วันศุกร์ที่ 2 พฤศจิกายน พ.ศ. 2555

สังโยชน์ (Samyojana) 10



ปัจจุบันโลกได้เปลี่ยนแปลงเข้าสู่การเป็นโลกาภิวัตน์ของเทคโนโลยีสมัยใหม่ผลักดันให้กลายเป็นสังคมแห่งการเรียนรู้แบบลักษณะเสรีภาพในระดับปัจเจกชนกันมากขึ้น มีลัทธิหลายลัทธิ ที่พยายามปลอมแปลงพุทธศาสนาให้เป็นลักษณะอื่น เช่น ฝึกจริตให้ตรงกัมมัฏฐานเพื่อบรรุธรรมเห็นโน้นนี้ ทำให้ผู้ยังไม่เข้าใจพระพุทธศาสนาอย่างถ่องแท้เดินทางผิด 

การบรรลุธรรมนั้นมีกระบวนการดังต่อไปนี้
สังโยชน์ (บาลี: samyojana) คือ กิเลสที่ผูกมัดใจสัตว์, ธรรมที่มัดสัตว์ไว้กับทุกข์ หรือกิเลสเครื่องร้อยรัดจิตใจให้จมในวัฏฏะ มี 10 อย่าง คือ
§  ก. โอรัมภาคิยสังโยชน์ สังโยชน์เบื้องต่ำ 5 ได้แก่
§  1. สักกายทิฏฐิ - มีความเห็นว่าร่างกายนี้เป็นของเรา มีความยึดมั่นถือมั่นในระดับหนึ่ง
§  2. วิจิกิจฉา - มีความสงสัยในคุณของพระรัตนตรัย คือพระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์
§  3. สีลัพพตปรามาส - ความถือมั่นศีลพรต โดยสักว่าทำตามๆ กันไปอย่างงมงาย เห็นว่าจะบริสุทธิ์หลุดพ้นได้เพียงด้วยศีลและวัตร หรือนำศีลและพรตไปใช้เพื่อเหตุผลอื่น ไม่ใช่เพื่อเป็นปัจจัยแก่การสิ้นกิเลส เช่นการถือศีลเพื่อเอาไว้ข่มไว้ด่าคนอื่น การถือศีลเพราะอยากได้ลาภสักการะเป็นต้น ซึ่งรวมถึงการหมดความเชื่อถือในพิธีกรรมที่งมงายด้วย
§  4. กามราคะ - มีความติดใจในกามคุณ
§  5. ปฏิฆะ - มีความกระทบกระทั่งในใจ
§  ข. อุทธัมภาคิยสังโยชน์ สังโยชน์เบื้องสูง 5 ได้แก่
§  6. รูปราคะ - มีความติดใจในวัตถุหรือรูปฌาน
§  7. อรูปราคะ - มีความติดใจในอรูปฌานหรือความพอใจในนามธรรมทั้งหลาย
§  8. มานะ - มีความยึดมั่นถือมั่นในตัวตนหรือคุณสมบัติของตน
§  9. อุทธัจจะ - มีความฟุ้งซ่าน
§  10. อวิชชา - มีความไม่รู้จริง
พระโสดาบัน ละสังโยชน์ 3 ข้อต้นได้คือ หมดสักกายทิฏฐิ,วิจิกิจฉาและสีลัพพตปรามาส
พระสกทาคามี ทำสังโยชน์ข้อ 4 และ 5 คือ กามราคะและปฏิฆะ ให้เบาบางลงด้วย
พระอนาคามี ละสังโยชน์ 5 ข้อแรกได้หมด
พระอรหันต์ ละสังโยชน์ทั้ง 10 ข้อ
อ้างอิง

0 ความคิดเห็น:

Twitter Delicious Facebook Digg Stumbleupon Favorites More