วันพุธที่ 5 ธันวาคม พ.ศ. 2555

อาณาจักรสุวรรณโคมคำ



อาณาจักรสุวรรณโคมคำ : ตามตำนานของบ้านวังพวกราชวงศ์ซึ่งเป็นการอ้างอิงที่สำคัญส่วนหนึ่งของ เสนีย์อนุชิต ถาวรเศรษฐ มีการสืบทอด ตำนานการเกิดขึ้นของอาณาจักรสุวรรณโคมคำ ของรัฐนาคฟ้า (อาณาจักรนาคฟ้า) โดยมีความเกี่ยวข้องกับทั้ง ท้าวพิมพิสาร, เจ้าโพธิสาร และ เจ้าสังหลวัติ กล่าวได้ว่าทั้ง พระองค์นี้ถือเป็นผู้ให้กำเนิดอาณาจักรสุวรรณโคมคำมีข้อเท็จจริงทางประวัติศาสตร์อยู่ประการหนึ่งว่า มหาจักรพรรดิท้าวเทวกาลนั้นมีพระราชโอรสและพระราชธิดาเป็นจำนวนมากมาย ทั้งฝ่ายมเหสีเชื้อสายศรีลังกา ตลอดจนพระชายาอื่น ๆ ไม่น้อยกว่า ๖๐ องค์ เป็นพระราชโอรสร่วมครึ่งหนึ่งในจำนวนทั้งหมด พระราชโอรสและพระราชธิดาเหล่านี้ได้อภิเษกสมรสระหว่างกันเอง ซึ่งถือเป็นพฤติกรรมที่ผิดกฎมณเฑียรบาล จึงต้องออกไปสร้างบ้านแปงเมืองใหม่ ๆ ขึ้นมา โดยการนำของเจ้าชายสิงหลวัติ ก็เกิดการสร้างบ้านแปงเมืองของกลุ่มพี่น้องเพื่อปกครองชาวไตยวน ตามบริเวณลุ่มแม่น้ำโขง (เชียงแสน-เชียงของ) ลุ่มแม่น้ำปิง (เชียงราย) และสุ่มแม่น้ำยม (พะเยา-แพร่, สวรรคโลก สุโขทัย) ได้ก่อกำเนิดเป็นแว่นแคว้นในระยะแรก ๆ โดยเรียกขานกันว่า แคว้นนาคพันธุสิงหลวัติ ใช้เมืองนาคพันธุสิงหลวัติ (เมืองสวนตาล) เป็นศูนย์กลางอำนาจรัฐ ซึ่งปัจจุบันนั้นคือจังหวัดพะเยา ...สันนิษฐานถึงช่วงเวลาของการก่อกำเนิดแว่น แคว้นนี้ประมาณ พ.ศ.๔๑๓ เป็นอย่างเร็วที่สุด กระทั่งช่วงเวลาต่อมาอีกหลาย ๆ ปีได้กลายเป็นอาณาจักรนาคพันธุสิงหลวัติตามตำนานการก่อกำเนิดแคว้นนาคพันธุสิงหลวัติ (พะเยา) และแคว้น พิมพิสาร (พันพาน) ที่เกี่ยวโยงกับเจ้าพิมพิสาร-เจ้าสิงหลวัติ มีหลักฐานทาง ประวัติศาสตร์ที่อาจขัดแย้งในรายละเอียดต่าง ๆ แต่ก็เป็นที่ยอมรับถึงความมีอยู่จริง ตำนานทั้งเมืองเหนือและเมืองใต้ก็ไม่ได้มีอะไรขัดกันในประเด็นหลัก ๆ ซึ่ง กล่าวถึงการตั้งต้นก่อกำเนิดแคว้นทั้งสองแห่ง ...จากการตรวจสอบหลักฐานของ เสนีย์อนุชิต ถาวรเศรษฐ ทางตำนานเมืองเหนือได้กล่าวถึงเจ้าพิมพิสารและ เจ้าสิงหลวัติว่าเป็นพี่น้องท้องเดียวกัน โดยเจ้าพิมพิสารนั้นเป็นพระเชษฐา ส่วนตำนานทางใต้ได้กล่าวถึงเรื่องราวของการก่อกำเนิดของแคว้นนาคพันธุสิงหลวัติ สรุปความว่าเกิดขึ้นในสมัยมหาจักรพรรดิท้าวทองสิงห์ ซึ่งเจตนาสร้างบ้านแปงเมืองขึ้นในแถบ ดินแดนลุ่มแม่น้ำโขง เพี่อเชื่อมโยงเส้นทางในทางบกสำหรับการเผยแพร่ศาสนาพุทธสู่ดินแดนสหราชอาณาจักรหนันเจ้า รายละเอียดเกี่ยวกับเจ้าสิงหลวัติจึงไม่ใช่ปัญหาใหญ่ ตัวอย่างเช่นการ กล่าวถึงใน "ตำนานเรื่องราวก่อกำเนิดทั้งแคว้นพิมพิสารกับแคว้นนาคพันธุสิงหลวัติ ก็บอกถึงว่าเจ้าพิมพิสารและเจ้าสิงหลวัติ ทั้งสองพระองค์นี้เป็นญาติลูกพี่ลูกน้อง" ซึ่งก็เป็นข้อมูลที่ไปสอดคล้องกับผลงานการค้นคว้าตำนานสิงหลวัติ โยนกชัยบุรีเชียงแสนของ สงวน โชติสุขรัตน์ อ้างอิงได้จากหนังสือเรื่อง "ท้าวฮุ่ง ขุนเจือง วีรบุรุษสองฝั่งโขง ที่จัดพิมพ์ขึ้นมาโดยสำนักพิมพ์มติชน"อาจยังมีอยู่บางหลักฐานที่ยังหาคำตอบเรื่องเจ้าสิงหลวัติ เป็นใคร? และมาจากไหน? ตั้งแต่ข้อสงลัยว่า ถ้ามาจากมืองราคฤห์ แล้วเมืองนี้ตั้งอยู่ที่ใด? มีบางส่วนตั้งข้อสันนิษฐานไว้ว่าน่าจะอยู่แถบลุ่มแม่น้ำสาละวิน หรืออาจจะเป็นเมืองบางเมืองในอาณาจักรหนันเจ้า แต่นักประวัติศาสตร์ส่วนใหญ่ก็เห็นว่าตั้งอยู่ที่ "ราชบุรี"อย่างไรก็ตามหลักฐานที่สอดคล้องไปในทางเดียวกัน คงระบุว่า "เจ้าชายสิงหลวัตินั้นเป็นพระราชโอรสของมหาจักรพรรดิท้าวเทวกาล ซึ่งเป็นพระราชโอรสของมหามหาจักรพรรดิท้าวทองสิงห์แต่พระองค์มีพระราชมารดาเป็นสายราชวงศ์ศรีลังกา รวมทั้งมเหสีของเจ้าชายสิงหลวัติก็ยังเป็นราชวงศ์ศรีลังกา (ลังกาวงศ์) ด้วยเช่นกัน

เมื่อมิได้เป็นสายราชวงศ์ขอมหรือเชื้อสายเจ้าอ้ายไต ตามกฎมณเฑียรบาล จึงทำให้พระโอรสทุกพระองค์ของเจ้าชายสิงหลวัติไม่มีสิทธิในการสืบทอดราชสมบัติ ของสหราชอาณาจักรเทียน ....นี้เป็นเหตุผลที่สามารถอธิบายได้ว่า "เจ้าชายพิมพิสาร ซึ่งเป็นพระญาติลูกพี่ลูกน้องและเป็นพระราชโอรสของท้าวสิงห์พิมพ์ได้กลายเป็นผู้ รับสืบทอดตำแหน่งมหาจักรพรรดิของสหราชอาณาจักรเทียนในช่วงเวลาต่อมา..."

ระยะเวลาเดียวกันนี้ก็เกิดปัญหาของชนชาติอ้ายไตในดินแดนหนันเจ้า ทั้ง แคว้นเสี่ยงให้ (เซี่ยงไฮ้ หรือ แคว้นอู๋) รวมทั้ง อาณาจักรหนานจ้วงหรือไตจ้วง (กวางตุ้ง, กวางสี, ตาเกี๋ย) ถูกกองทัพจีนเข้าทำการยึดครอง ...การอพยพของกลุ่ม เชื้อสายอ้ายไตที่หลบภัยสงครามเข้ามาตั้งรกรากในดินแดนลุ่มแม่นํ้าโขง, แม่น้ำยม, แม่น้ำอิง ซึ่งเป็นดินแดนของสหราชอาณาจักรเทียน ...ตรงนี้น่าจะเป็นอีกเหตุผล ของการสร้างบ้านแปงเมืองใหม่ เพิ่มขั้นเพื่อรองรับประชาชนกรผู้อพยพเชื้อ สายบรรพบุรุษเดียวกัน ตลอดจนบริเวณดังกล่าวก็ยังไม่มีผู้ปกครองที่จะดูแลความเป็นไปและความสงบเรียบร้อยต่าง ?

ต่อช่วงจากสมัยมหาจักรพรรดิท้าวทองสิงห์ ก็เข้าสู่สมัยของหาจักรพรรดิ ท้าวเทวกาล ซึ่งเกิดเหตุการณ์ใน พ.ศ.๔๓๒-๔๓๕ ทางฝ่ายสหราชอาณาจักรหนัน เจ้า ถูกรุกหนักด้วยกองทัพใหญ่ของจีน สงครามมีความรุนแรงถึงชั้นการฆ่าล้างเผ่าพันธุ์ชนชาติอ้ายไตที่เป็นชาวพุทธก็อพยพเคลื่อนย้ายสู่สหราชอาณาจักรเทียน เป็นอีกระลอกใหญ่ทีเดียว ..ผู้คนส่วนใหญ่จะพากันมุ่งเข้าไปตั้งรกรากอยู่ในแคว้นนาคพันธุสิงหลวัติ (พะเยา) มีบางส่วนที่ต่อแพล่องตามแม่น้ำโขงไปยังดินแดนอาณาจักรคามลังกา ส่วนพวกอพยพด้วยเรือสำเภาจะมุ่งไปยังอาณาจักรชวาทวีป (ปักษ์ใต้ตอนบน)

มหาจักรพรรดิท้าวเทวกาลได้ทรงมีพระราชบัญชา ให้ท้าวพิมพิสารไปรับภารกิจเพื่อรวบรวมบรรดาผู้อพยพที่มาโดยสำเภา เข้าไปในอาณาจักรชวาทวีป ให้รวมสร้างบ้านแปงเมืองขึ้นมาเพิ่มเติมบริเวณภาคใต้ตอนบนในปัจจุบัน ซึ่งได้เกิดแว่นแคว้นขึ้นหลายแห่ง เช่น แคว้นโพธิสาร (พุนพิน) แคว้นพินธุสาร (ชุมพร) และ แคว้นพันธุสาร (หลังสวน)

พร้อมกันนั้นเจ้าโพธิสาร ซึ่งเป็นโอรสของ "ท้าวพิมพิสาร" ก็ถูกมอบหมายให้เข้าไปช่วยเหลือผู้อพยพกลุ่มใหญ่ที่สุดในอาณาจักรคามลังก แล้วดำเนินการเคลื่อนย้ายต่อไปยังดินแดนลุ่มแม่น้ำอิง, แม่น้ำยมและแม่น้ำโขง สร้างเป็นอาณาจักรขึ้นเรียกว่า อาณาจักรสุวรรณโคมคำ

จิตร ภูมิศักดิ์ เคยค้นคว้าตำนานสิงหลวัติ ก็เคยกล่าวถึงเรื่องราวของการอพยพเหล่านี้ ระบุว่า "มีพวกกรอม (ขอม) จากนครอินทปัต (เมืองหลวงของอาณาจักรคามลังกา) ได้อพยพครอบครัวเข้าไปสมทบถึงวันละ ๒,๐๐๐ ครอบครัว มิได้ขาด ตลอดช่วงเวลาถึง ๓ ปี เป็นผู้คนกว่าแสนครอบครัว"

เสนีย์อนุชิต ถาวรเศรษฐ ได้ประมวลผลข้อมูลจากหลักฐานต่าง ๆ แล้ว สรุปว่า "อาณาจักรสุวรรณโคมคำ น่าจะถูกสร้างขึ้นมาประมาณ พ.ศ.๔๓๒-๔๓๕ สืบเนื่องจากผลของผู้อพยพหลบภัยสงครามจากหนันเจ้าเข้ามาสู่สุวรณกูมิ โดยมีศูนย์ กลางอำนาจรัฐในช่วงแรกๆอยู่ที่แคว้นนาคพันธุสิงหลวัติ (พะเยา)..."

อาณาจักรสุวรรณโคมคำ ประกอบไปด้วยแว่นแคว้นดังต่อไปนี้ คือ แคว้นนาคพันธุสิงหลวัติ (พะเยาหรือเมืองสวนตาล), แคว้นสุวรรณคำหลวง (เชียงแสน), แคว้นนาคอง (เชียงราย), แคว้นตุมวาง (แพร่) โดยมีมหาราชาสิงหลวัติ เป็นผู้ปกครองอาณาจักรแห่งนี้เป็นรัชสมัยที่หนึ่ง

อาณาจักรสุวรรณโคมคำที่ได้รับนามเช่นนี้ จิตร ภูมิศักดิ์ ได้กล่าวถึงสาเหตุซึ่งเรียกชื่อเช่นนี้ว่า "...เพราะมีการตั้งเสาโคมทอง แขวนโคมบูชาพระพุทธเจ้า ไว้ที่ท่าน้ำริมแม่น้ำโขงไปทั่วเมือง" ...ส่วนในงานค้นคว้าของเสนีย์อนุชิต ถาวรเศรษฐ เขาได้กล่าวว่า "...ที่เรียกชื่ออาณาจักรสุวรรณโคมคำ เพราะมหาจักรพรรดิท้าวเทวกาลรับสั่งให้ผู้อพยพได้สร้างเป็นโคมคำเพื่อไวใช้จุดเทียนไว้ในภายโคมคำนั้นเมื่อถึงยามพลบค่ำ เป็นการร่วมสวดมนต์อุทิศแผ่ส่วนกุศลให้กับดวงวิญญาณของชาวพุทธ ซึ่งล้วนแต่เป็นชาวอ้ายไตที่ถูกกองทัพจีนฆ่าล้างเผ่าพันธุ์..."ทุก ๆ บ้านเรือนที่อยู่ในบริเวณลุ่มแม่น้ำโขง,ลุ่มแม่น้ำอิงและลุ่มแม่น้ำยม จึงมีการจุดโคมคำเอาไว้ทุก ๆ บ้าน ยังอาจถือเป็นการปลุกเร้า สร้างกระแสความรักชาติของชาวอ้ายไตเพี่อหวังให้ลุกขึ้นต่อสู้กอบกู้อธิปไตยและดินแดนของ ตนกลับคืนมา...ต่อมาอาณาจักรสุวรรณโคมคำ ก็ได้ย้ายเมืองหลวงไปอยู่ที่ริมแม่น้ำโขง เรียกว่า เมืองสุวรรณคำหลวง(เชียงแสน)...อาณาจักรแห่งนี้ถือเป็นฐานสำคัญมี บทบาทเผยแพร่พุทธศาสนาสายเถรวาทเข้าสู่แว่นแคว้นหลายแห่งของสหราชอาณา จักรหนันเจ้าและดินแดนจีนโดยใช้เส้นทางบกในกิจกรรมนี้... อาณาจักรสุวรรณโคมคำ กลายเป็นหลังอิงของพวกอ้ายไตในงานกู้ชาติ....
 
 

สำหรับเจ้าโพธิสาร เมื่อได้ร่วมสร้างอาณาจักรสุวรรณโคมคำขึ้นมาใน
รัฐนาคฟ้า ภารกิจเสร็จสิ้น ก็ได้เสด็จกลับคืนไปสู่แว่นแคว้นทางใต้ ทั้งแคว้น
โพริสาร, แคว้นพินธุสารและแคว้นพันธุสารในอาณาจักรชวาทีป

 
 คัดลอก
http://www.usakanae.com/index.php?lay=show&ac=article&Id=539357805

0 ความคิดเห็น:

Twitter Delicious Facebook Digg Stumbleupon Favorites More