป้อม
ตั้งอยู่ระหว่างแนวกำแพงเมืองชั้นในด้านตะวันตกเฉียงใต้ ด้านทิศเหนือของเขาสุวรรณคีรี ซึ่งอยู่คนละฟากเขากับประตูสะพานจันทร์ ประตูเมืองก่อด้วยศิลาแลงมีทางเดินเป็นคันดินไปหาตัวป้อมซึ่งเป็นป้อมห้าเหลี่ยม
ประตูชัยพฤกษ์
ตั้งอยู่บริเวณมุมช่วงต่อของกำแพงเมืองชั้นในด้านทิศตะวันตกเฉียงเหนือ ประตูก่อด้วยศิลาแลง มีขนาดเล็ก ลักษณะเป็นการเจาะกำแพงออกไปตรงๆ ไม่พบร่องรอยการย่อมุม
ประตูเตาหม้อ
อยู่ระหว่างกำแพงเมืองชั้นในด้านทิศตะวันตกเฉียงเหนือใกล้กับมุม ที่ต่อจากกำแพงเมืองด้านตะวันออก เป็นประตูขนาดใหญ่ก่อด้วยศิลาแลง ภายในประตูทั้งสองฟากมีการเว้นช่องซึ่งอาจเป็นช่องสำหรับทหาร หรือเป็นช่องที่ลงเขื่อนไม้เมื่อมีศึกสงคราม สมเด็จกรมพระยาดำรงราชานุภาพทรงอธิบายความเพิ่มเติมไว้ในหนังสือเที่ยวเมืองพระร่วงว่า "ที่เรียกว่าประตูหม้อสันนิษฐานว่าประตูหม้อเป็นทางเดินไป ตำบลที่ตั้งเตาหม้อคือ เครื่องทำสังคโลก ถ้าเช่นนั้นก็จะอยู่ตอนริมน้ำทางด้านเหนือ"
วัดกุฎีราย
ตั้งอยู่นอกกำแพงเมืองด้านทิศเหนือห่างประตูเตาหม้อไปประมาณ ๕๐ เมตร โบราณสถานที่สำคัญคือ มณฑปประกอบอาคาร (มณฑปวิหาร) ก่อด้วยศิลาแลงทั้งหลัง หลังคาใช้ศิลาแลงก่อเหลื่อมเข้าหากันเป็นทรงจั่วเลียนแบบเครื่องไม้ หน้าจั่วมีรอยบากเพื่อเชื่อมหลังคาเครื่องไม้ของอาคาร ด้านหน้ามณฑปมีซุ้มประตูรูปโค้งกลีบบัวเป็นทางเข้าสู่ภายในซึ่ง ประดิษฐานพระพุทธรูปนั่ง มณฑปประกอบอาคารหลังเล็ก ตั้งอยู่ด้านขวาของมณฑปประกอบอาคารหลังใหญ่ นอกจากนั้นเป็นกลุ่มเจดีย์ราย ๖ องค์
วัดพระศรีรัตนมหาธาตุ
ตั้งอยู่ทางทิศตะวันออกเฉียงใต้นอกกำแพงเมืองศรีสัชนาลัยตรงช่วงแหลมโค้งข้อศอก ของแม่น้ำยมโดยหันหน้าวัดไปทางทิศตะวันออก วัดพระศรีรัตนมหาธาตุเป็นโบราณสถานขนาดใหญ่ ปัจจุบันมีฐานะเป็นพระอารามหลวงชั้นราชวรวิหาร สิ่งก่อสร้างสำคัญของวัดนี้มีดังนี้
ปรางค์ประธาน ก่อด้วยศิลาแลงฉาบปูนเสร็จแล้วลงสีชาดทับ รูปแบบสถาปัตยกรรมเป็นแบบศิลปกรรมสมัยอยุธยา ภายในซุ้มโถงมีสถูปรูปดอกบัวตูมขนาดเล็กโผล่ขึ้นมา ซึ่งเป็นหลักฐานว่ามีการสร้างครอบทับ ผนังภายในองค์ปรางค์มีร่องรอยของจิตรกรรมฝาผนังแต่ลบเลือนไปมาก ส่วนบริเวณเรือนธาตุด้านหน้ามีบันไดขึ้นสู่องค์ปรางค์ ฐานปรางค์องค์นี้มีลักษณะเป็นวิหารคต ๓ ชั้น ก่อผนังทึบและเจาะช่องแสง ซึ่งเมื่อพิจารณาดูแล้วฐานปรางค์แผ่ขยายกว้างออกไปทั้ง ๓ ด้าน (ด้านหน้าเป็นพระวิหาร) คล้ายสร้างครอบสถูปหรือเจดีย์ที่สำคัญไว้ภายใน ซึ่งคงเป็นสิ่งก่อสร้างในช่วงสุโขทัยตอนต้น เนื่องจากได้ขุดค้นพบฐานโบราณของสิ่งก่อสร้าง ก่อด้วยอิฐอยู่ใต้ฐานพระวิหารหลวง นอกจากนี้ยังพบกระเบื้องเชิงชายรูปนางอัปสรและเทวดา ซึ่งมีลักษณะร่วมสมัยศิลปะเขมรแบบบายน เช่นเดียวกับลายปูนปั้นยอดซุ้มประตูกำแพงวัด ซึ่งทำเป็นรูปพระพักตร์ของพระอวโลกิเตศวร อยู่ด้านบนทั้ง ๔ ทิศ แบบซุ้มประตูนครธม ในกัมพูชา ด้านล่างเป็นรูปเทพธิดานั่งในกรอบซุ้ม ด้านล่างเป็นรูปนางอัปสรร่ายรำ
ฐานพระวิหารหลวงพ่อโต อยู่ด้านหน้าพระปรางค์ภายในประดิษฐานพระพุทธรูปขนาดใหญ่ปางมารวิชัย อยู่ตรงกลางขนาบด้วยพระพุทธรูปขนาดเล็กประทับยืนทั้ง ๒ ข้าง ถัดมาทางด้านขวามีพระพุทธรูปปูนปั้นปางลีลาที่มีลักษณะงดงาม
กำแพงวัด เป็นศิลาแลงแท่งกลมขนาดใหญ่ปักเรียงชิดติดกันเป็นรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้า กว้าง ๖๐ เมตร ยาว ๙๐ เมตร มีคานทับหลังกำแพง มีทางเข้าออกด้านหลัง เหนือซุ้มประตูทำเป็นรูปคล้ายหลังคายอด เหนือซุ้มขึ้นไปมีปูนปั้นเป็นรูปพระพักตร์อวโลกิเตศวร ๔ หน้าตามแบบซุ้มประตูนครธม ของกัมพูชา
พระธาตุมุเตา อยู่ด้านหลังปรางค์ประธานนอกกำแพงแก้ว แต่ก็ยังล้อมรอบด้วยกำแพงศิลาแลงที่ทำเป็นแท่งสี่เหลี่ยมบาง น่าจะเป็นคนละสมัยกับกำแพงศิลาแลงที่ทำเป็นท่อนใหญ่ ของวัดพระศรีรัตนมหาธาตุเชลียง ตัวพระธาตุมุเตาก่อด้วยศิลาแลงฐานเป็นเหลี่ยมซ้อนกัน ๔ ชั้น ต่อจากนั้นเป็นบัวถลา๓ ชั้น ส่วนที่อยู่เหนือขึ้นไปพังทลายลงมาหมด ลักษณะพระธาตุมุเตาเป็นเจดีย์ทรงมอญ ในการขุดแต่งปี พ.ศ. ๒๕๓๕ ได้พบทองจังโกประดับส่วนยอดของเจดีย์
มณฑปพระอัฏฐารศ อยู่ด้านหลังของพระธาตุมุเตา เดิมน่าจะเป็นมณฑปพระสี่อิริยาบถ หลังคามุงกระเบื้องเครื่องไม้ ต่อมาพระพุทธรูปในอิริยาบถอื่นๆ สามองค์ได้ชำรุดคงซ่อมแซมดัดแปลงที่เหลือ เป็นพระพุทธรูปยืนอยู่ภายในซุ้มคูหาองค์เดียว
วิหารสองพี่น้อง อยู่ทางซ้ายพระอัฏฐารศ ก่อด้วยศิลาแลง มีพระพุทธรูปปูนปั้นปางมารวิชัย ๒ องค์ อยู่บนแท่นพระ จากการขุดค้นทางโบราณคดีพบว่าฐานวิหารสองพี่น้องก่อทับอาคารโบราณก่ออิฐหลังหนึ่ง ข้างขวาพระวิหารสองพี่น้องพบฐานรอยพระพุทธบาทด้วย
โบสถ์ ตั้งอยู่ด้านหน้าพระวิหาร ปัจจุบันทางวัดได้บูรณะปฏิสังขรณ์ใหม่ทั้งหลัง โดยสร้างทับโบสถ์เดิม
กุฎิพระร่วง - พระลือ ชาวท้องถิ่นเรียกกันในอีกชื่อหนึ่งว่า ศาลพระร่วง - พระลือ ได้รับการบูรณะซ่อมแขมในปีเดียวกันกับโบสถ์ ลักษณะเป็นมณฑปฐานสี่เหลี่ยมจัตุรัสกว้าง หลังคาทรงมณฑปก่ออิฐซ้อนกัน ๔ ชั้น เดิมเคยประดิษฐานรูปเคารพสององค์ และทรงเครื่องแสดงท่าคล้ายพระพุทธรูปปางประทานอภัย แต่สวมหมวก ชาวบ้านเชื่อว่าเป็นประติมากรรมของพระร่วงกับ พระลือ สองพี่น้อง วีรบุรุษต้นวงศ์พระร่วงสุโขทัยตามตำนานในพงศาวดารเหนือ ปัจจุบันย้ายไปจัดแสดง ณ พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติรามคำแหง สุโขทัย อาคารแห่งนี้ภายในประดิษฐานรูปหล่อจำลองของพระร่วง-พระลือ
ปรางค์ประธาน ก่อด้วยศิลาแลงฉาบปูนเสร็จแล้วลงสีชาดทับ รูปแบบสถาปัตยกรรมเป็นแบบศิลปกรรมสมัยอยุธยา ภายในซุ้มโถงมีสถูปรูปดอกบัวตูมขนาดเล็กโผล่ขึ้นมา ซึ่งเป็นหลักฐานว่ามีการสร้างครอบทับ ผนังภายในองค์ปรางค์มีร่องรอยของจิตรกรรมฝาผนังแต่ลบเลือนไปมาก ส่วนบริเวณเรือนธาตุด้านหน้ามีบันไดขึ้นสู่องค์ปรางค์ ฐานปรางค์องค์นี้มีลักษณะเป็นวิหารคต ๓ ชั้น ก่อผนังทึบและเจาะช่องแสง ซึ่งเมื่อพิจารณาดูแล้วฐานปรางค์แผ่ขยายกว้างออกไปทั้ง ๓ ด้าน (ด้านหน้าเป็นพระวิหาร) คล้ายสร้างครอบสถูปหรือเจดีย์ที่สำคัญไว้ภายใน ซึ่งคงเป็นสิ่งก่อสร้างในช่วงสุโขทัยตอนต้น เนื่องจากได้ขุดค้นพบฐานโบราณของสิ่งก่อสร้าง ก่อด้วยอิฐอยู่ใต้ฐานพระวิหารหลวง นอกจากนี้ยังพบกระเบื้องเชิงชายรูปนางอัปสรและเทวดา ซึ่งมีลักษณะร่วมสมัยศิลปะเขมรแบบบายน เช่นเดียวกับลายปูนปั้นยอดซุ้มประตูกำแพงวัด ซึ่งทำเป็นรูปพระพักตร์ของพระอวโลกิเตศวร อยู่ด้านบนทั้ง ๔ ทิศ แบบซุ้มประตูนครธม ในกัมพูชา ด้านล่างเป็นรูปเทพธิดานั่งในกรอบซุ้ม ด้านล่างเป็นรูปนางอัปสรร่ายรำ
ฐานพระวิหารหลวงพ่อโต อยู่ด้านหน้าพระปรางค์ภายในประดิษฐานพระพุทธรูปขนาดใหญ่ปางมารวิชัย อยู่ตรงกลางขนาบด้วยพระพุทธรูปขนาดเล็กประทับยืนทั้ง ๒ ข้าง ถัดมาทางด้านขวามีพระพุทธรูปปูนปั้นปางลีลาที่มีลักษณะงดงาม
กำแพงวัด เป็นศิลาแลงแท่งกลมขนาดใหญ่ปักเรียงชิดติดกันเป็นรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้า กว้าง ๖๐ เมตร ยาว ๙๐ เมตร มีคานทับหลังกำแพง มีทางเข้าออกด้านหลัง เหนือซุ้มประตูทำเป็นรูปคล้ายหลังคายอด เหนือซุ้มขึ้นไปมีปูนปั้นเป็นรูปพระพักตร์อวโลกิเตศวร ๔ หน้าตามแบบซุ้มประตูนครธม ของกัมพูชา
พระธาตุมุเตา อยู่ด้านหลังปรางค์ประธานนอกกำแพงแก้ว แต่ก็ยังล้อมรอบด้วยกำแพงศิลาแลงที่ทำเป็นแท่งสี่เหลี่ยมบาง น่าจะเป็นคนละสมัยกับกำแพงศิลาแลงที่ทำเป็นท่อนใหญ่ ของวัดพระศรีรัตนมหาธาตุเชลียง ตัวพระธาตุมุเตาก่อด้วยศิลาแลงฐานเป็นเหลี่ยมซ้อนกัน ๔ ชั้น ต่อจากนั้นเป็นบัวถลา๓ ชั้น ส่วนที่อยู่เหนือขึ้นไปพังทลายลงมาหมด ลักษณะพระธาตุมุเตาเป็นเจดีย์ทรงมอญ ในการขุดแต่งปี พ.ศ. ๒๕๓๕ ได้พบทองจังโกประดับส่วนยอดของเจดีย์
มณฑปพระอัฏฐารศ อยู่ด้านหลังของพระธาตุมุเตา เดิมน่าจะเป็นมณฑปพระสี่อิริยาบถ หลังคามุงกระเบื้องเครื่องไม้ ต่อมาพระพุทธรูปในอิริยาบถอื่นๆ สามองค์ได้ชำรุดคงซ่อมแซมดัดแปลงที่เหลือ เป็นพระพุทธรูปยืนอยู่ภายในซุ้มคูหาองค์เดียว
วิหารสองพี่น้อง อยู่ทางซ้ายพระอัฏฐารศ ก่อด้วยศิลาแลง มีพระพุทธรูปปูนปั้นปางมารวิชัย ๒ องค์ อยู่บนแท่นพระ จากการขุดค้นทางโบราณคดีพบว่าฐานวิหารสองพี่น้องก่อทับอาคารโบราณก่ออิฐหลังหนึ่ง ข้างขวาพระวิหารสองพี่น้องพบฐานรอยพระพุทธบาทด้วย
โบสถ์ ตั้งอยู่ด้านหน้าพระวิหาร ปัจจุบันทางวัดได้บูรณะปฏิสังขรณ์ใหม่ทั้งหลัง โดยสร้างทับโบสถ์เดิม
กุฎิพระร่วง - พระลือ ชาวท้องถิ่นเรียกกันในอีกชื่อหนึ่งว่า ศาลพระร่วง - พระลือ ได้รับการบูรณะซ่อมแขมในปีเดียวกันกับโบสถ์ ลักษณะเป็นมณฑปฐานสี่เหลี่ยมจัตุรัสกว้าง หลังคาทรงมณฑปก่ออิฐซ้อนกัน ๔ ชั้น เดิมเคยประดิษฐานรูปเคารพสององค์ และทรงเครื่องแสดงท่าคล้ายพระพุทธรูปปางประทานอภัย แต่สวมหมวก ชาวบ้านเชื่อว่าเป็นประติมากรรมของพระร่วงกับ พระลือ สองพี่น้อง วีรบุรุษต้นวงศ์พระร่วงสุโขทัยตามตำนานในพงศาวดารเหนือ ปัจจุบันย้ายไปจัดแสดง ณ พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติรามคำแหง สุโขทัย อาคารแห่งนี้ภายในประดิษฐานรูปหล่อจำลองของพระร่วง-พระลือ
ความสำคัญของวัดพระศรีรัตนมหาธาตุ เชื่อว่าเป็นศูนย์กลางของเมืองศรีสัชนาลัย ตั้งแต่สมัยพ่อขุนศรีนาวนำถุมเป็นต้นมา โดยมีหลักฐานยอดซุ้มปูนปั้นประตูทางเข้าวัด ซึ่งมีลักษณะรูปแบบศิลปะสมัยบายนและหลักฐาน จากการขุดค้นทางโบราณคดีที่พบทางศาสนสถานก่ออิฐอยู่ใต้วิหารหลวง และวิหารสองพี่น้อง มีศิลปวัตถุสำคัญคือ กระเบื้องเชิงชายทำเป็นรูปนางอัปสรถือดอกบัว และเป็นรูปเทวดา เทพธิดา หลักฐานต่างเหล่านี้ยืนยันอายุสมัยของวัดพระศรีรัตนมหาธาตุได้ว่ามีอายุมาแล้ว ตั้งแต่พุทธศตวรรษที่ ๑๘ จนถึงปัจจุบันก็ยังเป็นพระอารามหลวงชั้นราชวรวิหาร
วัดน้อยจำปี
อยู่นอกกำแพงเมืองศรีสัชนาลัย ด้านทิศตะวันออกเฉียงใต้ใกล้กับวัดเจ้าจันทร์ สิ่งก่อสร้างของวัดนี้ประกอบด้วย เจดีย์ประธานทรงกลมก่อด้วยศิลาแลง ฐานเป็นรูปสี่เหลี่ยมจัตุรัสต่อด้วยฐานบัวคว่ำและฐานสี่เหลี่ยม ๓ ชั้น ลดหลั่นกันขึ้นไปต่อด้วยฐานบัวและมีห้องสี่เหลี่ยมซึ่งอาจจะเป็นซุ้มพระ แต่ได้พังทลายไปหมดแล้ว พระวิหารอยู่ด้านหน้าองค์เจดีย์ประธาน ก่อด้วยศิลาแลงขนาดฐานสี่เหลี่ยมผืนผ้า ผนังวิหารมีผนังเจาะช่องแสง บนพื้นวิหารปูด้วยกระเบื้องเคลือบจากเตาเกาะน้อย เชื่อว่ามีเพียงแห่งเดียวในเมืองศรีสัชนาลัย ที่ปูกระเบี้องเคลือบ
วัดน้อย
อยู่ทางทิศตะวันออกเฉียงใต้ของเมืองศรีสัชนาลัย บริเวณที่ราษฎรเรียกว่า บ้านวัดน้อย สิ่งก่อสร้างสำคัญของวัดนี้ คือ เจดีย์ดอกบัวตูมขนาดเล็ก ส่วนฐานทั้ง ๔ ด้านมีซุ้มพระด้านหน้าที่ฐานอาคารขนาดเล็กยังมิได้ขุดแต่งบูรณะ ความสำคัญของวัดนี้ ปรากฎอยู่ในแผ่นจารึกที่พระบาทสมเด็จพระมงกุฏเกล้าเจ้าอยู่หัวโปรดให้จารึกว่า "ศุภมัสดุ พระพุทธยุคลได้ ๒๔๕๐ วันที่ ๒ กุมภาพันธ์ เสด็จฯ ประพาสทอดพระเนตรโบราณสถานหลายแห่งเป็นครั้งแรก ประทับแรมอยู่…. ตั้งพลับพลาอยู่เคียงวัดน้อยริมน้ำยมฝั่งใต้"
กำแพงเมืองเชลียง
แนวกำแพงเมืองเชลียง เป็นแนวกำแพงเมืองที่ล้อมรอบบริเวณที่เชื่อกันว่าเป็นบริเวณ เมืองเชลียง ซึ่งอยู่ทางทิศตะวันออกเฉียงใต้ของตัวเมืองศรี สัชนาลัย โดยเฉพาะด้านหน้าทิศตะวันออกเฉียงใต้มีแนวกำแพงตลอด ซึ่งเชื่อมกับแนวกำแพงศิลาแลงตรงประตูดอนแหลม ลักษณะกำแพงเป็นกำแพงศิลาแลงก่อขึ้นบนคันดินยกเว้นทิศเหนือที่เลียบแม่น้ำยม
แนวกำแพงเมืองเชลียงเดิมคงทำเป็นคันดิน ยกเว้นด้านทิศเหนือที่ใช้ลำน้ำยมเป็นเขตแดนธรรมชาติ ไม่ปรากฏหลักฐานว่าสร้างในสมัยใด การก่อศิลาแลงน่าจะก่อขึ้นภายหลัง พร้อมกับการก่อศิลาแลงเพิ่มเติมออกนอกเขตเมืองกำแพงศิลาแลงน่าจะสร้างก่อน พ.ศ. ๒๐๑๗ กล่าวคือในรรณคดีเรื่องลิลิตยวนพ่ายได้บรรยายถึงเมืองเชียงชื่น (ชื่อเรียกเมืองสวรรคโลกหรือศรีสัชนาลัยในคราวสงครามระหว่างพระเจ้าติโลกราช และพระบรมไตรโลกนาถ เพื่อแย่งชิงเมืองเชียงชื่น) ว่ามีแม่น้ำยมและแก่งหลวงขวางกั้นภูเขาสามลูก รอบๆมีกำแพงสามชั้น และมีกำแพงศิลาอยู่ชั้นใน
แนวกำแพงเมืองเชลียงเดิมคงทำเป็นคันดิน ยกเว้นด้านทิศเหนือที่ใช้ลำน้ำยมเป็นเขตแดนธรรมชาติ ไม่ปรากฏหลักฐานว่าสร้างในสมัยใด การก่อศิลาแลงน่าจะก่อขึ้นภายหลัง พร้อมกับการก่อศิลาแลงเพิ่มเติมออกนอกเขตเมืองกำแพงศิลาแลงน่าจะสร้างก่อน พ.ศ. ๒๐๑๗ กล่าวคือในรรณคดีเรื่องลิลิตยวนพ่ายได้บรรยายถึงเมืองเชียงชื่น (ชื่อเรียกเมืองสวรรคโลกหรือศรีสัชนาลัยในคราวสงครามระหว่างพระเจ้าติโลกราช และพระบรมไตรโลกนาถ เพื่อแย่งชิงเมืองเชียงชื่น) ว่ามีแม่น้ำยมและแก่งหลวงขวางกั้นภูเขาสามลูก รอบๆมีกำแพงสามชั้น และมีกำแพงศิลาอยู่ชั้นใน
วัดสวนสัก
ตั้งอยู่นอกกำแพงเมืองศรีสัชนาลัย ด้านทิศตะวันออก ริมทางหลวงหมายเลข ๑๒๐๑ บ้านป่ากล้วย โบราณสถานที่สำคัญ คือเจดีย์ทรงกลมก่อด้วยศิลาแลงค่อนข้างสมบูรณ์วิหารสี่เหลี่ยมผืนผ้าก่อด้วยศิลาแลง กำแพงศิลาแลงล้อมรอบทั้งเจดีย์ประธานและพระวิหาร
วัดสระไข่น้ำ
ใกล้กับประตูสะพานจันทร์ ออกมาประมาณ ๒๐๐ เมตร วัดหันหน้าไปทางทิศตะวันออกเฉียงเหนือ กลุ่มโบราณสถานประกอบด้วย เจดีย์ทรงกลมก่อด้วยศิลาแลง สภาพค่อนข้างสมบูรณ์ ที่ฐานชั้นแรกมีร่องรอยทำซุ้มพระประดับทั้ง ๔ ด้าน มณฑปประกอบวิหารเป็นวิหารขนาด ๕ ห้อง รูปสี่เหลี่ยมผืนผ้ามีมุขยื่นด้านหน้า ด้านหลังมีมณฑปก่อด้วยศิลาแลง ผนังมณฑปเป็นรูปสี่เหลี่ยมหลังคารูปโค้งแหลมก่อศิลาแลงเหลื่อมเข้าหากัน เป็นส่วนยอดหลังคา ด้านหน้ามีทางเข้า ภายในประดิษฐานพระพุทธรูปประทับนั่งปางมารวิชัย
วัดราหู
ตั้งอยู่ใกล้กับประตูสะพานจันทร์ ห่างจากวัดสระไข่น้ำไปทางทิศตะวันออกประมาณ ๕๐ เมตร วัดหันหน้าไปทางทิศตะวันออกเฉียงเหนือ สิ่งก่อสร้างสำคัญประกอบด้วย เจดีย์ประธานทรงดอกบัวตูมที่ได้รับการบูรณะเสริมความมั่นคงแล้ว ด้านหน้าเจดีย์ประธานเป็นวิหารศิลาแลงรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้า เจดีย์รายตั้งอยู่ด้านหลัง เจดีย์ประธานเป็นเจดีย์ทรงกลมจำนวน ๕ องค์ โบราณสถานทั้งหมดถูกล้อมรอบด้วยกำแพงศิลาแลง สาเหตุที่ชาวบ้านเรียกวัดราหู พบปูนปั้นรูปหน้ากาลซึ่งประดับที่ดอกบัวตูมส่วนยอดของเจดีย์ จึงเรียกหน้ากาลว่าราหูอมจันทร์
วัดพญาดำ
ตั้งอยู่นอกกำแพงเมือง เมื่อครั้งพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ได้เสด็จเมืองศรีสัชนาลัยในปี พ.ศ. ๒๔๕๐ พระองค์ได้พระราชนิพนธ์หนังสือ "เที่ยวเมืองพระร่วง" มีตอนหนึ่งที่ทรงพระราชนิพนธ์ถึงวัดแห่งหนึ่งที่เสด็จประพาสว่า "ที่นีมีวิหารรูปร่างคล้ายวัดศรีชุมเมืองสุโขทัยเป็นรูปสี่เหลี่ยมกว้าง ๕ วา ๓ ศอก ยาว ๖ วา ๓ ศอกคืบ และผิดกับวัดศรีชุมที่แบ่งออกเป็น ๒ ห้อง ด้านตะวันตก (คือ ด้านที่หันไปทางถนน) มีรูปพระยืน ด้านตะวันออกมีพระมารวิชัย ประตูยังมีซุ้มติดอยู่ มีใบระกาทางด้านตะวันออก และเจดีย์อีกหลายองค์ มีกำแพงล้อมรอบลานวัดนี้ถึงเป็นวัดเล็กก็จริง แต่ท่าทางจะเป็นวัดที่อยู่สบาย ส่วนใหญ่ก่อด้วยศิลาแลงมีอยู่ที่เชิงเขาใกล้วัดนี้ จึงเห็นว่าอย่างไรคงไม่กันดารน้ำ บางที่จะเป็นวัดนี้ที่ในพงศาวดาร กรุงเก่าเรียกว่า วัดไม้งาม เป็นที่ตั้งทัพหลวงของสมเด็จพระนเรศวร เมื่อเสด็จขึ้นมาปราบขบถพระยาพิชัย พระยาสวรรคโลกที่ข้าพเจ้านึกเช่นนี้เพราะเห็นว่า เป็นวัดที่อยู่ริมถนนพระร่วงทางมาจากสุโขทัย และดูอยู่ในภูมิที่เหมาะ นอกจากนี้ยังพบพระรัตนตรัยมหายานด้วยคือมีพระพุทธรูปนาคปรกอยู่ตรง กลางพระโพธิสัตว์อวโลกิเตศวรอยู่เบื้องขวานางปัญญาบารมีอยู่เบื้องซ้าย"
แต่จากการสำรวจโดยเจ้าหน้าที่อุทยานประวัติศาสตร์ศรีสัชนาลัย ตามลักษณะสภาพโบราณที่พระบาทสมเด็จพระมงกุฏเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงพรรณนาไว้นั้น ตรงกับโบราณสถานที่เรียกกันในปัจจุบันว่า วัดพญาดำ สาเหตุที่เรียกวัดพญาดำเนื่องจากมีคนร้ายลักลอบขุดหาพระพิมพ์ และพบพระพิมพ์นางพญาเนื้อสีดำเป็นจำนวนมาก จึงทำให้ราษฎรแถบนั้นเรียกชื่อวัดว่า วัดพญาดำ สิ่งก่อสร้างสำคัญของวัดนี้ประกอบด้วย มณฑปประธานก่อด้วยศิลาแลงฉาบปูนด้วย หลังมณฑปมีหลังคาคล้ายรูปประทุนเรือก่อโดยวิธีเรียงศิลาแลง เหลื่อมเข้าหากัน ทำเป็นรูปหลังคาซ้อนกัน ๒ ชั้น ภายในมณฑปแบ่งเป็นคูหา คูหาด้านหน้าประดิษฐานพระพุทธรูปนั่งปางมารวิชัยแต่ถูกทำลายไปมาก คูหาด้านหลังประดิษฐานพระพุทธรูป ๒ หรือ ๓ องค์ ตรงกลางเป็นพระพุทธรูปยืน จากภาพถ่ายเมื่อ ๘๗ ปีมาแล้ว พบว่าด้านทิศใต้มณฑปพบว่ามีเจดีย์รายทรงดอกบัวตูมอยู่ ๑ องค์ ปัจจุบันสูญหายไปแล้ว พระวิหารอยู่ด้านหน้ามณฑปก่อด้วยศิลาแลงฉาบปูนหลังคาเป็นเครื่องไม้มุงกระเบื้อง
มณฑปพระอัฏฐารศ ก่อด้วยศิลาแลงตั้งอยู่ด้านขวาของมณฑปประธานภายในคูหามณฑปมีร่องรอยว่าเคยประดิษฐานพระพุทธรูปยืนขนาดใหญ่ ซึ่งอาจจะมีความสูงถึง ๑๘ ศอก ที่นิยมเรียกกันว่า พระอัฏฐารศ
ซุ้มพระสำหรับประดิษฐานพระทั้ง ๔ ด้าน มีแท่นพระนอน อยู่ด้านหลังวัด ติดกับกำแพงแก้ว และตรงกลางแท่นพระ ซึ่งตรงกับกำแพงวัดมีช่องประตูไปยังวัดสระปทุม
เจดีย์รายหลายขนาดและหลายองค์ เท่าที่นับได้หลังจากการขุดแต่งบูรณะจำนวน ๓๘ องค์
เขตสังฆาวาส คือพื้นที่นอกกำแพงด้านทิศใต้ของวิหาร มีอาคารเล็กๆ ๒ หลัง พบชิ้นส่วนศิลาแลงเป็นแท่นกลมสลักสำหรับใส่เดือยไม้ เมื่อประกอบเป็นซุ้มประตูทางเข้าทั้งด้านใต้และด้านตะวันออก
สระน้ำอยู่ด้านหน้าพระวิหาร เป็นสระกรุด้วยศิลาแลง ด้านทิศเหนือของวัดมีบ่อน้ำกรุด้วยศิลาแลงที่มีน้ำขังตลอดปี
กำแพงวัดทำด้วยศิลาแลงเป็นท่อนปักรายรอบทั้ง ๔ ด้าน
แต่จากการสำรวจโดยเจ้าหน้าที่อุทยานประวัติศาสตร์ศรีสัชนาลัย ตามลักษณะสภาพโบราณที่พระบาทสมเด็จพระมงกุฏเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงพรรณนาไว้นั้น ตรงกับโบราณสถานที่เรียกกันในปัจจุบันว่า วัดพญาดำ สาเหตุที่เรียกวัดพญาดำเนื่องจากมีคนร้ายลักลอบขุดหาพระพิมพ์ และพบพระพิมพ์นางพญาเนื้อสีดำเป็นจำนวนมาก จึงทำให้ราษฎรแถบนั้นเรียกชื่อวัดว่า วัดพญาดำ สิ่งก่อสร้างสำคัญของวัดนี้ประกอบด้วย มณฑปประธานก่อด้วยศิลาแลงฉาบปูนด้วย หลังมณฑปมีหลังคาคล้ายรูปประทุนเรือก่อโดยวิธีเรียงศิลาแลง เหลื่อมเข้าหากัน ทำเป็นรูปหลังคาซ้อนกัน ๒ ชั้น ภายในมณฑปแบ่งเป็นคูหา คูหาด้านหน้าประดิษฐานพระพุทธรูปนั่งปางมารวิชัยแต่ถูกทำลายไปมาก คูหาด้านหลังประดิษฐานพระพุทธรูป ๒ หรือ ๓ องค์ ตรงกลางเป็นพระพุทธรูปยืน จากภาพถ่ายเมื่อ ๘๗ ปีมาแล้ว พบว่าด้านทิศใต้มณฑปพบว่ามีเจดีย์รายทรงดอกบัวตูมอยู่ ๑ องค์ ปัจจุบันสูญหายไปแล้ว พระวิหารอยู่ด้านหน้ามณฑปก่อด้วยศิลาแลงฉาบปูนหลังคาเป็นเครื่องไม้มุงกระเบื้อง
มณฑปพระอัฏฐารศ ก่อด้วยศิลาแลงตั้งอยู่ด้านขวาของมณฑปประธานภายในคูหามณฑปมีร่องรอยว่าเคยประดิษฐานพระพุทธรูปยืนขนาดใหญ่ ซึ่งอาจจะมีความสูงถึง ๑๘ ศอก ที่นิยมเรียกกันว่า พระอัฏฐารศ
ซุ้มพระสำหรับประดิษฐานพระทั้ง ๔ ด้าน มีแท่นพระนอน อยู่ด้านหลังวัด ติดกับกำแพงแก้ว และตรงกลางแท่นพระ ซึ่งตรงกับกำแพงวัดมีช่องประตูไปยังวัดสระปทุม
เจดีย์รายหลายขนาดและหลายองค์ เท่าที่นับได้หลังจากการขุดแต่งบูรณะจำนวน ๓๘ องค์
เขตสังฆาวาส คือพื้นที่นอกกำแพงด้านทิศใต้ของวิหาร มีอาคารเล็กๆ ๒ หลัง พบชิ้นส่วนศิลาแลงเป็นแท่นกลมสลักสำหรับใส่เดือยไม้ เมื่อประกอบเป็นซุ้มประตูทางเข้าทั้งด้านใต้และด้านตะวันออก
สระน้ำอยู่ด้านหน้าพระวิหาร เป็นสระกรุด้วยศิลาแลง ด้านทิศเหนือของวัดมีบ่อน้ำกรุด้วยศิลาแลงที่มีน้ำขังตลอดปี
กำแพงวัดทำด้วยศิลาแลงเป็นท่อนปักรายรอบทั้ง ๔ ด้าน
วัดสระปทุม
ตั้งอยู่นอกกำแพงเมืองด้านทิศตะวันตกเฉียงใต้ ใกล้กับแนวถนนหลวงหมายเลข ๑๒๐๑ (ศรีสัชนาลัย - สวรรคโลก) ห่างออกมาประมาณ ๑๐๐ เมตร โบราณสถานหันหน้าไปทางทิศตะวันออก โบราณสถานที่สำคัญคือมณฑปทึบ ๓ ด้าน ด้านหน้ามีทางเข้ามณฑปก่อด้วยศิลาแลง รูปหน้าจั่วโค้งแอ่นลงเลียนแบบเครื่องไม้มุงกระเบื้อง เจดีย์ทรงกลมอยูด้านหลังมณฑป ฐานแปลกกว่าเจดีย์ทรงกลมที่พบในเมืองศรีสัชนาลัย เนื่องจากฐานชั้นแรกทำเป็นฐานวงกลมโดยไม่ขึ้นฐานสี่เหลี่ยม เหมือนเจดีย์ทรงกลมองค์อื่นที่พบในเมืองศรีสัชนาลัย ในการขุดแต่งได้พบพระพุทธรูปลีลาบุทอง ๒ องค์ วิหารอยู่ด้านหน้ามณฑป และมีทางเดินปูศิลาแลงตรงไปยังวัดพญาดำ สิ่งก่อสร้างทั้งหมดของวัดนี้ ล้อมรอบด้วยคูน้ำ
วัดพรหมสี่หน้า
ตั้งอยู่ที่ราบใกล้กับคันดินกั้นน้ำสมัยสุโขทัย ห่างจากวัดสระปทุมไปทางทิศเหนือประมาณ ๓๐๐ เมตร โบราณสถานหันหน้าไปทางทิศตะวันออก โบราณสถานที่สำคัญคือมณฑปประธาน ทำหน้าที่คล้ายพระวิหาร ตัวมณฑปก่อด้วยศิลาแลงฉาบปูน หลังคาคงเป็นเครื่องไม้มุงกระเบื้องดินเผา ภายในประดิษฐานพระพุทธรูปขนาดใหญ่ วิหารอยู่ด้านหน้ามณฑปก่อด้วยศิลาแลง
มณฑปยอดเจดีย์มีซุ้มคูหา ประดิษฐานพระพุทธรูปยืนทั้ง ๔ ด้าน ซุ้มคูหาด้านทิศตะวันออกพบจิตรกรรมฝาผนังเป็นสีเอกรงค์เป็นรูปบุคคลถือดาบ ยอดมณฑปพังทลาย แต่พบชิ้นส่วนยอดมณฑป แบบยอดปรางค์ ส่วนยอดเจดีย์ย่อมุมทรงกลีบมะเฟือง สันนิษฐานว่ามณฑปองค์นี้คงจะมีส่วนยอดเป็นเจดีย์ย่อมุมทรงกลีบมะเฟือง
มณฑปยอดเจดีย์มีซุ้มคูหา ประดิษฐานพระพุทธรูปยืนทั้ง ๔ ด้าน ซุ้มคูหาด้านทิศตะวันออกพบจิตรกรรมฝาผนังเป็นสีเอกรงค์เป็นรูปบุคคลถือดาบ ยอดมณฑปพังทลาย แต่พบชิ้นส่วนยอดมณฑป แบบยอดปรางค์ ส่วนยอดเจดีย์ย่อมุมทรงกลีบมะเฟือง สันนิษฐานว่ามณฑปองค์นี้คงจะมีส่วนยอดเป็นเจดีย์ย่อมุมทรงกลีบมะเฟือง
วัดยายตา
ตั้งอยู่นอกเมืองศรีสัชนาลัยทางด้านทิศตะวันตกใกล้ถึงวัดสระไข่น้ำ สิ่งก่อสร้างสำคัญของวัดนี้ ประกอบด้วย
มณฑปประธานที่มีขนาดสูงและใหญ่ที่สุดในเมืองศรีสัชนาลัย หลังคาทรงจั่ว มุงด้วยกระเบื้องดินเผาภายในมณฑปมีแท่นพระประดิษฐานพระพุทธรูปขนาดใหญ่ ประทับนั่งขัดสมาธิ
วิหารอยู่ด้านหน้าติดกับมณฑป ก่อด้วยศิลาแลง ผนังวิหารก่อด้วยศิลาแลงเจาะเป็นช่องแสง
ซุ้มพระ เป็นซุ้มขนาดเล็กก่อด้วยศิลาแลงทั้งหลัง ด้านหน้ามีแท่นบูชา และยังมีที่ปลูกพระศรีมหาโพธิ์อยู่ด้านหน้ามณฑปเป็นรูปแปดเหลี่ยม ก่อด้วยศิลาแลงภายในเป็นดิน หลักฐานโบราณคดีที่สำคัญอีกอย่างหนึ่งของวัดนี้คือ ท่อดินเผาสังคโลกหรืออาจจะเป็นลูกกรงดินเผาเคลือบสีเขียว มีอักษรจารึกภาษาไทยตัวอักษรสุโขทัยตอนปลายเขียนว่า "นางพิม" อายุประมาณพุทธศตวรรษที่ ๑๙ - ๒๑
มณฑปประธานที่มีขนาดสูงและใหญ่ที่สุดในเมืองศรีสัชนาลัย หลังคาทรงจั่ว มุงด้วยกระเบื้องดินเผาภายในมณฑปมีแท่นพระประดิษฐานพระพุทธรูปขนาดใหญ่ ประทับนั่งขัดสมาธิ
วิหารอยู่ด้านหน้าติดกับมณฑป ก่อด้วยศิลาแลง ผนังวิหารก่อด้วยศิลาแลงเจาะเป็นช่องแสง
ซุ้มพระ เป็นซุ้มขนาดเล็กก่อด้วยศิลาแลงทั้งหลัง ด้านหน้ามีแท่นบูชา และยังมีที่ปลูกพระศรีมหาโพธิ์อยู่ด้านหน้ามณฑปเป็นรูปแปดเหลี่ยม ก่อด้วยศิลาแลงภายในเป็นดิน หลักฐานโบราณคดีที่สำคัญอีกอย่างหนึ่งของวัดนี้คือ ท่อดินเผาสังคโลกหรืออาจจะเป็นลูกกรงดินเผาเคลือบสีเขียว มีอักษรจารึกภาษาไทยตัวอักษรสุโขทัยตอนปลายเขียนว่า "นางพิม" อายุประมาณพุทธศตวรรษที่ ๑๙ - ๒๑
วัดหัวโขน
ตั้งอยู่นอกเขตกำแพงเมืองด้านทิศเหนือ ห่างจากประตูเมืองด้านทิศตะวันตกเฉียงใต้ประมาณ ๔๐๐ เมตร โบราณสถานแห่งนี้ หันหน้าไปทางทิศตะวันออก ประกอบด้วยสิ่งก่อสร้างที่มีขนาดใหญ่และมีความสำคัญ คือ
มณฑปผนังทึบ ๓ ด้าน ด้านหน้า (ด้านตะวันออก) เชื่อมกับพระวิหารก่อด้วยศิลาแลง ภายในมณฑปประดิษฐานพระพุทธรูปยืนขนาดใหญ่ ตรงกลางเป็นประธาน ส่วนที่มุมผนังทั้ง ๒ ด้าน ประดิษฐานพระพุทธรูปปูนปั้นนูนสูง รูปพระสาวกเหลืออยู่ ๓ องค์ เจดีย์ประธานทรงกลมมีซุ้มพระทั้ง ๔ ด้าน เจดีย์ประธานองค์นี้ก่อด้วยศิลาแลงเดิมอาจจะเป็นเจดีย์ทรงดอกบัวตูมมาก่อน แล้วถูกปฏิสังขรณ์เป็นเจดีย์ทรงกลมในสมัยต่อมา ในการขุดแต่งได้พบพระรัตนตรัยมหายานด้วย ลักษณะพระพิมพ์ชนิดนี้ตรงกลางมีพระพุทธรูปนาคปรก ด้านขวามีพระโพธิสัตว์อวโลกิเตศวร ด้านซ้ายมีนางปัญญาบารมีหรือนางปรัชญาปารมิตา
มณฑปผนังทึบ ๓ ด้าน ด้านหน้า (ด้านตะวันออก) เชื่อมกับพระวิหารก่อด้วยศิลาแลง ภายในมณฑปประดิษฐานพระพุทธรูปยืนขนาดใหญ่ ตรงกลางเป็นประธาน ส่วนที่มุมผนังทั้ง ๒ ด้าน ประดิษฐานพระพุทธรูปปูนปั้นนูนสูง รูปพระสาวกเหลืออยู่ ๓ องค์ เจดีย์ประธานทรงกลมมีซุ้มพระทั้ง ๔ ด้าน เจดีย์ประธานองค์นี้ก่อด้วยศิลาแลงเดิมอาจจะเป็นเจดีย์ทรงดอกบัวตูมมาก่อน แล้วถูกปฏิสังขรณ์เป็นเจดีย์ทรงกลมในสมัยต่อมา ในการขุดแต่งได้พบพระรัตนตรัยมหายานด้วย ลักษณะพระพิมพ์ชนิดนี้ตรงกลางมีพระพุทธรูปนาคปรก ด้านขวามีพระโพธิสัตว์อวโลกิเตศวร ด้านซ้ายมีนางปัญญาบารมีหรือนางปรัชญาปารมิตา
วัดเจดีย์เอน
ตั้งอยู่ด้านหลังเจดีย์เจ็ดยอด โดยอยู่แนวเทือกเขาเดียว สิ่งก่อสร้างที่สำคัญของวัดนี้ คือ เจดีย์ทรงกลมประธานและพระวิหารก่อด้วยศิลาแลงขนาดใหญ่
วัดเขาใหญ่ล่าง
ตั้งอยู่บริเวณเชิงเขาใหญ่ถัดจากเจดีย์เอนมาทางทิศตะวันตก สิ่งก่อสร้างสำคัญของวัดนี้คือ เจดีย์ทรงกลมเป็นเจดีย์ประธานลักษณะองค์ระฆังค่อนข้างเตี้ย น่าที่จะเป็นเจดีย์ทรงกลมรุ่นแรกๆ พระวิหารอยู่ด้านหน้าเจดีย์ประธานก่อด้วยศิลาแลง
วัดเขาใหญ่บน
ตั้งอยู่บนยอดเขาใหญ่ โบราณสถานที่สำคัญคือ เจดีย์ประธานทรงกลมขนาดใหญ่ซึ่งก่อสร้างครอบทับเจดีย์เล็กๆไว้ภายใน ที่องค์ระฆังมีการก่อพอกทับหลายชั้นเพื่อเสริมให้องค์ระฆังใหญ่ขึ้น ด้านหน้าเจดีย์ประธานมีวิหารและมณฑปอยู่ด้านหน้า ด้านหลังมีเจดีย์ทรงปราสาทยอดทำเป็นรูปกลีบมะเฟือง ด้านหลังเจดีย์ทรงปราสาท มีสระน้ำโบราณ จากเจดีย์ประธานไปทางตะวันตกมีกุฏิ หรือศาลาขนาดใหญ่สร้างอยู่บนเนินเขา แต่ปัจจุบันไม่เห็นรูปร่างชัดเจน ทางทิศใต้ของวัด ต่ำลงมา ตรงเชิงเขา มีบ่อน้ำ ๒ บ่อ และเศษกระเบื้องมุงหลังคาหล่นอยู่ทั่วไป สันนิษฐานว่าน่าจะเป็นกุฏิสงฆ์สำหรับวิปัสสนาธรรม
วัดอีเป๋อ
ตั้งอยู่บริเวณช่องเขาใหญ่ โบราณสถานแห่งนี้หันหน้าไปทางทิศตะวันออก มีพระวิหารก่อด้วยศิลาแลง และแนวศิลาแลงปักเป็นเขต โบสถ์เป็นรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้าก่อ ๒ ชั้น ชั้นแรกเป็นฐานใบเสมา ชั้นที่ ๒ ยกพื้นสูง น่าจะเป็นพื้นพระอุโบสถ ฐานอาคารเป็นรูปหกเหลี่ยมอาจจะเป็นเจดีย์ทรงกลม ฐานรูปหกเหลี่ยมในแต่ละเหลี่ยมมีช่องตรงกลางด้านละ ๑ ช่อง และในแต่ละช่องมีรูปสัตว์ปูนปั้นประดับอยู่
0 ความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น