วันเสาร์ที่ 15 กันยายน พ.ศ. 2555

แตงโม เปิดใจ อ้วน อยู่สถานะไหน

ตกเป็นข่าวว่าแอบซุ่มเงียบคบหาดูใจกันสำหรับ แตงโม ภัทรธิดา พัชรวีระพงษ์ และ อ้วน รังสิต ศิรนานนท์ แต่ทั้งคู่ก็ยังกั๊กความสัมพันธ์ว่าเป็นเพียงเพื่อนกันเท่านั้น

แตงโม เปิดใจ อ้วน อยู่สถานะไหน
ตกเป็นข่าวว่าแอบซุ่มเงียบคบหาดูใจกันสำหรับ 'แตงโม-ภัทรธิดา พัชรวีระพงษ์' และ 'อ้วน-รังสิต ศิรนานนท์' แต่ทั้งคู่ก็ยังกั๊กความสัมพันธ์ว่าเป็นเพียงเพื่อนกันเท่านั้น แต่นับวันเหมือนว่าเพื่อนคู่นี้จะเริ่มฉายแววความหวานกันมากขึ้นไปไหนมาไหนด้วยกันบ่อยครั้งจนถ้าไม่ให้คิดก็คงจะแปลก เอาเป็นว่าเพื่อความชัดเจนวันนี้เราไปฟัง สาวแตงโม เปิดใจถึงเรื่องนี้กันค่ะ
แตงโม กับ อ้วน ความสัมพันธ์เป็นยังไงบ้าง
"เรายังไม่ได้เป็นอะไรกันค่ะ เพราะว่าโมยังมีจุดยืนที่แน่นอนยังคงความเป็นเพื่อนอยู่เหมือนเดิม เพราะว่าโมรู้ตัวว่ายังไม่พร้อมที่จะดูแลใครแล้วก็โมพิจารณาดูแล้วก็พี่เค้าอาจจะยังไม่พร้อมที่จะดูแลเราในสถานะแฟนด้วยเช่นกัน เพราะฉะนั้นก็ขอเวลาเป็นนับปีอะคะ นี่ก็ผ่านมาปีนึงแล้ว ถ้าในอนาคตปี 2ปี 3ปี พี่อ้วนยังน่ารักอยู่อย่างนี้ก็อนาคตก็เป็นแฟนกันค่ะแต่ว่าถ้าสมมติว่าทุกๆอย่างมัน ด้วยความเป็นธรรมชาติแล้วมันไม่เวิร์คเนี่ย เราก็ยังคงเป็นเพื่อนกันต่อไปได้คะ"
ตอนนี้ก็ดูๆเค้าอยู่
"ก็มีการพิจารณาอยู่ห่างๆ (ก็คือเค้าจีบเรามาตลอดเลยใช่ไหม) พี่อ้วนไม่เคยจีบเลยคะ เราเริ่มต้นจากความเป็นเพื่อน เพราะว่าทำงานด้วยกันแล้วก็เป็นเพื่อนเหมือนเพื่อนผู้ชายเป็นบัดดี้อะไรอย่างเนี่ยคะ คือค่อนข้างที่จะตบหัวได้อย่างเนี่ย ค่อนข้างที่จะสนิทกันเหมือนเพื่อนผู้ชาย เราเริ่มจากอย่างนั้นมาแล้วก็พอเวลามันผ่านไป มันก็มีความผูกพันอะคะ เราก็ยอมรับว่ามันมีความผูกพันขึ้นมาจริงๆ แต่ถ้าถามว่ามีการจีบแบบในเชิงชู้สาวแบบตั้งหน้าตั้งตาจีบ มีช่วงโปรโมชั่น หรือว่ามีความหวานอะไรพวกเนี่ย ไม่เคยมีมาแต่ไหนแต่ไรแล้วอะคะ"
เหมือนเราค่อยๆ ศึกษากัน
"มันเริ่มจากความเป็นเพื่อนเนี่ย มันเลยกลายเป็นว่า เราจะ เค้าเรียกว่าไรคะ มีความรู้สึกดีในความเป็นธรรมชาติ คือเราจะรู้สึกว่า เค้าไม่ได้ประดิษฐ์เพื่อที่จะเข้าหาเรา เค้าก็จะมีความเป็นตัวเองมากว่าที่จะเข้ามาจีบเรา"
ที่บอกว่าขอเวลานับปี เพราะว่าเค้ามีข่าวกับผู้หญิงเยอะรึเปล่า ทำให้เราไม่มั่นใจ
"จริงๆ แล้วในความมั่นใจเนี่ยนะคะ โมยอมรับว่าตัวโมเองโมก็ไม่มั่นใจตัวเอง เพราะฉะนั้นก็ให้ความยุติธรรมกับเค้าด้วย อย่างที่บอกอะคะ ถ้าเกิดมันเป็นไปได้ด้วยดี ในที่สุดก็เป็น อะไรทำไรนองนั้น"
เป็นเพราะว่าเราปิดตัวเองด้วยรึเปล่า
"อาจจะด้วยมั่งค่ะ คือโมยังไม่อยากเปิดให้ใครต่อใครเข้ามาได้ง่ายขนาดนั้น เพราะว่าตัวเองก็มีบทเรียนมาค่อนข้างเยอะแล้วก็ อายุก็เพิ่มขึ้นเรื่อยๆ เพราะฉะนั้น เรื่องพวกนี้ก็ขอใช้เวลา (ต้องรอบคอบ) ใช่ๆค่ะ เพราะว่าทุกวันนี้ก็ คือไม่ใช่ว่าไม่ยอมรับในความสัมพันธ์นะคะ แต่ว่าในการเป็นแฟนกันของโมเนี่ย มันค่อนข้างมีขั้นตอนอะไรเยอะแยะมากมาย ไหนจะต้องเข้ากับเพื่อนเราให้ได้ซะก่อน ก่อนอื่นก็ต้องเป็นเพื่อนที่ดีต่อกันให้ได้ ต้องเข้ากับครอบครัวให้ได้ ตอนนี้เนี่ย เพื่อนกันก็รู้จักกันในแค่บางกลุ่มเท่านั้นเอง คุณพ่อคุณแม่ก็ยังไม่เคยเจอกันเลยด้วยซ้ำ เพราะฉะนั้นก็ในความเป็นจริงแล้ว ก็อย่างที่เห็นอะคะ คือยังเป็นเพื่อนกันอยู่"
เพื่อนมาวินที่สุดตอนนี้
"เออ พี่อ้วนมาวินที่สุดไหม มันไม่มีตำแหน่งที่ ก็เลยไม่มีที่ใดหนึ่งที่มาวินอะนะคะ โมยังไม่ได้การจัดตั้งการแข่งขันเป็นของตัวเอง โมก็พิจารณาอย่างห่างๆคะ"
สถานะตอนนี้กับอ้วน
"ยืนยันสถานะคะ ว่ายังเป็นเพื่อนที่สนิทกันคะ"

สัมพันธ์แค่เพื่อน โดนัท เมิน อนันดา ลั่น เปล่าคบแบบแฟน

เพราะถูกจับตามองเรื่องความรักมากเกินไป นางเอกร่างเล็ก โดนัท มนัสนันท์ เลยออกโรงยืนยันความสัมพันธ์กับพระเอกเซอร์ อนันดา เอเวอร์ริ่งแฮม บอกเป็นแค่เพื่อน

แต่ขอดูๆ กันไปเรื่อยๆ ก่อน พร้อมเมินฝ่ายชายลั่นไม่คบหาแบบดูใจ เผยปล่อยให้เวลาเป็นเครื่องพิสูจน์ดีกว่า เปรย ณ ตอนนี้เราดูแลกันและกันแค่นี้ก็แฮปปี้ดีแล้ว..
เมื่อผู้สื่อข่าวอัพเดทเรื่องความรักตอนนี้เป็นอย่างไรบ้าง? โดนัท มนัสนันท์ เผยว่า
"เหมือนเดิม เรื่อยๆ ค่ะ พอถูกทุกวันก็ไม่รู้ว่าจะตอบอะไรที่จะเปลี่ยนไปมากกว่านี้ รอสัก 6 เดือนก่อนแล้วค่อยมาถาม อาจจะมีความเปลี่ยนแปลง แต่โดนัทต้องขอบอกก่อนนะคะ ว่าโดนัทไม่เคยออกมาบอกว่าความสัมพันธ์ใช่หรือว่าไม่ใช่ แต่ ณ ตอนนี้โดนัทยังแฮปปี้ในสิ่งที่เป็นค่ะ อยากจะใช้เวลากับเรื่องนี้มากๆ ค่ะ เพราะว่าความสัมพันธ์อาจจะมีขึ้นมีลง ก็ยอมรับว่าเคยคุยกับอนันดาในเรื่องนี้ แต่มันไม่ใช่เรื่องใหญ่เพราะเรายังเป็นเพื่อนกันอยู่ ดูกันไปดูกันมาจะดีกว่าค่ะ"

พอถามต่อว่า หลายคนเป็นห่วงนางเอกสาว หลังหนุ่ม อนันดา ให้สัมภาษณ์ว่าไม่ได้ดูใจ? สาวโดนัท ตอบว่า
"โดนัทก็ยังยืนยันว่าเราเป็นเพื่อนกันอยู่ โดนัทก็ตอบในส่วนของโดนัท คงตอบแทนเขาไม่ได้ เราต้องดูกันไปนานๆ ไม่ใช่ว่าเป็นแฟนแล้วก็จบ แต่ระหว่างเราสองคนมีหลายอย่าง มีทั้งความเป็นเพื่อน ความเป็นพี่น้อง เป็นเพื่อนร่วมงานค่ะ โดนัทไม่ได้เห็นคำสัมภาษณ์เขา แต่มีคนมาเล่าให้ฟังค่ะ เอาเป็นว่าโดนัทมีความรู้สึกที่ดีกับเขา และเขาก็เป็นคนดีที่ดีมากคนนึงในชีวิตเรา หลังจากนี้ไปก็ค่อยๆ ดูกันไป (หลายคนมองอนันดาไม่แมน?) วันนั้นเขาอาจจะมีเรื่องไม่สบายใจหรือเปล่า โดนัทเองก็ไม่อยากแก้ตัวแทน เอาเป็นว่าเขายังดูแลเราดีทุกอย่างเหมือนเดิม วันไม่ดีก็มีบ้าง แต่เราสองคนขอใช้เวลาดูๆ กันไปก่อนนะคะ"
สัมพันธ์แค่เพื่อน โดนัท เมิน อนันดา ลั่น เปล่าคบแบบแฟน
สัมพันธ์แค่เพื่อน โดนัท เมิน อนันดา ลั่น เปล่าคบแบบแฟน
สัมพันธ์แค่เพื่อน โดนัท เมิน อนันดา ลั่น เปล่าคบแบบแฟน
ที่มาข้อมูล : Gossip Star

ภาพฮาๆๆ ชวนให้คิด



















The Title King of Thai Fruit Goes to… Mr. Durian!


The Title King of Thai Fruit Goes to… Mr. Durian!


Who has never tried Durian? Please raise your hand. I would like to tell you that you have to try it just once in your lifetime, so you will know how sweet and tasty the king of Thai fruit is. Some people say that Durian had a very fantastic scent and it made them hungry. Some said that Durian was so smelly. It is a personal preference. But, I want to introduce an event to people who really like eating durian whether it is kradumthong which is soft yellow, firm, and sweet, chanee which is golden yellow, creamy firm, and sweet, kanyao which is yellow, creamy firm, and sweet, or monthong which is pale yellow, firm, and delicately sweet. The event is the Durian Festival 2011.
The festival is organized annually at Chanthaburi province. This year, 2011, it will be held around Thung Na Choei Lake and the Central Stadium between May 5th – 15th, 2011, so you have eleven days and eleven nights to experience it there. You will enjoy watching or participating in various competitions such as Farmer Beauty Contest, Five Fruit Contest (durian, rambutan, mangosteen, longkong, and salacca), durianSomTum (Durian Salad) the dancing competition, fruit cooking competition, and   an eating durian competition. I would like those who love eating Durian to join the competition since eating at the Durian Festival 2011 is free and fun! What is more, you could be a winner!
There are not only contests, but also numerous other activities. You will experience “Fruit Street” where you can see and taste appetizing fruit and OTOP product from export quality durian. Also, there are stirring and frying durian demonstrations. There are free tastings everyday! Wow!
I think I will ask for a permission to be absent about eleven days for going to see, taste, and shop at the Durian Festival 2011. Oh…The opening ceremony is on May 5th, 2011 at 4pm. The stage is in front of Commemoration Pavilion of King Taksin,ChanthaburiMunicipality. Let’s see the big cultural and great Chanthaburi products parade together!

Loy Krathong


Loy Krathong is a nationwide festival and will be celebrated throughout Thailand on the full moon of the 12th month of the traditional lunar calendar. In the western calendar this usually falls in November. Visitors to Thailand at the time are bound to witness, and most likely will be encouraged to join in, the touching scenes that accompany this festival of light and water.
Although the holiday of Loy Krathong is now celebrated throughout the kingdom, Loy Krathong originated in Sukhothai, the first Thai capital; and where the holiday was first celebrated.

Highlights of the Sukhothai Loy Krathong celebration include displays of lighted candles and fireworks, folk dancing and a spectacular light & sound presentation.


Significance…..’Loy’ means ‘to float’; ‘krathong’ is a leaf cup, usually of banana leaf deftly folded into a container looking like a cup. A candle, 3 incense sticks and flowers are positioned in this cup and the ‘krathong’ is ready to be released into a river.
The traditional purpose is to thank the Goddess of the Water, Mae Khong Kha, for providing enough water for the rice fields and other crops, and thereby producing a bountiful harvest. It is also to ask forgiveness for having dirtied her waters. These days it also provides an opportunity for some spiritual cleansing, and the small prayer before releasing the krathong often includes an avowal to let go ofany lingering grievances and resentments towards fellow men. Thus the festival has both animist and Buddhist elements.



อภิปรัชญาแห่งตันตระนิกาย: จักรวาลที่อยู่ในตัวเรา ตอนที่ 2


 โดย  ศรัณย์ เลิศรักษ์มงคล ผู้เขียนบทความ

พุทธตันตระกับแนวคิดเรื่องเพศสัมพันธ์ที่ถูกต่อต้าน

            ตามแนวความคิดของพุทธศาสนาเถรวาทนั้น ความสุขทางกาม (กามสุขัลลิกานุโยค) นั้นเป็นเรื่องของโลกียชน การยึดถือสิ่งต่างๆในโลกคือรูป รส กลิ่น เสียง สัมผัส และธรรมารมณ์ทั้งหลายนั้นเป็นสิ่งตรงกันข้ามกับการปฏิบัติเพื่อความหลุดพ้น การยึดติดในกิเลสทั้งปวงนั้นนับเป็นการติดอยู่ในบ่วงแห่งสังสารวัฏ

          แต่แนวคิดของตันตรยานนั้นมีความคิดที่แตกต่างออกไป คือเห็นว่าทุกสิ่งเป็นปัจจัยซึ่งกันและกัน สามารถเป็นหนทางนำไปสู่ความรู้แจ้งหรือความหลุดพ้นได้เช่นเดียวกัน ตามการอธิบายของสุมาลี มหณรงค์ชัย[1] นั้นชี้ว่าการที่พุทธตันตระมีความเชื่อเช่นนี้ได้เพราะพุทธตันตระนั้นถือว่าการรู้แจ้งธรรมนั้นจะสามารถเกิดขึ้นได้โดยอาศัยการปลดปล่อยพลังงานทางจิตใจทั้งทางบวกและลบ (ในกรณีนี้เพศสัมพันธ์นั้นเป็นกระบวนการด้านลบที่สามารถปลดปล่อยพลกำลังมหาศาลที่ถูกกักเก็บไว้ในเบื้องลึก) จากความเชื่อนี้ทำให้พุทธตันตระมีการสร้างพิธีกรรมบางอย่างเพื่อช่วยปลดปล่อยพลังงานด้านลบเหล่านี้ เช่น การกินเนื้อสัตว์  การดื่มน้ำเมา การมีเพศสัมพันธ์ (พิธีกรรมเหล่านี้คล้ายกับการสะท้อนสิ่งที่เป็นสัญชาตญาณดั้งเดิมสมัยที่มนุษย์ยังคงอยู่ในอารยธรรมก่อนประวัติศาสตร์ หรือ ในชุมชนป่าดงดิบออกมา)  ซึ่งพิธีกรรมแบบตันตระนั้นก้าวไกลไปถึงขั้นที่ว่า พิธีกรรมหรือการกระทำที่เป็นการปลดปล่อยพลังด้านลบดังกล่าวนั้นจะช่วยให้ ระเบิดอวิชชา ออกไปได้อย่างเต็มที่ ในกรณีนี้สุมาลี มหณรงค์ชัยได้กล่าวแย้งไว้ด้วยว่าวิธีการของตันตระนี้ถูกมองว่าเป็นสิ่งประหลาดและนำไปสู่ความผิดพลาดและมัวเมาได้ง่าย

          แนวคิดของพุทธตันตระนั้นอธิบายเรื่องเพศสัมพันธ์ไว้ในลักษณะที่ว่า เมื่อเรื่องของเพศสัมพันธ์เป็นเรื่องของบุคคลสองคน เป็นเรื่องของการรวมกันเป็นหนึ่งเดียว ฯลฯ เพราะเหตุนั้นทุกสิ่งทุกอย่างในโลกจึงมีลักษณะที่เป็นคู่ทั้งสิ้น ทั้งรูปและนาม ภาวะด้านคู่นั้นพุทธตันตระเรียกว่าเป็นทวิภาวะ และผู้ปฏิบัติ (ทั้งที่ทำตามแนวทางของพุทธตันตระหรือไม่ก็ตาม) จะต้องหลอมรวมทวิภาวะทั้งหลายให้เป็นหนึ่งเดียวกัน (เช่น สังสารวัฏกับนิพพาน  ขาวกับดำ ดีกับเลว ชายกับหญิง วิชชากับอวิชชา หรือแม้แต่ปัญญากับกรุณา) เพราะการหลอมรวมทวิภาวะจะทำให้ทุกคนพ้นออกจากกรอบของสิ่งต่างๆ การไม่อยู่ในกรอบหรือไม่ติดกรอบของโลกนั้นจะทำให้สามารถบรรลุภาวะความหลุดพ้นไปได้

          พุทธตันตระนั้นไม่เพียงแต่ประกาศหลักการนี้โดยทั่วไปเท่านั้น แต่ยังได้บรรจุหลักการพวกนี้ไว้ในคัมภีร์อนุตตรโยคะด้วย (คือในมหาโยคะตันตระกับโยคินีตันตระ) มหาโยคะตันตระนั้นเองที่มุ่งเน้นเรื่องการใช้พิธีกรรมการร่วมเพศเป็นเครื่องมือนำไปสู่การรู้แจ้ง (ดังปรากฏว่ามีรูปของพระชินพุทธะอยู่ในท่าทางกอดรัดหรือแม้แต่มีเพศสัมพันธ์กับศักติของท่านมากมายหลากหลายรูปแบบ) การแสดงรูปสัญลักษณ์ออกมาในลักษณะเช่นนี้เองที่เป็นสิ่งอันตรายและนำมาซึ่งการถูกโจมตีจากพุทธศาสนิกชนนิกายต่างๆแม้ในมหายานส่วนใหญ่เองก็ไม่เห็นด้วย

          พวกพุทธตันตระอธิบายท่าทางต่างๆแบบเอาสีข้างเข้าถูว่าเป็นการสะท้อนถึงแนวคิดการประสานกันของภาวะที่เป็นหญิงกับชายที่ต้องรวมกันเป็นหนึ่งเดียว การประสานกันของกรุณาของพระชินพุทธะกับปัญญาของศักติ (ดังที่กล่าวไว้ในหัวข้อก่อน) การถ่ายเทภาวะของจิตที่ไม่บริสุทธิ์ไปสู่ความบริสุทธิ์

          ยิ่งในโยคินีตันตระแล้วยิ่งปรากฏชัดว่าพุทธตันตระนั้นมีแนวคิดที่แปลกแยกออกไปจากความเป็นพุทธมากขึ้นไปอีกคือ นอกจากมีการแสดงรูปสัญลักษณ์ของเทพและพุทธะองค์ต่างๆในรูปแบบของบุคลาธิษฐานไว้อย่างหลากหลายแล้ว ยังแสดงภาพของพุทธะในภาคต่างๆมากมาย เช่น พระชินพุทธะในภาคดุร้าย พระอักโษภยะพุทธะในภาคแสดงอารมณ์ต่างๆโดยได้นำภาคการแสดงอารมณ์เหล่านั้นมาร่วมเป็นเครื่องมือในการให้เหตุผลด้านการ ระเบิดอวิชชา ด้วย

          กล่าวถึงประเด็นการมีเพศสัมพันธ์ของพวกพุทธตันตระนั้น จะพบว่าพวกพุทธตันตระหรือตันตรนิกายพยายามสอดแทรกเหตุผลของตนว่าการมีเพศสัมพันธ์นั้นเป็นการเปิดจิตของตนให้บริสุทธิ์เพื่อรอการประทับของพุทธจิต การมีเพศสัมพันธ์คือการเป็นอันหนึ่งอันเดียวกับเทพผู้ศักดิ์สิทธิ์ในมณฑล จุดหมายที่แท้ของการมีเพศสัมพันธ์คือการพบเห็นความว่างที่แท้จริง เป็นการทำลายสมมติบัญญัติทุกอย่างและนำไปสู่การเข้าใจเรื่องของความว่างและเรื่องตถตา  ความคิดความเชื่อเหล่านี้ของตันตรยานนั้นชวนให้เกิดการโต้แย้งอย่างกว้างขวางในสังคมชาวพุทธดังได้กล่าวมาแต่ต้น  
ความแตกต่างระหว่างจักรวาลในนิกายพุทธตันตระและพุทธศาสนาเถรวาท

            ดังที่กล่าวมาแล้วว่าแนวคิดเรื่องจักรวาลในพุทธตันตระนั้นค่อนข้างมีความแตกต่างกับจักรวาลในพุทธศาสนาเถรวาทอยู่พอสมควร  โดยสรุปแล้วแม้ว่าพุทธตันตระจะไม่ปฏิเสธเรื่องจักรวาลในแบบเถรวาทแต่ก็ได้นำเสนอแนวคิดเรื่องจักรวาลในตนไว้ค่อนข้างชัดโดยเรียก จักรวาลที่อยู่ในตนว่าเป็น ทฤษฎีกาลจักร ซึ่งมีความสอดรับกับแนวคิดแบบธรรมชาตินิยมในจีนมากพอสมควร ทำให้คล้ายกับว่าทั้งสองแนวคิดนี้ได้รับอิทธิพลซึ่งกันและกันอย่างน้อยก็ในระดับหนึ่งซึ่งเป็นสิ่งที่ควรอธิบายถึงด้วย

          จักรวาลในพุทธศาสนาเถรวาทนั้นไม่เหมือนกับเรื่องจักรวาลในตนของพุทธตันตระในหลายเรื่องกล่าวคือ จักรวาลในพุทธศาสนาเถรวาทหมายถึงที่ตั้งของภพภูมิต่างๆที่มีเขาสิเนรุเป็นแกนกลาง หมายถึงชีวิตที่แตกต่างกันของสรรพสัตว์ในภพภูมิต่างๆในจักรวาลอันรวมเรียกทุกสิ่งเหล่านี้ว่า โอกาสโลก จักรวาลในพุทธศาสนาเถรวาทนั้นเป็นรูปธรรม เป็นสิ่งที่จับต้องได้และมีที่ตั้งอันแน่นอน แต่จักรวาลหรือกาลจักรของพุทธตันตระนั้นเป็นเรื่องของนามธรรมล้วนๆ ทั้งนี้เอกสารที่กล่าวเกี่ยวกับจักรวาลในพุทธศาสนาเถรวาทนั้นมีอยู่มากมาย อาทิ ในอรุณวดีสูตร อัคคัญญสูตร พรหมชาลสูตร หรือแม้ในคัมภีร์วิสุทธิมรรค เป็นต้น

          อย่างไรก็ตามมีการกล่าวถึงเรื่องโลกภายในอยู่ในพุทธศาสนาเถรวาทด้วย แต่ก็ยังแตกต่างกับทฤษฎีกาลจักรของพุทธตันตระอยู่นั่นเอง กล่าวคือ โลกภายในของพุทธศาสนาเถรวาทนั้นมีความหมายว่าเป็นสภาวะที่ภายนอกและภายในกระทบกัน (ผัสสะและสฬายตนะ) คือ ตาเห็นรูป หูได้ยินเสียง จมูกได้กลิ่น ลิ้นได้รับรส ผิวรับสัมผัส ซึ่งปรากฏการณ์นี้มีผลทำให้ใจมีการปรุงแต่งอารมณ์ต่างๆอันก่อให้เกิดการยึดมั่นหรือไม่ยึดมั่นในอารมณ์ที่ปรุงแต่งนั้นๆได้[1] การให้ความหมายในลักษณะนี้นำมาสู่การศึกษาเรื่องของการรู้จักละวางอารมณ์ที่เกิดจากการกระทบกันของอายตนะ แต่การให้ความหมายแบบทฤษฎีกาลจักรในพุทธตันตระนั้นเพียงนำไปสู่การรู้จักให้ความสำคัญของสิ่งต่างๆอย่างเสมอภาคกันเท่านั้น
http://www.vcharkarn.com/vblog/114518/8 บทความคัดลอก


อภิปรัชญาแห่งตันตระนิกาย: จักรวาลที่อยู่ในตัวเรา


เขียนโดย  ศรัณย์ เลิศรักษ์มงคล
ความนำจักรวาลนอกตัวกับจักรวาลในตัว

เมื่อกล่าวถึงจักรวาล พุทธศาสนิกชนเถรวาทมักมีภาพเกี่ยวกับจักรวาลในลักษณะที่แตกต่างออกไปจากชาวพุทธมหายานโดยเฉพาะตันตระนิกายมากพอควร กล่าวคือจักรวาลในพุทธศาสนาเถรวาทจะมีความหมายถึงที่ตั้งของภพภูมิทั้ง ๓๑ ภูมิ มีส่วนประกอบของอากาศ ลม พื้นน้ำแข็ง และพื้นดิน มีภูเขาจักรวาล (หรือภูเขาสิเนรุ) มีโลกธาตุและทวีปน้อยใหญ่ต่างๆตั้งอยู่ เป็นต้น และที่สำคัญคือจักรวาลของพุทธศาสนาเถรวาทนั้นมีการแยกออกจากตัวมนุษย์อย่างชัดเจน

แต่สำหรับพุทธตันตระในนิกายมหายานแล้วกล่าวได้ว่ามีแนวคิดเรื่องจักรวาลที่แตกต่างออกไป  ในทางหนึ่งพุทธตันตระยอมรับว่าจักรวาลนั้นมีอยู่มากมาย โดยที่มีมนุษยโลกเป็นหนึ่งในองค์ประกอบของจักรวาล และจักรวาลมีอยู่เป็นจำนวนมาก ขณะที่รากฐานของจักรวาลประกอบไปด้วยส่วนผสมต่างๆ ได้แก่อากาศ น้ำหรือธาตุน้ำ ทองคำหรือแร่ธาตุมีค่า ดินหรือธาตุดิน โดยมีภูเขาสิเนรุเป็นแกนกลางของจักรวาล ฯลฯ แต่ส่วนที่แตกต่างกันคือ การมีแนวคิดที่ว่านอกจากจักรวาลจะมีมิติเดียวกันกับที่พุทธเถรวาทเชื่อถือตามที่กล่าวมานี้แล้วจักรวาลยัง มีอยู่ในตัวมนุษย์ ด้วย จักรวาลในตัวมนุษย์นั้นเป็นไฉน  จักรวาลในตัวมนุษย์คือกระแสชีวิตที่ดำเนินอยู่ในตัวมนุษย์ การดำเนินไปขององค์ประกอบต่างๆที่ผสานกัน จากแนวคิดนี้นิกายพุทธตันตระได้นำเอาเรื่องกระบวนการของจักรวาลกับเรื่องของชีวิตเข้ามาผสมผสานกัน โดยเรียกทฤษฎีนี้ว่า ทฤษฎีกาลจักร” โดยประสานแนวคิดที่ว่ากระแสชีวิตภายในตัวมนุษย์กับสิ่งภายนอกนั้นต้องดำเนินไปด้วยกันในทำนองเดียวกับที่พุทธศาสนามหายานส่วนใหญ่ที่เชื่อว่ามนุษย์เป็นส่วนหนึ่งของธรรมชาตินั้นเอง อย่างไรก็ตามพุทธตันตระมิได้หยุดไว้เพียงเท่านี้หากแต่ได้ขยายแนวคิดนี้ไปถึงเรื่องกิจกรรมทางเพศระหว่างชาย-หญิงด้วย โดยจัดให้กิจกรรมทางเพศเป็นส่วนหนึ่งของกลไกที่ทำให้จักรวาลเคลื่อนไหวหรือดำเนินไปได้อย่างต่อเนื่อง ทั้งนี้พุทธตันตระเห็นว่าการมีเพศสัมพันธ์นั้นเป็นเช่นเดียวกับปรากฏการณ์อื่นๆที่มีส่วนทำให้จักรวาลเคลื่อนไหวซึ่งดำเนินอยู่ทุกเมื่อเชื่อวันนั้น (คล้ายกับการมองว่าเพศสัมพันธ์คือกลจักรอันหนึ่งของโลกและจักรวาล) ซึ่งทฤษฎีกาลจักรนี้เองที่อาจเรียกได้ว่าเป็น จักรวาลที่อยู่ในตัวเรา ดังจะได้อธิบายต่อไป

พุทธตันตระหรือพุทธตันตรยาน (Tantric Buddhism) นั้นกล่าวกันว่าเริ่มต้นมาจากขบวนการเคลื่อนไหวของชาวพุทธที่เน้นคำสอนของทางมหายานเป็นหลัก การเคลื่อนไหวนี้ได้เริ่มต้นขึ้นครั้งแรกในช่วงคริสต์ศตวรรษที่สาม ความหมายของตันตระในช่วงต้นนั้นหมายถึงปัญญาที่แผ่ไปเพื่อการป้องกันอันตราย และความหมายนี้ได้กลายเป็นความหมายที่เป็นที่เข้าใจกันโดยทั่วไปในหมู่ชาวพุทธและชาวฮินดู อย่างไรก็ตามสิ่งที่เป็นแกนสำคัญของพุทธตันตระนั้นอยู่ที่พิธีกรรมและการเพ่งสมาธิโดยมีพระชินพุทธะ พระโพธิสัตว์ และเทพเจ้าที่อยู่ในปริมณฑลของพุทธะเป็นนิมิต ดังนั้นพุทธตันตระจึงเชื่อว่าทางของตนเป็นทางที่สำคัญที่สามารถช่วยให้ผู้นับถือนั้นรอดพ้นจากอันตรายได้ และในขณะเดียวกันก็ช่วยให้บรรลุความเป็นพุทธะได้เช่นเดียวกัน
          การเพ่งสมาธิของพุทธตันตระนั้นมีชื่อเรียกว่า การเพ่งมณฑล หมายถึงการเชื่อมตัวตนของผู้เพ่งนั้นเข้าไปเป็นอันหนึ่งอันเดียวกับพุทธะ (คือพระปัญญาญาณของพระพุทธเจ้า) หลังจากการเพ่งและจิตสงบแล้วผู้เพ่งจะเห็นว่าร่างกายของตนนั้นกลายเป็นร่างกายของเทพศักดิ์สิทธิ์ (เนื่องจากได้รับได้รับความศักดิ์สิทธิ์จากแสงแห่งพุทธะ) จนที่สุดแล้วกลายเป็นหนึ่งเดียวกับพระชินพุทธะโดยไม่เหลือภาวะอื่น เช่นการรู้สึกว่ามีตัวตนของตนอยู่อีก เป็นเอกภาวะเดียวกับพระชินพุทธะไปทั้งสิ้น
          นอกจากเรื่องวิธีการปฏิบัติแล้ว พุทธตันตระยังมีการนิพนธ์คัมภีร์ไว้ด้วย ดังปรากฏอยู่ ๔ คัมภีร์คือ
          ๑) คัมภีร์กริยาตันตระ มีชื่อเรียกอีกชื่อหนึ่งว่าธารณี เป็นคัมภีร์ที่บอกกล่าวเกี่ยวกับการดำเนินชีวิตทางโลก วิธีการทำตนให้มีสุขภาพแข็งแรง ทำตนให้ปลอดภัยปราศจากศัตรู เรื่องราวเกี่ยวกับวิธีการหยั่งรู้ดินฟ้าอากาศ ในที่นี้ผู้นับถือนิกายพุทธตันตระเมื่อได้ท่องบ่นหรือสวดมนต์นี้อย่างสม่ำเสมอจะทำให้เกิดพลังอำนาจและนำไปสู่ความปลอดภัยในชีวิตได้ 
          ๒) คัมภีร์จริยาตันตระ ประกอบด้วยคัมภีร์จำนวน ๘ เล่ม และเล่มที่สำคัญที่สุดคือ มหาไวโรจนสูตร สาระสำคัญของคัมภีร์ชุดนี้ได้แก่เรื่องของโลกุตรธรรม (ธรรมที่เกี่ยวกับการหลุดพ้น) เรื่องการเพ่งมณฑลเพื่อเป็นอันหนึ่งอันเดียวกับพระพุทธเจ้า ขณะเดียวกันก็ยังให้ความสำคัญเรื่องสิ่งที่ควรประพฤติในทางโลกด้วย
          ๓) คัมภีร์โยคตันตระ เป็นคัมภีร์ที่กล่าวถึง การรวมเข้าด้วยกัน ซึ่งเกิดขึ้นไล่เลี่ยกับจรยาตันตระ คัมภีร์โยคตันตระนี้เน้นแนวความคิดเรื่องมณฑลแห่งวัชรธาตุ (หรือกงล้อแห่งพระพุทธเจ้าห้าพระองค์) ในคัมภีร์มีการจัดกลุ่มพระชินพุทธะตามทิศที่เป็นที่สถิตของพระชินพุทธะ รวมทั้งมีการเก็บรวบรวมสี พระลักษณะ ท่าทาง ธาตุและพระปัญญาญาณของพระชินพุทธะไว้ด้วย
          ๔) คัมภีร์อนุตตรโยคะ  เป็นคัมภีร์ที่เกี่ยวกับการรวมเป็นหนึ่งเดียว แกนความคิดหลักของคัมภีร์นี้คือความเชื่อเรื่องการหลอมรวมเป็นหนึ่ง การหลอมรวมเป็นหนึ่งนั้นมีความหมายว่าไม่มีสิ่งที่เป็นทวิภาวะเหลืออยู่อีกต่อไป ไม่มีสิ่งที่เป็นซ้ายหรือขวา ไม่มีด้านสว่างหรือด้านมืด ไม่มีความดีและความชั่ว แต่สิ่งที่มีอยู่คือการที่ทุกสิ่งทุกอย่างเป็นปัจจัยของกันและกัน เช่น ความชั่ว (ในที่สุด)จะนำไปสู่การเกิดความดี ความมืดจะนำไปสู่ความสว่าง อวิชชานำไปสู่การเกิดปัญญา (ในทำนองเดียวกันนี้เหมือนกับการอธิบายว่า เมื่อไม่มีความจนก็ไม่รู้จักคุณค่าของความร่ำรวย เมื่อไม่มีความทุกข์ก็จะไม่รู้คุณค่าของความสุข  ดังนั้นในที่นี้พระชินพุทธะจึงเป็นตัวแทนของธาตุ ขันธ์ และกิเลส ฯลฯ ได้เพราะเมื่อไม่มีกิเลสก็ไม่มีพระชินพุทธะ
ทฤษฎีกาลจักร (Time and Space) และแนวคิดหลักของพุทธตันตระนิกาย

ทฤษฎีกาลจักรเป็นทฤษฎีที่สลับซับซ้อนทฤษฎีหนึ่งในอภิปรัชญาพุทธตันตระนิกาย[1]  ซึ่งดังที่กล่าวแล้วว่าทฤษฎีนี้เน้นถึงความเชื่อมโยงกันระหว่างการเคลื่อนที่ของจักรวาลกับกระแสชีวิตในร่างกาย (ของสิ่งมีชีวิต) รวมทั้งกระแสของเวลาในจักรวาลที่ดำเนินไปร่วมกัน ซึ่งโดยเฉพาะพุทธตันตระนิกายนี้ได้นำเสนอว่าการดำเนินร่วมกันของจักรวาลทั้งภายนอกภายในนี้จะปรากฏเป็นภาพ (หรือมิติ) ๔ มิติคือ ๑) จักรวาล ๒) พุทธวิทยา ๓) ปัจเจกชน ๔) สังคม ซึ่งเมื่อพิจารณาความหมายของจักรวาลในพุทธตันตระยานแล้วจึงพบว่ามีความแตกต่างกันพอสมควรกับจักรวาลในมิติของพุทธศาสนาเถรวาท กล่าวคือ  

๑) ภาพจักรวาล แบ่งออกเป็น ๒ ส่วนได้แก่ คัพภธาตุ และวัชรธาตุ ซึ่งคัพภธาตุถือเป็นพลังฝ่ายจิต(หรือนาม) ขณะที่วัชรธาตุเป็นพลังฝ่ายวัตถุ (รูป)  ทั้งวัชรธาตุและคัพภธาตุนี้เองที่ฝ่ายมหายานขยายความว่ามีความเกี่ยวข้องกับการเคลื่อนที่ของจักรวาลโดยตรง ทั้งนี้เมื่อจิตกำลังสั่งการ (ซึ่งหากดูด้วยตาเปล่าไม่เห็นว่ากำลังสั่งการ แต่ในทางการแพทย์หรือในทางการวิปัสสนาแล้วพบว่าสามารถเห็นกระบวนการสั่งงานของจิตได้) อยู่นั้น จิตเท่ากับเป็นแกนกลางที่ผลักดันให้วัตถุเคลื่อนไหว และการเคลื่อนไหวของวัตถุทุกชนิดนั้นเป็นปรากฏการณ์ที่สำคัญที่มีผลต่อเนื่องร่วมกัน(คล้ายกับปฏิกิริยาลูกโซ่)  ความคิดของบุคคลหนึ่งในซีกโลกหนึ่งนำไปสู่การเปลี่ยนแปลงของบุคคลจำนวนมากมายในอีกซีกโลกหนึ่งเสมอ ในทางกลับกันหากบุคคลมีความหยุดนิ่งก็จะย่อมมีผลให้การเคลื่อนไหวของวัตถุต่างๆเปลี่ยนแปลงไปด้วย ทั้งนี้ในภาษิตจีนที่เรามักกล่าวถึงกันเสมอคือ ความสงบสยบความเคลื่อนไหว เช่นเดียวกับที่ความเคลื่อนไหวย่อมปะทะกับความเคลื่อนไหว แต่ความสงบย่อมไม่ปะทะความสงบ

ในแง่นี้คัพภธาตุ และวัชรธาตุจึงมีความสัมพันธ์กับการกระทำกรรมของสิ่งมีชีวิตโดยตรง เพราะนี้คัพภธาตุ และวัชรธาตุนั้นเองที่เป็นตัวผลักดันให้เกิดการกระทำ และการกระทำต่างๆนั้นก็จะมีผลผลักดันให้เกิดการเคลื่อนที่ของจักรวาล (เป็นที่น่าสังเกตว่าแนวคิดนี้มีความคล้ายคลึงกับแนวคิดของตะวันตกเรื่อง Butterfly Effect หรือ เด็ดดอกไม้สะเทือนถึงดวงดาว อย่างมีนัยสำคัญ และสอดคล้องเป็นอย่างยิ่งกับกระแสความคิดแบบเต๋าเรื่องมนุษย์กับธรรมชาติเป็นอย่างสูง) ในด้านที่ดีนั้นหมายถึงทั้งสิ่งมีชีวิตและจักรวาลนั้นย่อมมีความสัมพันธ์กันอย่างแยกไม่ออก เพราะการมีสิ่งมีชีวิตอาศัยอยู่ในจักรวาลนั้นนำมาสู่ภาวะที่สมดุลของจักรวาล แต่ในทางกลับกันหากสิ่งมีชีวิต (โดยเฉพาะมนุษย์) ได้ทำกรรมในลักษณะที่เป็นไปในทางที่เบียดเบียนธรรมชาติ (หรืออีกนัยหนึ่งคือเบียดเบียนจักรวาลก็จะมีผลไปถึงการคงอยู่ของจักรวาลเองด้วย) อย่างไรก็ดีเกี่ยวกับกรณีนี้ทฤษฎีกาลจักรค่อนข้างจะอธิบายไปในทางที่ให้คุณค่าแก่สิ่งมีชีวิตมาก เพราะมีการกล่าวว่าการที่โลกและจักรวาลนั้นมีสิ่งมีชีวิตอาศัยอยู่นั้นเป็นสิ่งจำเป็นเพราะถ้าโลกว่างจากสิ่งมีชีวิตโลกก็จะถูกทำลายเพราะที่สุดแล้วจะต้องถูกธรรมชาติเบียดเบียน (เช่นถูกเบียนเบียนจากน้ำ ไฟ หรือลม ฯลฯ) เพราะหากสิ่งมีชีวิตอาศัยอยู่ การกระทำกรรมของสิ่งมีชีวิตนั้นเองจะเป็นเครื่องป้องกันภัยจากธรรมชาติได้ (การอธิบายในลักษณะนี้มีข้อสังเกตว่าค่อนข้างมุ่งให้น้ำหนักความสำคัญมาที่สิ่งมีชีวิตหรืออีกนัยหนึ่งก็คือตัวมนุษย์มาก และมีข้อน่าสังเกตว่าการแยกระหว่างธรรมชาติ โลกและจักรวาลนั้นยังลักลั่นอยู่เนื่องจากไม่แน่ว่าธรรมชาติ โลกและจักรวาลจะเป็นสิ่งเดียวกันหรือไม่อย่างไร และหากเป็นเช่นนี้เท่ากับว่าแท้จริงแล้วมนุษย์หรือสิ่งมีชีวิตนั้นเป็นศูนย์กลางของระบบหรือไม่ หรือทุกสิ่งนับเป็นศูนย์กลางของระบบทั้งหมดร่วมกัน ?)

๒) ภาพพุทธวิทยา มีความหมายว่า พระพุทธเจ้าทั้งหลาย พระโพธิสัตว์ทั้งหลาย รวมทั้งอุตตรรูปอื่น ภาพพุทธวิทยาถือว่าเป็นบุคลาธิษฐานของสัจจภาวะหรือ(หนทางที่นำไปสู่การหลุดพ้น)ด้านต่างๆของมรรคา และถือว่าเป็นพลังของฝ่ายชายที่รวมกับพลังของฝ่ายหญิง (ศักตะรวมกับศักติ) หรืออีกนัยหนึ่งพลังของฝ่ายชายถือว่าเป็นพลังกรุณารวมกับพลังของฝ่ายหญิงคือปรัชญา หรือบางแห่งอาจเรียกว่ากรุณากับปัญญาก็มี

ภาพของพุทธวิทยาในนิกายตันตระนี้ โดยทั่วไปแล้วจะนิยมกล่าวถึงพระธยานิพุทธะ (หรือพระชินพุทธะ)[2]๕ พระองค์คือ พระไวโรจนะพุทธะ พระอักโษภยะพุทธะ พระรัตนสัมภาวะพุทธะ พระอมิตาภะพุทธะ และพระอโมฆสิทธิพุทธะ ซึ่งทั้ง ๕ พระองค์นี้ถือว่าอยู่ในร่มพระมณฑลแห่งพระธยานิพุทธะเดียวกัน และแต่ละพระองค์ก็ทรงมีอิตถีภาวะ (ภาวะแห่งสตรีเพศ) ประจำองค์ซึ่งสะท้อนออกมาเป็นปัญญาญาณแบบต่างๆ  อิตถีภาวะของพระพุทธเจ้า ๕ พระองค์นี้เองที่ตันตระนิกายนำเสนอออกมาในรูปสัญลักษณ์ของ ชายา” หรือ ศักติ ดังที่ปรากฏให้เห็นอย่างแพร่หลายนั้น ทั้งนี้ การปรากฏของอิตถีภาวะของพระพุทธเจ้าห้าพระองค์ดังกล่าวนี้พุทธศาสนามหายานนิกายตันตระ หรือ วัชรยานพยายามสื่อว่าไม่ใช่หมายถึงการมีชายาจริงๆอย่างที่เข้าใจหากเป็นแต่เพียงบุคลาธิษฐานอย่างหนึ่งที่มุ่งนำเสนอเพื่อให้เข้าใจถึงหลักการของประสานกันของปัญญาและกรุณาที่มีอยู่ในพุทธะเท่านั้น ดังจะได้กล่าวต่อไป

๓) ภาพปัจเจกชน  เกี่ยวกับภาพปัจเจกชนนี้มีการอธิบายว่าในตัวของบุคคลทุกคนปัญญากับกรุณานั้นเป็นพลังที่เลื่อนไหลอยู่ตามเส้นประสาท โดยมีการเข้าและออกทางช่องจมูกทั้งซ้ายและขวา (ในทำนองเดียวกับพลังจักรวาล)  ปัญญานั้นอยู่ทางช่องจมูกซ้าย เรียกว่าลลนา กรุณาอยู่ในช่องจมูกขวา ความรู้ด้านนี้ยังมีการนำไปปฏิบัติในโยคะชั้นสูงของพุทธตันตระโดยใช้การประสานพลังทั้งสองนี้เข้าด้วยกัน ผลที่ได้คือทำให้เกิดพลังที่ละเอียดอ่อนที่สามารถแทงตลอดในธรรมทั้งหลายได้

๔) ภาพสังคม  การสร้างภาพสัญลักษณ์ของสตรีให้แทนปรัชญา และภาพของบุรุษแทนกรุณานั้นปรากฏว่าเป็นสิ่งที่ก่อให้เกิดวาทกรรมขึ้นมากมาย ทั้งในทางที่สนับสนุนและคัดค้าน  ทั้งนี้เริ่มต้นมาจากการที่มีผู้แปรภาพสัญลักษณ์ของสตรีและบุรุษออกมาเป็นรูปธรรมและต่อมาได้นำมาสู่การตีความที่บิดเบือนไป เช่นการแปรความหมายภาพที่นำมาสู่การสร้างพระพุทธรูปและพระโพธิสัตว์ที่อยู่ในอ้อมกอดของเทวีในหลากหลายรูปแบบ ยิ่งเมื่อภายหลังมีการนำแนวคิดนี้แปรมาสู่การปฏิบัติแล้วยิ่งทำให้เกิดความเชื่อที่แปลกแยกออกไปมากขึ้น เช่น มีการนำสตรีมาเข้าร่วมในกระบวนการปฏิบัติธรรมโดยเชื่อว่าจะทำให้สามารถบรรลุธรรมได้เร็วขึ้น (เรียกว่าการใช้ตัณหาเป็นเครื่องมือนำไปสู่จุดหมาย เป็นยานที่นำไปสู่ความหลุดพ้นโดยมีวลีว่า การหลั่งน้ำอสุจิคือการปลุกโพธิจิตความบิดเบือนทั้งแนวคิดและการปฏิบัติดังนี้เองที่ทำให้พุทธตันตระถูกเรียกว่าเป็นลัทธินอกรีตหรือนอกจารีตแห่งพระพุทธศาสนา[3]

ที่จริงแล้วควรกล่าวว่าจุดเริ่มต้นแห่งความคิดของพุทธตันตระนิกายเกี่ยวกับการอาศัยพลังร่วมกันของปรัชญาและกรุณานั้นนับเป็นสิ่งที่ดี (เพราะนำเสนอเรื่องความสอดคล้อง ความพอดีเป็นแกนหลัก) แต่การตีความและการนำมาสู่การปฏิบัตินั้นเป็นสิ่งที่ควรศึกษาอย่างถี่ถ้วน สิ่งที่ควรทำความเข้าใจคือแท้จริงแล้วพุทธตันตระนั้นมุ่งนำเสนอเรื่องการสอดประสานของพลังสองส่วนคือปัญญาและกรุณานั้นอย่างไร หากเจตนาเริ่มต้นนั้นเพียงต้องการนำเสนอในเชิงอุปมาว่าการสอดประสานของพลังสองส่วน (คือชายกับหญิง) นั้นหมายถึงการมีมหากรุณาต่อสรรพสัตว์โดยทั่วไปไม่เลือกที่รักผลักที่ชัง การใช้ปัญญาเพื่อช่วยเหลือสรรพสัตว์อย่างละเอียดถี่ถ้วนมีเหตุมีผล และทั้งสองส่วนนี้ (คือกรุณาและปัญญา)ก็ไม่สามารถแยกออกจากกันได้ ฯลฯ ก็ควรนับได้ว่าเป็นแนวคิดเชิงสัญลักษณ์ที่น่าสนใจ ดังนั้น การเกิดปัญหาความผิดพลาดเกี่ยวกับการตีความแนวคิดของพุทธตันตระจึงเป็นกรณีที่เราผู้ศึกษาพึงระลึกไว้เป็นตัวอย่างที่สำคัญ เพราะเป็นเรื่องที่เกี่ยวกับการทำความเข้าใจโดยแท้  อย่างไรก็ตามการเกิดปัญหานี้แก่พุทธตันตระทำให้นิกายนี้สูญเสียการยอมรับในแง่ของความเป็นนิกายในพระพุทธศาสนา (มหายาน) อยู่พอควรเพราะคล้ายกับว่าพุทธตันตระนิกายนี้ได้ก้าวออกนอกขอบเขตของความเป็นพุทธศาสนามากเกินไป แต่อย่างไรก็ตามชาวพุทธตันตระก็ยังสามารถที่จะอธิบายแนวคิดในเรื่องนี้ (เรื่องการสอดประสานพลังของชายกับหญิง) ได้พอควรดังจะได้กล่าวต่อไปญาณวิทยากับพระธยานีพุทธะทั้งห้าพระองค์ในนิกายพุทธตันตระ อีกลักษณะหนึ่งของการสะท้อนแนวคิดเรื่องจักรวาลที่อยู่ในตน

            ญาณวิทยา (หรือ ความรู้ที่เกี่ยวกับการรู้แจ้ง) หรือ Epistemology นี้เป็นการกล่าวถึงในลักษณะที่เป็นการนำญาณวิทยาและเรื่องขันธ์ห้า (คือรูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ) มาเชื่อมโยงเข้ากันกับคุณลักษณะต่างๆของญาณวิทยาเหล่านั้นให้เป็นสิ่งที่เห็นได้จับต้องได้มากขึ้นโดยเริ่มต้นจากพระธยานีพุทธะทั้งห้าพระองค์เป็นเบื้องต้น เช่น การแปรรูป ความรู้แจ้ง ให้ออกมาเป็นรูปของแสงสีหรือความสว่าง การแปรรูปอิทธิฤทธิ์ให้ออกมาเป็นรูปของอาวุธต่างๆของพระธยานีพุทธะ (การยกตัวอย่างเป็นของผู้เรียบเรียง) เป็นต้น  กระบวนการดังที่กล่าวมานี้ถือว่าเป็นกระบวนการที่ช่วยสะท้อนและทำความกระจ่างชัดให้แก่พุทธศาสนามหายาน (โดยเฉพาะนิกายพุทธตันตระ)ค่อนข้างมาก  ทั้งนี้ ญาณวิทยาทั้งห้าประการของพระธยานีพุทธะทั้งห้าพระองค์นั้นมีการแสดงไว้ดังนี้      

๑) พระไวโรจนะพุทธะ  เป็นพุทธะที่นับว่ามีความสำคัญมากที่สุดของพระธยานีพุทธะทั้งห้าเพราะทรงสถิตอยู่ในศูนย์กลางของจักรวาล (พุทธศาสนิกชนมหายานบางกลุ่มเชื่อด้วยว่าพระไวโรจนะพุทธะนั้นทรงเป็นต้นกำเนิดของพระธยานิพุทธะทั้งหมดเพราะเป็นศูนย์กลางแห่งรัศมี) พระนามไวโรจนะมีความหมายว่า พระพุทธะผู้สว่างเจิดจ้าออกไปทุกทิศทาง โดยมากแล้วพุทธศาสนิกชนมหายานในธิเบต ในเนปาลและอินโดนีเซีย (ชวา) นั้นต่างให้ความเคารพนับถือพระองค์มาก

พระไวโรจนะพุทธะมีพระกายสีขาว มีรัศมีสีฟ้าหรือน้ำเงิน การที่พระองค์มีพระกายสีขาวหมายถึงความเป็นที่รวมของพุทธะทั้งหมด (เหมือนแสงอาทิตย์ซึ่งเป็นที่รวมของแสงสีทุกสี) พระไวโรจนะพุทธะยังทรงเป็นตัวแทนแห่งอากาสธาตุ (space) หรืออวกาศ ซึ่งเป็นอสังขตธาตุในความเห็นของพุทธศาสนาเถรวาท อากาสธาตุนั้นเป็นสิ่งที่มีอยู่ทุกหนแห่งและมีลักษณะที่โอบล้อมทุกสรรพสิ่งไว้ด้วยกัน[1]พระปัญญาญาณของพระไวโรจนะพุทธะก็เป็นไปในลักษณะเดียวกันนี้คือ มีอยู่ทุกหนแห่ง ทั้งนี้การที่พุทธศาสนามหายานได้อรรถาธิบายพระไวโรจนพุทธะในลักษณะข้างต้นนี้ทำให้เป็นที่น่าศึกษาต่อไปถึงบทบาทของการใช้บุคลาธิษฐานเพื่อการเชิดชูพระพุทธศาสนาของพุทธศาสนามหายานต่อไปด้วยว่ามีความครอบคลุมเพียงใด จะเป็นเพียงใช้บุคลาธิษฐานสำหรับพระพุทธเจ้าหรือขยายไปถึงหลักธรรมทั้งหมดด้วยหรือไม่เพียงใด

          ๒) พระอโมฆสิทธิพุทธะ  เป็นพุทธะที่สถิตอยู่ทางทิศเหนือของจักรวาล มีความหมายว่า เป็นผู้มีความสำเร็จไม่สูญเปล่า หรือผู้ที่มองเห็นเป้าหมาย มีพระญาณชื่อว่า สรรพสิทธิญาณ เป็นคุณสมบัติของพระองค์ หมายถึงญาณหรือความรู้ที่ทำให้สำเร็จทุกอย่าง หรือญาณที่พร้อมด้วยพรที่ทำให้สำเร็จสมปรารถนา พระอโฆสิทธิพุทธะมีพระลักษณะที่แสดงการปกป้องคุ้มครองจิตจากอันตรายนานาประการ มีพระหัตถ์ขวาที่ยกขึ้นเสมอพระอุระ อุ้งพระหัตถ์หงายออกด้านนอก นิ้วพระหัตถ์ชี้ขึ้นด้านบน พาหนะประจำพระองค์คือครุฑหรือนกฟีนิกซ์ การที่พระอโมฆสิทธิประทับบนครุฑนั้นเท่ากับแสดงว่าทรงดำเนินกรณียกิจเกี่ยวข้องกับทางโลก (เพราะครุฑนั้นหมายถึงโลก) ในมิตินี้จึงมีการตีความหมายว่าพระอโมฆสิทธินั้นทรงมีความเกี่ยวข้องกับกรรมและการเวียนว่ายตายเกิดของสรรสัตว์ในโลกด้วย ขณะที่อิตถีภาวะของพระอโมฆสิทธิพุทธะนั้นเรียกว่าตารา หมายถึงการข้ามมหาสมุทรแห่งการเวียนว่ายตายเกิด

          ๓) พระรัตนสัมภาวะพุทธะ เป็นพุทธะที่สถิตอยู่ทางทิศใต้ของจักรวาล มีความหมายว่า ผู้เป็นบ่อเกิดแห่งแก้วมณี มีพระกายสีเหลืองทองอันหมายถึงธาตุดิน หรืออีกนัยหนึ่งคือหมายถึงภาวะที่นำมาซึ่งการบังเกิดของพระพุทธ พระธรรมและพระสงฆ์ พระญาณหรือญาณหยั่งรู้ของพระองค์นั้นเป็นลักษณะของความเท่าเทียม (เหมือนเช่นดินที่เปิดโอกาสให้น้ำนั้นแทรกซึมไปได้ทุกหนแห่ง) ซึ่งทำให้มีการขนานนามมิติแห่งอิตถีเพศของพระองค์ว่าคือมามกี แปลว่า ความรู้ภาวะอันเสมอกันของสรรพสิ่ง    พระลักษณะของพระองค์คือประทับนั่งขัดสมาธิ พระหัตถ์ซ้ายอยู่บนพระเพลาในท่าสมาธิ พระหัตถ์ขวาหงายออกพระดัชนีและพระอังคุฐ (นิ้วชี้และนิ้วโป้ง) จรดกันเป็นวงกลมและทำอาการเหมือนชี้ลงไปที่แผ่นดิน

๔) พระอักโษภยะพุทธะ เป็นพุทธะที่สถิตอยู่ในพุทธเกษตรด้านทิศตะวันออก ทรงเป็นประมุขแห่งปัญญา (วัชรโคตร) พระนามของพระอโษภยะมีความหมายว่า ไม่กำเริบ ไม่หวั่นไหว หรืออีกนัยหนึ่งคือความสงบนิ่ง ปราศจากความเดือดร้อน มีพระญาณที่คู่กับพระองค์คืออาทาสญาณ หรือญาณแห่งความรู้แจ้งแทงตลอด  มีอุปมาเหมือนดังกระจก  หรือน้ำที่ใสสะอาดที่สามารถส่องให้เห็นวัตถุที่อยู่ภายในน้ำได้ (พระอักษโภยะจึงเป็นตัวแทนแห่งธาตุน้ำด้วย)  พระรูปกายของพระองค์ที่พุทธตันตระนิยมสร้างนั้นเป็นรูปประทับนั่ง พระหัตถ์ซ้ายวางบนพระเพลาในอิริยาบถทำสมาธิ พระหัตถ์ขวานั้นเหยียดออก มีพระดัชนีชี้ลงที่พื้นดินในทำนองเดียวกับที่พระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงอ้างเอาพระธรณีเป็นพยานในบารมี ๓๐ ทัศของพระองค์ ดูคล้ายกับพระรัตนสัมภาวะ มีพระกาย (สัมโภคกาย) เป็นสีน้ำเงินเข้ม ส่วนมิติแห่งอิตถีเพศของพระองค์นั้นเรียกว่า โลจนา



          ๕) พระอมิตตาภะพุทธะ  เป็นพุทธะที่เป็นที่รู้จักกันแพร่หลายที่สุด โดยตันตระนิกายเชื่อกันว่าพระองค์สถิตอยู่ทางทิศตะวันตกของจักรวาล อยู่ในพุทธเกษตรที่มีชื่อว่าสุขาวดี  พระนามของพระอมิตตาภะมีความหมายว่าพระผู้มีรัศมีประมาณมิได้ มีญาณคือปริจเฉทญาณที่ช่วยกำหดในการวิเคราะห์แยกแยะพิจารณาความรู้ต่างๆให้แยบคายยิ่งขึ้น พระอมิตตาภะพุทธะนี้มีภาพลักษณ์ที่คล้ายกับพระศากยมุนีพุทธเจ้า (พระสัมมาสัมพุทธเจ้าในมติของเถรวาท) เช่นมีพระกรรณยาว มีพระศกขดเป็นทักษิณาวัตร หรือการที่ทรงมีพระอุณหิตอยู่บนพระเศียร ฯลฯ และนอกจากนั้นแล้วก็ยังปรากฏว่ายังประกอบไปด้วยพระมหาปุริสลักษณะทั้ง ๓๒ ประการครบถ้วนด้วย อย่างไรก็ตามสัญลักษณ์ที่ชัดเจนที่สุดของพระอมิตตาภะพุทธะนั้นก็ได้แก่เครื่องหมายสวัสดิกะที่อยู่บนพระวรกายของพระองค์ซึ่งสื่อความหมายถึงความหลุดพ้นเป็นสำคัญ

ความเป็นบุคลาธิษฐานของพระอมิตตาภะพุทธะนั้นมีความสำคัญอยู่การเป็นเครื่องแสดงถึงมิติแห่งพระโพธิญาณของพระสัมมาสัมพุทธเจ้าที่มีอยู่จริง มีอีกชื่อหนึ่งว่า อมิตายุส หมายถึงชีวิตประมาณมิได้อันหมายถึงธรรมที่แผ่ออกไปโดยไม่มีขอบเขตจำกัด ชาวธิเบตมักให้พระอมิตตาภะพุทธะนี้ปรากฏพร้อมกับพระมัญชุศรีและพระวัชรปาณิโพธิสัตว์เพื่อสื่อความหมายในด้านปัญญาดังกล่าว อนึ่งพระปัญญาของพระอมิตตาภะพุทธะนั้นชาวพุทธมหายานมักอธิบายว่าเป็นปัญญาที่กว้างขวางเพื่อการจำแนกแยกแยะให้เห็นคู่ตรงข้าม มองเห็นทุกสิ่งตามความเป็นจริงโดยไม่ลำเอียงซึ่งเป็นไปตามอิตถีภาวะของพระองค์ที่มีชื่อว่า ปาณฑรา” หรือ ปาณฑราวิลาสินี

ปาณฑราวิลาสินีนั้นทรงเครื่องสีขาวประทับนั่งอยู่บนดอกบัวสีขาว ในพระหัตถ์ซ้ายถือดอกบัวขาวหมายถึงความสว่างแห่งปัญญา และความสว่างแห่งโพธิจิตที่ไปถึงสรรพสัตว์ทั้งปวง เป็นเสมือนมารดาแห่งสรรพสัตว์ทั้งปวง ซึ่งคุณลักษณะดังกล่าวนี้ถือเป็นคุณลักษณ์เฉพาะของพระพระอมิตตาภะพุทธะด้วย

            การอธิบายความหมายของญาณวิทยาห้าประการที่มีอยู่ในพระพุทธเจ้าห้าพระองค์นี้มิใช่เป็นเรื่องที่สามารถเข้าใจได้โดยผิวเผินเพราะญาณแต่ละอย่างของแต่ละพระองค์นั้นได้รับการนำไปเชื่อมโยงเข้าในพุทธประวัติ (และเชื่อมโยงกับเหตุผลหลายประการที่เนื่องกับหลักการของมหายาน) ด้วยอย่างแนบแน่น เช่น เหตุผลที่ว่าพระชินพุทธเจ้าหรือธยานิพุทธะนั้นเป็นสัญลักษณ์ของบุคคลที่พ้นแล้วจากกิเลสทั้งปวง หรือหากแยกแยะออกมาในแต่ละพระองค์ พระอักโษภยะพุทธะนั้นเป็นสัญลักษณ์แทนพระพุทธเจ้าที่ทรงมีชัยเหนือพญามารในวันแรกแห่งการตรัสรู้  พระอมิตาภะพุทธะเป็นสัญลักษณ์แทนพระพุทธเจ้าในขณะที่ทรงบำเพ็ญเพียรทางจิตเข้าถึงธรรมภายใน พระอโมฆะสิทธิพุทธะเป็นสัญลักษณ์แทนพระพุทธเจ้าในขณะที่ทรงช่วยเหลือสรรพสัตว์ ขณะที่พระไวโรจนพุทธะเป็นสัญลักษณ์แทนพระสัมมาสัมพุทธเจ้าในเวลาที่ทรงแสดงธรรม

          นอกจากนี้แล้วพระปฏิมาของพระชินพุทธเจ้าทั้งห้าพระองค์ที่ปฏิมากรได้ปั้นแต่งออกมาอย่างสวยงามพิสดาร มีการแทรกคำอธิบายถึงความหมายของสีสันต่างๆในแต่ละพระองค์ ความเกี่ยวข้องกับธาตุ อายตนะต่างๆ ฯลฯ นั้นก็เป็นส่วนหนึ่งของความพยายามที่จะเชื่อมโยงเรื่องราวทั้งหมดให้เข้ากับ คุณลักษณะพิเศษ หรือญาณวิทยาที่มีอยู่ในพุทธะแต่ละพระองค์ด้วย ซึ่งในที่นี้ประเด็นที่ควรพิจารณาต่อไปก็คือ ความพยายามในการนำเสนอคุณลักษณะพิเศษหรือพุทธานุภาพของพระพุทธเจ้าตามรูปแบบของพุทธตันตระเช่นนี้จะทำให้ พุทธานุภาพ ที่พุทธศาสนาเถรวาทถือกันมาเป็นเวลายาวนานนั้นกลับกลายไปเป็นความจริงสมมติหรือเป็นบุคลาธิษฐานไปหรือไม่ หรือจะทำให้ความจริงปรมัตถ์ที่มีอยู่ในพุทธานุภาพของพระพุทธเจ้านั้นกลับกลายไปเป็นอย่างอื่นหรือไม่ ซึ่งเป็นเรื่องที่น่าสงสัยอยู่

          อย่างไรก็ตามในเรื่องนี้ผู้เชี่ยวชาญทางมหายานศึกษาท่านหนึ่งคือสุมาลี มหณรงค์ชัยได้ให้ความเห็นในเรื่องนี้ไว้ว่าการจัดแบ่งกลุ่ม(หรือการแสดงคุณลักษณะพิเศษของพุทธะ) ดังที่พุทธตันตระได้กระทำไว้นี้เป็นเรื่องของการแสดงให้เห็นถึงความหลากหลายของพระปัญญาญาณของพระพุทธเจ้าเท่านั้น[2] โดยกล่าวว่าการจัดแบ่งโคตรตระกูลของพระพุทธเจ้านั้นเป็นเรื่องของทางโลก เป็นเรื่องของการแสดงความแบ่งแยก ชี้ความแตกต่างและเป็นการสร้างเอกลักษณ์เฉพาะกลุ่มแต่การแบ่งในที่นี้มีวัตถุประสงค์ที่แตกต่างออกไป  นอกจากนี้ยังเห็นว่าการแสดงให้เห็นคุณสมบัติทางจิตวิญญาณ สี องค์ประกอบ หรือท่าทางต่างๆ (ของพระชินพุทธเจ้า) นั้นไม่ใช่เรื่องที่แต่งขึ้นตามใจใครแต่คือการจุดประกายทางสายตาให้เกิดประสบการณ์ภายใน เป็นการสร้างความตระหนักรู้ความจริงในหลายมิติ
ปฏิจจสมุปบาทในนิกายพุทธตันตระความสัมพันธ์กับทฤษฎีกาลจักร

            ตามหลักการในพระพุทธศาสนาแล้ว ปฏิจจสมุปบาทเป็นธรรมสำคัญอันหนึ่งที่นับได้ว่าเป็นพื้นฐานที่นำไปสู่ธรรมข้ออื่นๆได้เป็นอันมาก  ในด้านหนึ่งปฏิจจสมุปบาทเท่ากับเป็นทฤษฎีความสัมพันธ์ร่วมกันของสิ่งต่างๆ  สำหรับในส่วนของพุทธศาสนามหายานในธิเบตนั้นมีคตินิยมในการสร้างรูปวงกลมที่มีลักษณะเหมือนล้อเกวียนซึ่งมี ๖ ซี่ (หรือ ๖ กำ) โดยให้ล้อเกวียนนั้นซ้อนกัน ๓ ชั้น มีรูปพระอวโลกิเตศวรในร่างยักษ์หรือพญายมหรือท้าวมหากาลนั่งคาบล้อเกวียนและมือทั้งสองข้างโอบรอบล้อเกวียนไว้  คติการสร้างล้อเกวียนนี้เกิดขึ้นเป็นครั้งแรกในอินเดีย และต่อมาคณาจารย์ในฝ่ายสรวาสติวาทินนำได้ไปเผยแผ่ในธิเบตด้วย

          ศูนย์กลางของวงกลมมีรูปไก่ งู และหมูกำลังไล่กินหางกันและกันอยู่ในวงกลมนั้น ในชั้นต่อมาซึ่งแบ่งเป็น ๖ ช่องมีความหมายสื่อถึงภูมิทั้ง ๖ ส่วนวงกลมด้านนอกแบ่งเป็น ๑๒ ช่อง หมายถึงปฏิจจสมุปบาท ๑๒ และภาพทุกภาพที่ปรากฏในวงกลม ๓ ชั้นนี้มีความหมายเชิงสัญลักษณ์ทั้งหมด   โดยรูปไก่ หมายถึง โลภะ รูปงู หมายถึง โทสะ รูปหมู หมายถึง โมหะ ทั้งสามประการนี้ถือเป็นมูลรากของการเกิดภพ ชาติ ชรา มรณะ ทุกข์ โทมนัส อุปายาสต่างๆ อันเป็นตัวขับเคลื่อนที่สำคัญของสังสารวัฏ

          ถัดจากศูนย์กลางซึ่งเป็นช่อง ๖ ช่องนั้นหมายถึงภูมิทั้ง ๖ โดยให้ช่องที่ ๑ (บนสุด) หมายถึงเทวภูมิ ช่องที่ ๒ (ถัดมาทางด้านขวา) หมายถึง อสุรภูมิ ช่องที่ ๓ หมายถึง เปตภูมิ ช่องที่ ๔ (ล่างสุด) หมายถึง นรกภูมิ ช่องที่ ๕ หมายถึง ดิรัจฉานภูมิ ช่องที่ ๖ หมายถึง มนุสสภูมิ

          ส่วนวงกลมชั้นนอกสุด ซึ่งแบ่งออกเป็น ๑๒ ช่อง (คือปฏิจจสมุปบาท) นั้นเรียงลำดับจากรูปหญิงชรา หมายถึง อวิชชา ช่างปั้นหม้อ หมายถึง สังขาร รูปลิง หมายถึง วิญญาณ รูปชายสองคนที่นั่งในเรือ หมายถึง นามรูป รูปบ้านที่มีช่องหน้าต่าง ๖ บานหมายถึง สฬายตนะทั้ง ๖ รูปคู่รัก หมายถึง ผัสสะ  รูปลูกศรแทงตามนุษย์ หมายถึง เวทนา รูปคนกำลังหิวมีหญิงคอยบริการ หมายถึง ตัณหา รูปคนเก็บผลไม้ หมายถึง อุปาทาน รูปคนเสพเมถุน หมายถึง ภพ รูปหญิงคลอดลูก หมายถึง ชาติ รูปคนแบกศพ หมายถึง ชรามรณะ

          ภาพเชิงสัญลักษณ์ที่แสดงเรื่องราวของปฏิจจสมุปบาทที่ปรากฏในอภิปรัชญามหายานนี้เป็นที่น่าสังเกตว่ามีความใกล้เคียงอย่างยิ่งกับการให้ความหมายในเรื่องเดียวกันนี้ในพุทธศาสนาเถรวาท แสดงให้เห็นว่าหลักการทางพระพุทธศาสนาในเรื่องนี้ (ปฏิจจสมุปบาท) เป็นหลักการที่ได้รับการยอมรับร่วมกันอย่างกว้างขวางทั้งในเถรวาทและมหายาน อย่างน้อยก็ในบรรดานิกายหลัก

          ประเด็นความเกี่ยวข้องระหว่างปฏิจจสมุปบาทกับทฤษฎีกาลจักรในนิกายพุทธตันตระนั้นเห็นได้ชัดว่ามีความเกี่ยวข้องกันมากพอสมควรโดยเฉพาะในมิติของความเกี่ยวพันเชื่อมโยงกันของสิ่งต่างๆ  ดังจะเห็นได้ว่าปฏิจจสมุปบาทนั้นเป็นหลักการที่ปักแน่นอยู่ในเรื่องของเหตุและผล เรื่องของการเชื่อมโยงกันของสิ่งต่างๆ  และค่อนข้างจะสอดคล้องกันกับทฤษฎีกาลจักรที่กล่าวถึงการสอดประสานกันของธรรมชาติเช่นกัน (พิจารณาจากภาพที่มีความต่อเนื่องกัน คือ ภาพแรกก่อให้เกิดภาพที่สอง ภาพที่สองเป็นผลพวงของภาพแรกและทำให้เกิดภาพต่อๆมา ฯลฯ การที่แต่ละภาพจะขาดช่วงจากกันไม่ได้เพราะเป็นเหตุเป็นผลซึ่งกันและกัน เป็นต้น)  

          อย่างไรก็ตามแม้ว่าทฤษฎีกาลจักรจะกล่าวถึงเรื่องการสอดประสานของธรรมชาติ แต่ก็มุ่งให้ความสำคัญเรื่องของ ความอ่อนโยน ที่ต้องสอดประสานกับ ความแข็งแกร่งทางปัญญา นั้นเป็นประการหลัก โดยตัวแทนของความอ่อนโยนให้แทนด้วยภาพของพุทธะ (ซึ่งเท่ากับเป็นตัวแทนของบุรุษเพศ ดังที่ได้เรียกว่า ศักตะ) และให้ความแข็งแกร่งทางปัญญานั้นเป็นตัวแทนของสตรีเพศ ดังที่ได้เรียกว่า ศักติ ตามที่กล่าวไว้ข้างต้น  ซึ่งหากจะมีการตีความอย่างง่ายแล้วจะพบว่าที่จริงแล้ว ศักตะ กับ ศักติ ก็เป็นเพียงนามธรรมอย่างหนึ่งคล้ายกับนามธรรมอื่นๆ เช่น ความงาม ความสงบ ความดี ฯลฯ เช่นเดียวกัน ดังนั้นเมื่อเรากล่าวถึงศักติ ภาพของความอ่อนโยน ความเมตตา ความต้องการให้ผู้อื่นพ้นจากทุกข์จึงน่าจะปรากฏชัดขึ้นในความรู้สึกของเราได้ และเมื่อเรากล่าวถึงศักตะ ภาพของความมีไหวพริบ การมีความรู้ การรู้แจ้ง ความองอาจอันเนื่องมาจากการมีความรู้จึงน่าจะปรากฏชัดขึ้นในความรู้สึกของเราได้เช่นเดียวกัน และด้วยเหตุผลนี้เองจึงทำให้ฝ่ายพุทธตันตระจึงเลือกที่จะอธิบายความเป็นนามธรรมของศักติ และศักตะให้ปรากฏในรูปของสัญลักษณ์บางอย่างเพื่อให้ผู้นับถือทั่วไปเข้าใจ (จึงนำมาสู่การสร้างรูปพุทธะคู่กับชายาในรูปแบบต่างๆนั้น)

          ศักตะและศักติในทฤษฎีกาลจักรจึงมีความหมายเป็นเพียงสัญลักษณ์อย่างหนึ่งในทำนองเดียวกับการใช้บุคลาธิษฐานเพื่อสื่อความหมายทางภาษาเท่านั้น ไม่ใช่เป็นตัวตนที่แท้จริงแต่อย่างใด ศักตะเมื่อจะแทนความหมายของกรุณาจึงมีภาพปรากฏต่างๆกัน เช่น ภาพพุทธะที่มีพระพักตร์อ่อนโยน มีลักษณะละเมียดละไมและให้ความรู้สึกของการแผ่ขยายความกรุณาในสรรพสัตว์อย่างไม่มีประมาณ ขณะที่ศักติเมื่อจะแทนความหมายของปัญญาจึงปรากฏให้เห็นเป็นภาพของ ชายา ที่ต้องเคียงคู่อยู่กับพุทธะอย่างใกล้ชิด เพื่อที่จะแสดงว่ากรุณาแล้วต้องอาศัยปัญญาเสมอด้วย ฯลฯ อีกประการหนึ่งการที่ศักติของพุทธะแต่ละองค์นั้นที่มีรูปลักษณ์ที่แตกต่างกัน จะมีผลถึงลักษณะของศักติของแต่ละพระองค์ด้วยจึงอาจกล่าวได้ว่าทั้งพุทธะและศักตินั้นล้วนแต่เป็นองค์เดียวกันแต่มีสองสิ่งประสานอยู่ในองค์เดียวนั่นเอง (เช่นเดียวกับธรรมชาติของไฟที่ต้องที่ทั้งแสงสว่างและความร้อน น้ำที่จะต้องมีลักษณะที่แทรกซึมได้ง่ายและสามารถแปรเปลี่ยนไปตามภาชนะและอุณหภูมิที่มันอยู่ เช่นกัน)

          ดังนั้นหากกล่าวโดยทั่วไปแล้วแนวคิดการสอดประสานของเพศชายและเพศหญิงในทฤษฎีกาลจักรนั้นจึงเป็นสิ่งที่คล้ายคลึงและเข้ากันได้กับแนวคิดของลัทธิเต๋า (หรือเต๋าเต๋อจิง) อย่างมาก แต่ขณะเดียวกันก็แตกต่างอย่างสิ้นเชิงกับเรื่องกาลจักร (หรือจักรวาลวิทยา) ในพุทธศาสนาเถรวาทอย่างสิ้นเชิง กล่าวคือในขณะที่ทฤษฎีกาลจักรเป็นเรื่องของการสอดประสานกันของเพศชาย-เพศหญิงและสรรพสิ่งคือชีวิตและจิตใจที่มีอยู่ในตน แต่จักรวาลวิทยาของพุทธศาสนาเถรวาทก็กลับเป็นเรื่องของโลกธาตุ เรื่องภพภูมิ เรื่องสวรรค์ นรก และพรหมภูมิ ฯลฯ ซึ่งถือเป็นแกนความรู้ความเชื่อดั้งเดิมมาเป็นเวลานานแล้วนั้นเป็นหลัก  อย่างไรก็ตามควรกล่าวได้ว่าสำหรับแนวคิดเรื่องปฏิจจสมุปบาทนั้นถือเป็นแนวคิดที่มีอยู่ในกระบวนการและความเชื่อในพุทธศาสนาทั้งนิกายมหายานและเถรวาทเสมอเหมือนกัน
จริยศาสตร์หรือสิ่งที่ควรประพฤติสำหรับผู้นับถือตันตระนิกาย

            ดังได้เห็นแล้วว่าพุทธตันตระนั้นมีแนวทางที่จะไม่แยกสรรพสิ่งของจากตัวมนุษย์อย่างเด็ดขาด แต่พยายามที่จะนำสิ่งที่แวดล้อมตัวมนุษย์อยู่นั้นเข้ามาเป็นส่วนหนึ่งในการพิจารณาและเพื่อการอธิบาย และโดยเฉพาะอย่างยิ่งมักเป็นการอธิบายโดยใช้บุคลาธิษฐานเป็นเครื่องมือที่สำคัญ

          ในส่วนของจริยศาสตร์หรือสิ่งอันควรประพฤติของผู้นับถือตันตระนิกายนั้น กล่าวได้ว่าบุพพกิจห้าแสน[1] วิธีการของการบำเพ็ญบุพพกิจห้าแสนนั้นเริ่มต้นจากการกราบด้วยอัฏฐางคประดิษฐ์ (คืออวัยวะต้องสัมผัสพื้น ๘ จุด) ทำเช่นนี้แสนครั้ง  ต่อจากนั้นแล้วให้สวดมนต์นอบน้อมแด่พระโพธิสัตว์แสนครั้ง รับไตรสรณคมณ์ (รับพระรัตนตรัยว่าเป็นที่พึ่งตลอดชีวิต) แสนครั้ง บูชาเทวดาแสนครั้ง และสวดมนต์ตามวิธีการที่ลามะสั่งสอนแสนครั้ง

http://www.vcharkarn.com/vblog/114518/7 บทความคักลอก











คำสอนสมเด็จองค์ปฐม


คำสอนสมเด็จองค์ปฐม


ดูก่อนท่านทั้งหลาย  ท่านที่มาประชุมทั้งหมด จะเป็นเทวดาก็ดี นางฟ้าก็ดี พรหมก็ดี ขอทุกท่านจงอย่าลืมความตาย  นั่นหมายถึงว่า  การจุติ  ลืมความเป็นทิพย์เสีย อย่าเพลิดเพลินเกินไป อย่ามีความสุขเกินไป และมันจะทุกข์ทีหลัง  จงดูภาพมนุษย์ว่า มนุษย์เมืองไหนบ้างที่น่าเกิด ดินแดนไหนที่มีความสุขไม่มีการงาน  เราจะมองไม่เห็นความสุขของมนุษย์  เมืองมนุษย์มีแต่ความทุกข์  ต้องประกอบกิจการงานทุกอย่าง  ต้องกระทบกระทั่งกับอารมณ์  มีความปรารถนาไม่ค่อยจะสมหวังทุกอย่างต้องใช้แรงงาน

                        แต่ว่ามาเป็นเทวดา  มาเป็นนางฟ้า  ทุกอย่างหมดสิ้น  นั่นหมายความว่าไม่ต้องทำอะไรทั้งหมด  ร่างกายอิ่มเป็นปกติ ร่างกายเยือกเย็นอบอุ่น ไม่ต้องห่มผ้า และมีความปรารถนาสมหวัง  ก็หมายความถ้าจะไปทางไหน ก็สามารถลอยไปถึงที่นั่นได้ทันทีทันใด ความป่วยไม่มี ความแก่ไม่มี ร่างกายไม่มีการเปลี่ยนแปลง  ความเป็นทิพย์อย่างนี้ ท่านทั้งหลายจงอย่ามัวเมา  จงอย่ามีความเข้าใจผิดว่า เราจะอยู่ที่นี่ตลอดกาล ตลอดสมัย

                        ทั้งนี้เพราะอะไร  เพราะอายุเทวดาก็ดี นางฟ้าก็ดี พรหมก็ดี อายุจำกัดตามบุญวาสนาบารมี  ถ้าหมดบุญวาสนาบารมีก็ต้องจุติคือตาย  แต่ว่าท่านทั้งหลายจงอย่าลืมว่า เทวดาก็ดี  นางฟ้าก็ดี  พรหมทั้งหมด ที่นั่งอยู่ที่นี่ทั้งหมด แม้แต่จะเป็นพระอริยะเจ้า ที่ท่านเป็นพระอริยเจ้าก็มาก  อย่าลืมว่าทุกท่านยังมีบาปติดตัวอยู่  และการสะสมบาปมาเป็นชาติ ๆ  ยังมีมากมาย  (พอพระพุทธเจ้าตรัสอย่างนี้ บรรดาท่านทั้งหลาย  อาตมาก็ใช้กำลังใจดูร่างกายเทวดา นางฟ้ากับพรหม  เห็นเงาบาปอยู่ในหน้ามาก  เป็นอันว่าทุกองค์ ต่างองค์ต่างมีบาป  แต่ก็มาเป็นเทวดา เป็นนางฟ้า เป็นพรหมได้  แล้วก็ดูตัวเองเวลานั้น ร่างกายของตัวเองก็เป็นทิพย์ บาปมันก็ท่วมท้นเหมือนกัน)  ต่อไปองค์สมเด็จพระภควันต์ทรงตรัสว่า

                        ภิกขเว......ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย  (เวลานั้นมีพระมาด้วยหลายองค์)  และท่านทั้งหลายที่นั่งอยู่ที่นี่ทั้งหมด  จงอย่าลืมว่าทุกท่านมีบาปติดตัวมามากมาย  อาศัยบุญเล็กน้อยก่อนจะตาย  จิตใจนึกถึงบุญก่อน  จึงได้มาเกิดบนสวรรค์บ้าง  มาเกิดบนพรหมบ้าง  ถ้าหากว่าท่านจุติเมื่อไร  โน่น..... นรก  (ท่านชี้มือลง  เห็นนรกไฟสว่างจ้า  แดงฉานไปหมด) ท่านทั้งหลายจะต้องพุ่งหลาวลงนรก  เพราะใช้กฎของกรรม คือบาป  ชำระหนี้บาป  กว่าจะมาเกิดเป็นคนก็นานหนักหนา  และมาเป็นคนแล้ว  ก็ไม่แน่ว่าจะได้กลับมาเป็นเทวดา นางฟ้า หรือพรหมใหม่

                        ทั้งนี้เพราะอะไร  ก็เพราะว่าเป็นคนอาจจะทำบาปใหม่ อาจลงนรกไปใหม่ก็ได้  ฉะนั้น เมื่อท่านทั้งหลายมาถึงที่นี่  มาอยู่สวรรค์ก็ดี  พรหมก็ดี  เป็นทางครึ่งหนึ่งของนิพพาน  ระหว่างมนุษย์กับนิพพาน  เป็นอันว่าท่านทั้งหลายได้ครึ่งทาง  การมาได้ครึ่งทางของท่าน  ท่านทั้งหลายจงดูนั่น....นิพพาน  (ท่านยกมือชี้ขึ้นให้ดูพระนิพพาน  เวลานั้นเทวดานางฟ้ากับพรหมทั้งหมด  อาตมาก็เหมือนกัน เห็นพระนิพพานไสวสว่างจ้า มีวิมานสีเดียวกันคือ  สีแก้ว  แพรวพราวเป็นระยับ เป็นแก้วสีขาว  พระอรหันต์ทั้งหลายที่อยู่ที่นั่น มีความสุขขนาดไหน  มีความเข้าใจหมด รู้หมด เห็นหมด  แล้วองค์สมเด็จพระบรมสุคตก็ทรงกลับมาพูดกับเทวดากับนางฟ้าใหม่ว่า) 

                        ท่านทั้งหลายจงหวังตั้งใจคิดว่า  ถ้าการจุติมีคราวนี้  ถ้าบุญวาสนาบารมีของเรานี้สิ้นสุดลง  เราจะไม่ไปเกิดเป็นมนุษย์  เราจะไม่เกิดเป็นเทวดา  เราจะไม่เกิดเป็นนางฟ้า เราจะไม่ไปเกิดเป็นพรหม  เราต้องการไปพระนิพพานจุดเดียว  และการไปนิพพานนี่  ท่านทั้งหลายต้องยึด อารมณ์พระนิพพาน  เป็นสำคัญ  สำหรับพรหมก็ดี  เทวดานางฟ้าเก่า ๆ ก็ดี อาตมาไม่หนักใจ  ทั้งนี้เพราะมีความเข้าใจแล้ว (ก็แสดงว่าพรหม เทวดา นางฟ้าเก่า ๆ เป็นพระอริยเจ้ามาก)

                        ที่มีความเป็นห่วงก็เป็นห่วงเทวดานางฟ้าใหม่ ๆ  ที่มาเกิดใหม่ ๆ จะหลงความเป็นทิพย์  นั่นหมายความจะมีความเพลิดเพลินในความเป็นทิพย์  ยังมีความรู้สึกว่าเราจะเกิดอยู่ที่นี่ตลอดไป  จะไม่มีการจุติ  จะไม่มีการเคลื่อน  อันนี้เป็นความเห็นที่ผิด  จงคิดตามนี้เพื่อพระนิพพาน  นั่นคือ จงมีความรู้สึกว่าเราจะต้องจุติวันนี้ไว้เสมอ  และอาการของชีวิตนี่เป็นของที่ไม่แน่นอน  เราจะตายเมื่อไหร่ก็ได้  ความตายเป็นของเที่ยง ความเป็นอยู่เป็นของไม่เที่ยง

                        เมื่อคิดอย่างนี้แล้ว  ทุกท่านจงอย่าประมาท  จงใช้ปัญญาพิจารณาความดีของพระพุทธเจ้า  พระธรรม  พระอริยสงฆ์  ว่าท่านทั้งหลายควรจะเคารพไหม  ถ้าจิตใจของท่านมีความศรัทธา มีความเคารพในพระพุทธเจ้า  ในพระธรรม ในพระอริยสงฆ์  ก็เป็นอาการขั้นที่สองที่ท่านจะไปนิพพานได้  หลังจากนั้นขอท่านทั้งหลายจงทรงศีลให้บริสุทธิ์ จะเป็นศีล 5 ก็ตาม ศีล 8 ก็ตาม กรรมบถ 10 ก็ตาม ศีล 10 ก็ตาม ศีล 227 ก็ตาม (พอท่านพูดถึงศีล 227  ก็คิดในใจว่า เทวดาจะไปบวชที่ไหน  องค์สมเด็จพระจอมไตรก็หันหน้ามาตรัสว่า)

                        ฤาษี.....เทวดาเขาไม่ต้องบวช  อย่างเทวดาชั้นยามาก็ดี  ชั้นดุสิตก็ดี  อย่างนี้เขามีศีลครบถ้วนบริบูรณ์ ทั้ง 227 เหมือนกับความเป็นพระ  พรหมก็ตาม ก็เช่นเดียวกัน ทุกท่านอยู่ด้วยธรรมปีติ  ทุกท่านอยู่ด้วยความสุข  เขาไม่อาบัติ  สิ่งที่จะเป็นอาบัติไม่มี  สิ่งที่จะเป็นบาปไม่มี  (แล้วท่านก็กลับหันหน้าไปหาเทวดานางฟ้า  กับพรหมว่า)

                        ขอทุกท่านจงอย่าลืมคิดว่า เราจะเป็นผู้มีศีล  ให้ตั้งเฉพาะศีล 5 ก็ดี ศีล 8 ก็ได้ ศีล 10 ก็ได้ กรรมบถ 10 ก็ได้ ศีล 227 ก็ได้  ตั้งใจว่า เราจะไม่ละเมิดศีล  หลังจากนั้นจึงมีจิตใช้ปัญญาคิดว่า  การเกิดเป็นเทวดาก็ดี เป็นนางฟ้าก็ดี เป็นพรหมก็ดี   มีสภาพไม่เที่ยง  จะต้องมีการจุติเป็นเวาระสุดท้าย  ในเมื่อการจุติจะเกิดขึ้น อารมณ์จะทุกข์  จงคิดไว้เสมอว่าเราจะต้องจุติ  ในเมื่อเราจะต้องจุติ เราจะไม่ยอมลงอบายภูมิ เราจะไม่เกิดเป็นมนุษย์

                        ท่านทั้งหลาย  จงดูภาพของมนุษย์  (แล้วพระองค์ก็ชี้มาที่เมืองมนุษย์)  มนุษย์เต็มไปด้วยความวุ่นวาย  มนุษย์เต็มไปด้วยความโสโครก มนุษย์เต็มไปด้วยความทุกข์ มนุษย์เต็มไปด้วยการงานต่าง ๆ มนุษย์มีความหิว มีความกระหาย มีความอยาก มีความต้องการไม่สิ้นสุด  สิ่งทั้งหลายที่ก่อสร้างขึ้นมาแล้ว  จะเป็นทรัพย์สินยังไงก็ตาม  ในเมื่อเราตายจากความเป็นมนุษย์เราก็หมดสิทธิ์  อย่างบางท่านเป็นพระมหากษัตริย์  อยู่ในพระราชฐานดี ๆ สร้างไว้เป็นที่หวงแหน คนภายนอกเข้าไม่ได้  เข้าได้แต่คนภายใน

                        แต่ว่าท่านทั้งหลาย  เมื่อตายมาแล้วกลับไปเกิดเป็นคน  หากว่าท่านไม่ได้เกิดในตระกูลกษัตริย์ตามเดิม  ท่านเป็นประชาชนคนภายนอก  ท่านจะไม่มีสิทธิ์เข้าเขตนั้นเลย ทั้ง ๆ ที่เป็นของที่ท่านสร้างเอาไว้  ท่านทำเอาไว้ทุกอย่าง แล้วท่านจะไม่มีสิทธิ์  นี่ความไม่แน่นอนของความเป็นมนุษย์มันเป็นทุกข์อย่างนี้  ถ้าเกิดเป็นคนก็ต้องหยุด ต้องเดินไปเดินมา ทำกิจการงานทั้งวัน เพื่อผลประโยชน์หน่อยเดียว คือเงิน  ถ้าไม่มีเงินก็ไม่สามารถจะมีชีวิตทรงตัวอยู่ได้  เพราะมีความจำเป็นต้องหาเงิน (ในเมื่อท่านตรัสอย่างนี้แล้วก็บอกว่า)

                        จงอย่าคิดเป็นมนุษย์ต่อไป  ตัดความเป็นมนุษย์เสีย  เลิกความหมายความเป็นมนุษย์  เห็นว่าโลกมนุษย์เป็นทุกข์  มนุษย์มีสภาพไม่เที่ยง  ไม่มีการทรงตัว  มีความเกิดขึ้นและมีความเปลี่ยนแปลง  มีความแก่  มีความป่วย  มีการพลัดพรากจากของรักของชอบใจ มีความตายในที่สุด  และจงอย่าอยากเป็นเทวดา อยากเป็นนางฟ้า เป็นพรหมต่อไป  เพราะเทวดา นางฟ้ากับพรหม  ก็มีสภาพไม่เที่ยงเหมือนกัน

                        เมื่อมีความเกิดในเบื้องต้น ก็มีความเปลี่ยนแปลงไปธรรมดา ก็มีความจุติไปในที่สุด ทุกคนหวังนิพพานเป็นที่ไป  ตั้งใจไว้เสมอว่า  เราจะเป็นผู้มีศีล  เราจะนับถือพระไตรสรณคมน์คือ  พระพุทธเจ้า พระธรรม พระอริยสงฆ์  แล้วก็เราจะต้องจุติในวันข้างหน้า ตถาคตมีความรู้สึกว่าท่านทั้งหลายที่เป็นเทวดา นางฟ้า พรหมก่า ๆ   มีความเข้าใจดีแล้ว  (คำว่า เข้าใจ  บรรดาท่านพุทธบริษัท  หมายถึงว่าเขาปฏิบัติได้  นี่คืออารมณ์พระโสดาบัน กับอารมณ์พระอรหันต์)

                        สำหรับเทวดา นางฟ้า และพรหมใหม่ ๆ  จงตั้งใจไว้เสมอว่า จงลืมความเป็นทิพย์เสีย  อย่าเพลิดเพลินเกินไป  อย่ามีความสุขเกินไป  และมันจะทุกข์ทีหลัง  ตั้งใจคิดว่าความสุขที่ได้มานี่  เราได้มาจากบุญเล็กน้อยเท่านั้น  และบาปใหญ่ที่ขังอยู่ที่ตัวเรายังมีอยู่  ถ้าเราเผลไม่สร้างความดี  ในเมื่อจุติความเป็นเทวดาหรือพรหมในภพนี้แล้ว  ทุกคนจะต้องลงอบายภูมิ

                        จงดูภาพนรกว่าขุมไหนบ้างที่น่าอยู่น่ารัก  มันไม่น่าอยู่ ไม่น่าเกิด  ดินแดนไหนที่มีความสุขไม่มีการงาน  เราจะมองไม่เห็นความสุขของมนุษย์  และก็ดูเทวดา นางฟ้า กับพรหม  มนุษย์ที่เดินเกลื่อนกล่นทุกคน  อยู่ในเมืองมนุษย์ เคยเป็นเทวดาเคยเป็นนางฟ้า เคยเป็นพรหมมาแล้ว  แต่ว่าท่านทั้งหลายจงตั้งใจไว้เฉพาะนิพพาน  จงดูภาพพระนิพพานให้ชัดเจนแจ่มใสว่า  ดินแดนพระนิพพานไม่มีที่สิ้นสุด..... (เมื่อพระองค์ตรัสเพียงเท่านี้ พระองค์ก็จบ)

(คัดย่อมาจากหนังสือธัมมวิโมกข์ ฉบับที่ 139 เดือนกันยายน 2535 เรื่อง  ชวนเทวดา นางฟ้า พรหม ไปนิพพาน)
  
(หลวงพ่อได้สรุปใจความสั้น ๆ  ตามที่ท่านเทศน์ไว้ดังนี้)

                        ท่านทั้งหลาย  การหลบหลีกไม่ต้องตกอบายภูมิ  มีนรกเป็นต้น เป็นของไม่ยาก

                        1.  ขอทุกท่านลงอย่าลืมความตาย  จงคิดว่าความตายอาจจะมีกับเราเดี๋ยวนี้ไว้เสมอ ๆ
                        2.  เคารพพระพุทธเจ้า พระธรรม พระอริยสงฆ์ ด้วยศรัพธาแท้ (ด้วยความจริงใจ)
                        3.  มีศีลบริสุทธิ์เป็นปกติ  และ
                        4.  เป็นกรณีพิเศษ  ปฏิเสธการเกิดเป็นมนุษย์  เทวดา  นางฟ้า  และพรหม ในชาติต่อไป  ทุกท่านเห็นนิพพานแล้วตั้งใจไปพระนิพพานโดยเฉพาะ  เท่านี้ ทุกท่านจะหนีอบายภูมิพ้น และไปพระนิพพานได้ในที่สุด

หมายเหตุ  เทศน์ที่ เทวสภา  วันที่ 8 สิงหาคม 2535  เวลา 8.00 น.  พระเดชพระคุณหลวงพ่อ  พระราชมรหมยาน  เมตตาเล่าให้ลูกหลานฟัง เมื่อวันที่ 11 สิงหาคม 2535 เวลา 21.00 น.

Twitter Delicious Facebook Digg Stumbleupon Favorites More