ลักษณะของยมกปาฏิหาริย์
"๑
ญาณในยมกปาฏิหาริย์ของพระตถาคตเป็นไฉน ? ในญาณนี้พระตถาคตทรงทำยมกปาฏิหาริย์ ไม่ทั่วไปด้วยพวกสาวก; ท่อไฟพลุ่งออกแต่พระกายเบื้องบน, สายน้ำไหลออกแต่พระกายเบื้องล่าง; ท่อไฟพลุ่งออกแต่พระกายเบื้องล่าง, สายน้ำไหลออกแต่พระกายเบื้องบน; ท่อไฟพลุ่งออกแต่พระกายเบื้องหน้า, สายน้ำไหลออกแต่พระกายเบื้องหลัง;ท่อไฟพลุ่งออกแต่พระกายเบื้องหลัง, สายน้ำไหลออกแต่พระกายเบื้องหน้า;
ท่อไฟพลุ่งออกเเต่พระเนตรเบื้องขวา, สายน้ำไหลออกแต่พระเนตร
เบื้องซ้าย; ท่อไฟพลุ่งออกแต่พระเนตรเบื้องซ้าย, สายน้ำไหลออกแต่พระเนตรเบื้องขวา; ท่อไฟพลุ่งออกแต่ช่องพระกรรณเบื้องขวา, สายน้ำไหลออกแต่ช่องพระกรรณเบื้องซ้าย; ท่อไฟพลุ่งออกแต่ช่องพระกรรณเบื้องซ้าย; สายน้ำไหลออกแต่ช่องพระกรรณเบื้องขวา, ท่อไฟพลุ่งออกแต่ช่องพระนาสิกเบื้องขวา; สายน้ำไหลออกแต่ช่องพระนาสิกเบื้องซ้าย;ท่อไฟพลุ่งออกแต่ช่องพระนาสิกเบื้องซ้าย, สายน้ำไหลออกแต่ช่องพระ-นาสิกเบื้องขวา; ท่อไฟพลุ่งออกแต่จะงอยพระอังสาเบื้องขวา, สายน้ำไหลออกแต่จะงอยพระอังสาเบื้องซ้าย;
ท่อไฟพลุ่งออกแต่จะงอยพระอังสาเบื้องซ้าย, สายน้ำไหลออกแต่จะงอยพระอังสาเบื้องขวา; ท่อไฟพลุ่งออกแต่พระหัตถ์เบื้องขวา, สายน้ำไหลออกแต่พระหัตถ์เบื้องซ้าย; ท่อไฟพลุ่งออกแต่พระหัตถ์เบื้องซ้าย, สายน้ำไหลออกแต่พระหัตถ์เบื้องขวา; ท่อไฟพลุ่งออกแต่พระปรัศว์เบื้องขวา; สายน้ำไหลออกแต่พระปรัศว์เบื้องซ้าย;
๑. ขุ.
ปฏิ. ๓๐/๑๘๓.
ท่อไฟพลุ่งออกแต่พระปรัศว์เบื้องซ้าย, สายน้ำไหลออกแต่พระปรัศว์เบื้องขวา; ท่อไฟพลุ่งออกแต่พระบาทเบื้องขวา, สายน้ำไหลออกเเต่พระบาทเบื้องซ้าย; ท่อไฟพลุ่งออกแต่พระบาทเบื้องซ้าย, สายน้ำไหลออกแต่พระบาทเบื้องขวา; ท่อไฟพลุ่งออกแต่พระองคุลี, สายน้ำไหลออกแต่ช่องพระองคุลี; ท่อไฟพลุ่งออกแต่ช่องพระองคุลี, สายน้ำไหลออกจากพระองคุลี; ท่อไฟพลุ่งออกแค่ขุมพระโลมาขุมหนึ่ง
ๆ. สายน้ำไหลออกแต่พระโลมาเส้นหนึ่ง ๆ, ท่อไฟพลุ่งออกแต่พระโลมาเส้นหนึ่ง
ๆ,สายน้ำไหลออกแต่ขุมพระโลมาขุมหนึ่ง ๆ. รัศมีทั้งหลาย ย่อมเป็นไปด้วยสามารถแห่งสี ๖ อย่าง คือ
เขียว เหลือง แดง ขาว หงสบาท ปภัสสร;พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงจงกรม. พระพุทธนิรมิตย่อมยืนหรือนั่งหรือสำเร็จการนอน;
(พระผู้มีพระภาคเจ้าประทับยืน พระพุทธนิรมิตย่อมจงกรม นั่งหรือสำเร็จการนอน, พระผู้มีพระภาคเจ้าประทับนั่ง พระพุทธนิรมิตย่อมจงกรม ยืนหรือสำเร็จการนอน; พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงสำเร็จสีหไสยา
พระพุทธนิรมิตย่อมจงกรม ยืนหรือนั่ง; พระพุทธนิรนิตจงกรม. พระผู้มี-พระภาคเจ้า
ย่อมทรงยืน ประทับนั่ง หรือสำเร็จสีหไสยา; พระพุทธ-นิรมิตทรงยืน. พระผู้มีพระภาคเจ้า ย่อมทรงจงกรม
ประทับนั่งหรือทรงสำเร็จสีหไสยา;).
พระพุทธนิรมิตประทับนั่ง, พระผู้มีพระภาคเจ้าย่อมทรงจงกรม ประทับยืน
หรือสำเร็จสีหไสยา
พระพุทธนิรมิตสำเร็จสีหไสยา.พระผู้มีพระภาคย่อมทรงจงกรม ประทับยืน
หรือประทับนั่ง. นี้เป็นญาณในยมกปาฏิหาริย์ของพระตถาคต.
"
ก็พระศาสดาเสด็จจงกรมบนที่จงกรมนั้น
ได้ทรงทำปาฏิหาริย์นี้ แล้ว.
เพื่อจะแสดงเนื้อความนั้น " ท่อไฟย่อมพลุ่งออกแต่พระกายเบื้องบนด้วยอำนาจเตโชกสิณสมาบัติของพระศาสดานั้น. สายน้ำไหลออกแต่พระ-กายเบื้องล่าง ด้วยอำนาจอาโปกสิณสมาบัติ; ท่อไฟพลุ่งออกแต่ที่ ๆ สาย น้ำไหลออกแล้วอีก, และสายน้ำก็ไหลออกแต่ที่ ๆ
ท่อไฟพลุ่งออก พระสารีบุตรเถระจึงกล่าวว่า
" เหฏฺ€ิมกายโต
อุปริมกายโต. " นัยในบททั้งปวงก็เช่นนี้. ก็ในยมกปาฏิหาริย์นี้ ท่อไฟมิได้เจือปนกับสายน้ำเลย,อนึ่ง สายน้ำก็มิได้เจือด้วยท่อไฟ, ก็นัยว่าท่อไฟและสายน้ำทั้งสองนี้ พลุ่งขึ้นไปตลอดถึงพรหมโลก แล้วก็ลุกลามไปที่ขอบปากจักรวาล. ก็เพราะเหตุที่พระสารีบุตรเถระกล่าวไว้ว่า
" ฉนฺน วณฺณานํ " พระรัศมีพรรณะ๖ ประการของพระศาสดานั้น พลุ่งขึ้นไปจากห้องแห่งจักรวาลหนึ่ง ดุจทองคำละลายคว้าง ซึ่งกำลังไหลออกจากเบ้า และดุจสายน้ำแห่งทองคำที่ไหลออกจากทะนานยนต์ จดพรหมโลกแล้วสะท้อนกลับมาจดขอบปาก
จักรวาลตามเดิม. ห้องแห่งจักรวาลหนึ่ง ได้เป็นดุจเรือนต้นโพธิที่ตรึงไว้ด้วยซี่กลอนอันคด มีแสงสว่างเป็นอันเดียวกัน. ในวันนั้น พระศาสดาเสด็จจงกรมทรงทำ (ยมก)
ปาฏิหาริย์แสดงธรรมกถาแก่มหาชนในระหว่าง ๆ, และเมื่อทรงแสดงไม่ทรงทำให้มหาชนให้หนักใจ ประทานให้เบาใจยิ่ง. ในขณะนั้น
มหาชนยังสาธุการให้เป็นไปแล้ว.
ในเวลาที่สาธุการของมหาชนนั้นเป็นไป
พระศาสดาทรงตรวจดูจิตของบริษัทซึ่งใหญ่ถึงเพียงนั้น
ได้ทรงทราบวาระจิตของคนหนึ่ง ๆ ด้วย
๑.
นิรสฺสาสํ ให้มีความโล่งใจออกแล้ว. อำนาจอาการ ๑๖
อย่าง.
จิตของพระพุทธเจ้าทั้งหลายเป็นไปเร็วอย่างนี้, บุคคลใด ๆ เลื่อมใสในธรรมใด และในปาฏิหาริย์ใด. พระศาสดาทรงแสดงธรรม
และได้ทรงทำปาฏิหาริย์ด้วยอำนาจอัธยาศัยแห่งบุคคลนั้น ๆ.เมื่อพระองค์ทรงแสดงธรรม และทรงทำปาฏิหาริย์ด้วยอาการอย่างนี้ธรรมาภิสมัยได้มีแก่มหาชนแล้ว. ก็พระศาสดาทรงกำหนดจิตของพระองค์
ไม่ทรงเห็นคนอื่นผู้สามารถจะถามปัญหาในสมาคมนั้น จึงทรงนิรมิตพระ-พุทธนิรมิต.
พระศาสดาทรงเฉลยปัญหาที่พระพุทธนิรมิตนั้นถามแล้ว.พระพุทธนิรมิตนั้นก็เฉลยปัญหาที่พระศาสดาตรัสถามแล้ว. ในเวลาที่พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงจงกรม พระพุทธนิรมิตสำเร็จอิริยาบถมีการยืนเป็นต้นอย่างใดอย่างหนึ่ง. ในเวลาที่พระพุทธนิรมิตจงกรม พระผู้มี-พระภาคเจ้าทรงสำเร็จพระอิริยาบถ มีการประทับยืนเป็นต้นอย่างใดอย่างหนึ่ง. เพื่อจะแสดงเนื้อความนั้น พระธรรมสังคาหกาจารย์จึงกล่าวคำเป็นต้นว่า
" พระพุทธนิรมิตย่อมจงกรมบ้าง "
เป็นต้น .ธรรมาภิสมัยได้มีแก่สัตว์ ๒๐
โกฏิในสมาคมนั้น เพราะเห็น
ปาฏิหาริย์ของพระศาสดา ผู้ทรงทำอยู่อย่างนั้น และเพราะได้ฟังธรรมกถา.
พระศาสดาเสด็จจำพรรษาชั้นดาวดึงส์
พระศาสดากำลังทรงทำปาฏิหาริย์อยู่นั่นแล
ทรงรำพึงว่า " พระ-พุทธเจ้าในอดีตทั้งหลาย ทำปาฏิหาริย์นี้แล้ว จำพรรษาที่ไหนหนอแล ? "ทรงเห็นว่า " จำพรรษาในภพดาวดึงส์ แล้วทรงแสดงอภิธรรมปิฎกแก่พระพุทธมารดา
" ดังนี้แล้ว ทรงยกพระบาทขวาเหยียบเหนือยอดภูเขายุคันธร
ทรงยกพระบาทอีกข้างหนึ่งเหยียบเหนือยอดเขาสิเนรุ วาระที่ย่างพระบาท ๓
ก้าว ได้มีแล้วในที่ ๖๘
แสนโยชน์อย่างนี้. ช่องพระบาท ๒ ช่อง ได้ถ่างออกเช่นเดียวกันกับการย่างพระบาทตามปกติ. ใคร ๆ ไม่พึงกำหนดว่า "
พระศาสดาทรงเหยียดพระบาทเหยียบแล้ว.
เพราะในเวลาที่พระองค์ทรงยกพระบาทนั่นแหละ ภูเขาเหล่านั้นก็มาสู่ที่ใกล้พระ-บาทรับไว้แล้ว, ในเวลาที่พระศาสดาทรงเหยียบแล้ว ภูเขาเหล่านั้นก็ตั้งประดิษฐานในที่เดิม. ท้าวสักกะทอดพระเนตรเห็นพระศาสดาแล้ว ทรง ดำริว่า
" พระศาสดาจักทรงเข้าจำพรรษานี้
ในท่ามกลางบัณฑุกัมพลสิลา.อุปการะจักมีแก่เหล่าเทพดามากหนอ. แต่เมื่อพระศาสดาทรงจำพรรษาที่นั่น เทพดาอื่น ๆ จักไม่อาจหยุดมือได้; ก็แลบัณฑุกัมพลสิลานี้ ยาว
๖๐ โยชน์ กว้าง
๕๐ โยชน์ หนา ๑๕ โยชน์ แม้เมื่อพระศาสดาประทับนั่งแล้ว ก็คงคล้ายกับว่างเปล่า." พระศาสดาทรงทราบอัธยาศัยของท้าวเธอทรงโยนสังฆาฏิของพระองค์ไปให้คลุมพื้นศิลาแล้ว. ท้าวสักกะทรงดำริว่า"
พระศาสดาทรงโยนจีวรมาให้คลุมไว้ก่อน. ก็พระองค์จักประทับนั่งในที่นิดหน่อยด้วยพระองค์เอง.
"
พระศาสดาทรงทราบอัธยาศัยของท้าวเธอจึงประทับนั่งทำบัณฑุกัมพลสิลาไว้ภายในขนดจีวรนั่นเอง ประหนึ่งภิกษุผู้ทรงผ้ามหาบังสุกุล ทำตั่งเตี้ยไว้ภายในขนดจีวรฉะนั้น. ขณะนั้นเอง
แม้มหาชนแลดูพระศาสดาอยู่
ก็มิได้เห็น. กาลนั้น ได้เป็นประหนึ่งเวลาพระจันทร์ตก. และได้เป็นเหมือนเวลาพระอาทิตย์ตก. มหาชนคร่ำครวญกล่าวคาถานี้ว่า :-
"
พระศาสดาเสด็จไปสู่เขาจิตรกูฏ
หรือสู่เขา
ไกรลาส
หรือสู่เขายุคันธร, เราทั้งหลายจึงไม่เห็น
พระสัมมาสัมพุทธเจ้า ผู้โลกเชษฐ์ ผู้ประเสริฐ กว่านระ. "
อีกพวกหนึ่งกำลังคร่ำครวญว่า "ชื่อว่าพระศาสดา ทรงยินดีแล้ว
ในวิเวก,
พระองค์จักเสด็จไปสู่แคว้นอื่น หรือชนบทอื่นเสียแล้ว เพราะทรงละอายว่า 'เราทำปาฏิหาริย์เห็นปานนี้ แก่บริษัทเห็นปานนี้,' บัดนี้เราทั้งหลายคงไม่ได้เห็นพระองค์" ดังนี้
กล่าวคาถานี้ว่า:-
"พระองค์ผู้เป็นปราชญ์ ทรงยินดีแล้วในวิเวก
จักไม่เสด็จกลับมาโลกนี้อีก. เราทั้งหลายจะไม่เห็น
พระสัมมาสัมพุทธเจ้า ผู้โลกเชษฐ์ ผู้ประเสริฐ
กว่านระ"
ดังนี้.
ชนเหล่านั้นถามพระมหาโมคคัลลานะว่า " พระศาสดาเสด็จไปที่ไหน ? ขอรับ" ท่านแม้ทราบอยู่เอง ก็ยังกล่าวว่า " จงถามพระอนุรุทธเถิด"
ด้วยมุ่งหมายว่า
"คุณแม้ของสาวกอื่น ๆ
จงปรากฏ" ดังนี้.
ชนเหล่านั้นถามพระเถระอย่างนั้นว่า
" พระศาสดาเสด็จไปที่ไหน"ขอรับ. "
อนุรุทธ. เสด็จไปจำพรรษาที่บัณฑุกัมพลสิลา ในภพดาวดึงส์แล้วทรงแสดงอภิธรรมปิฎกแก่พระมารดา. มหาชน.
จักเสด็จมาเมื่อไร ?
ขอรับ.
อนุรุทธ. ทรงแสดงอภิธรรมปิฎกตลอด ๓
เดือนแล้ว จักเสด็จมาในวันมหาปวารณา. ชนเหล่านั้นพูดกันว่า " พวกเราไม่ได้เห็นพระศาสดา จักไม่ไป"ดังนี้แล้ว ทำที่พักอยู่แล้วในที่นั้นนั่นเอง. ได้ยินว่า
ชนเหล่านั้นได้มีอากาศนั่นเอง
เป็นเครื่องมุ่งเครื่องบัง
ชื่อว่าเหงื่อที่ไหลออกจากตัวของบริษัทใหญ่ถึงเพียงนั้น มิได้ปรากฏแล้ว. แผ่นดินได้แหวกช่องให้แล้ว.
พื้นแผ่นดินในที่ทุกแห่ง ได้เป็นที่สะอาดทีเดียว. พระศาสดาได้ตรัสสั่ง พระมหาโมคคัลลานะไว้ก่อนทีเดียวว่า
" โมคัลลานะ เธอพึงแสดงธรรมแก่บริษัทนั่น, จุลอนาถบิณฑิกะจักให้อาหาร. " เพราะเหตุนั้น จุลอนาถ-บิณฑิกะแล ได้ให้แล้วซึ่งข้าวต้ม ข้าวสวย
ของเคี้ยว ของหอมระเบียบและเครื่องประดับ แก่บริษัทนั้น ทุกเวลาทั้งเช้าและเย็นตลอดไตรมาสนั้น. พระมหาโมคคัลลานะแสดงธรรมแล้ว วิสัชนาปัญหาที่เหล่าชนผู้มาแล้ว ๆ
เพื่อดูปาฏิหาริย์ถามแล้ว.
พระสัมพุทธเจ้าไพโรจน์ล่วงเหล่าเทวดา เทวดาในหมื่นจักรวาล แวดล้อมแม้พระศาสดา ผู้ทรงจำพรรษา
ที่บัณฑุกัมพลสิลา เพื่อทรงแสดงอภิธรรมแก่พระมารดา เหตุนั้นพระธรรมสังคาหกาจารย์จึงกล่าวว่า
:- " ในกาลใด พระพุทธเจ้า
ผู้เป็นยอดบุรุษประทับ
อยู่เหนือบัณฑุกัมพลสิลา ณ
ควงไม้ปาริฉัตตกะ ในภพ
ดาวดึงส์, ในกาลนั้น เทพดาทั้งหลายในหมื่นโลกธาตุ
ประชุมพร้อมกันแล้วเข้าเฝ้าพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ผู้
ประทับอยู่บนยอดเขา, เทพดาองค์ไหน ๆ ก็หา
ไพโรจน์กว่าพระสัมพุทธเจ้าโดยวรรณะไม่, พระ-
สัมพุทธเจ้าเท่านั้น ย่อมไพโรจน์ล่วงปวงเทพดา
ทั้งหมด. "
ก็เมื่อพระศาสดานั้น ประทับนั่งครอบงำเทพดาทุกหมู่เหล่า ด้วยรัศมีพระสรีระของพระองค์อย่างนี้ พระพุทธมารดาเสด็จมาจากวิมาน
ชั้นดุสิต ประทับนั่ง ณ
พระปรัศว์เบื้องขวา.
แม้อินทกเทพบุตร ก็มานั่งณ
พระปรัศว์เบื้องขวาเหมือนกัน.
อังกุรเทพบุตรมานั่ง ณ พระปรัศว์เบื้อง-ซ้าย. อังกุรเทพบุตรนั้น
เมื่อเทพดาทั้งหลายผู้มีศักดิ์ใหญ่ประชุมกัน
ร่นออกไปแล้ว
ได้โอกาสในที่มีประมาณ ๑๒ โยชน์.
อินทกเทพบุตรนั่งในที่นั่นเอง.
พระศาสดาทอดพระเนตรดูเทพบุตรทั้งสองนั้นแล้ว มีพระประ-สงค์จะยังบริษัทให้ทราบความที่ทานอันบุคคลถวายแล้วแก่ทักขิไนยบุคคลในศาสนาของพระองค์ เป็นกุศลมีผลมาก จึงตรัสอย่างนั้นว่า " อังกุระเธอทำแถวเตาไฟยาว
๑๒ โยชน์ให้ทานเป็นอันมาก
ในกาลประมาณหมื่นปี
ซึ่งเป็นระยะกาลนาน. บัดนี้เธอมาสู่สมาคมของเรา ได้โอกาสในที่ไกลตั้ง ๑๒ โยชน์ ซึ่งไกลกว่าเทพบุตรทั้งหมด; อะไรหนอแล เป็นเหตุในข้อนี้ ?
" แท้จริงพระธรรมสังคาหกาจารย์ทั้งหลาย
ก็ได้กล่าวไว้ดังนี้ว่า:-
" พระสัมพุทธเจ้า ทอดพระเนตรอังกุรเทพบุตร และอินทกเทพบุตรแล้ว เมื่อจะทรงยกย่องทักขิ-ไณยบุคคล ได้ตรัสพระพุทธพจน์นี้ว่า ' อังกุระ เธอให้ทานเป็นอันมาก ในระหว่างกาลนาน, เธอเมื่อ มาสู่สำนักของเรา นั่งเสียไกลลิบ. " พระศาสดาตรัสได้ยินถึงมนุษยโลก
พระสุรเสียงนั้น (ดัง)
ถึงพื้นปฐพี.
บริษัททั้งหมดนั้น ได้ยินพระสุรเสียงนั้น.เมื่อพระศาสดาตรัสอย่างนั้นแล้ว อังกุรเทพบุตร อันพระศาสดาผู้มีพระองค์อันอบรมแล้วตรัสเตือนแล้ว ได้กราบทูลคำนี้ว่า:-
"
ข้าพระองค์จะต้องการอะไร
ด้วยทานอันว่าง
เปล่าจากทักขิไณยบุคคล ยักษ์๑ชื่ออินทกะนี้นั้น ถวาย
ทานแล้วนิดหน่อย ยังรุ่งเรืองยิ่งกว่าข้าพระองค์ดุจ
พระจันทร์ในหมู่ดาว."
บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า
ทชฺชา แก้เป็น ทตฺวา
(แปลว่า
ให้แล้ว).
เมื่ออังกุรเทพบุตรกราบทูลอย่างนั้นแล้ว
พระศาสดาตรัสกะอินทกเทพบุตรว่า
" อินทกะ
เธอนั่งข้างขวาของเรา.
ไฉนจึงไม่ต้องร่นออกไปนั่งเล่า ? " อินทกเทพบุตรกราบทูลว่า " พระเจ้าข้า ข้าพระองค์ได้ทักขิไณยสมบัติแล้ว ดุจชาวนาหว่านพืชนิดหน่อยในนาดี " ดังนี้แล้วเมื่อจะประกาศทักขิไณยบุคคล จึงกราบทูลว่า :-"
พืชแม้มาก อันบุคคลหว่านแล้วในนาดอน ผลย่อมไม่ไพบูลย์ ทั้งไม่ยังชาวนาให้ยินดี ฉันใด, ทานมากมาย
อันบุคคลตั้งไว้ในหมู่ชนผู้ทุศีล
ผล ย่อมไม่ไพบูลย์ ทั้งไม่ยังทายกให้ยินดี ฉันนั้น
เหมือนกัน; พืชแม้เล็กน้อย
อันบุคคลหว่านแล้วในนา ดี
เมื่อฝนหลั่งสายน้ำถูกต้อง
(ตามกาล) ผลก็ย่อมยังชาวนาให้ยินดีได้
ฉันใด, เมื่อสักการะแม้เล็กน้อยอันทายกทำแล้วในเหล่าท่านผู้มีศีล ผู้มีคุณคงที่ ผลก็ย่อมยังทายกให้ยินดีได้ ฉันนั้นเหมือนกัน."
๑. เทพบุตรอันบุคคลพึงบูชา. ทานที่ให้ในทักขิไณยบุคคลมีผลมาก
ถามว่า " บุรพกรรมของอินทกเทพบุตรนั้น เป็นอย่างไร ? " แก้ว่า
" ได้ยินว่า
อินทกเทพบุตรนั้นได้ให้ถวายภิกษาทัพพีหนึ่งที่เขานำมาแล้วเพื่อตน แก่พระอนิรุทธเถระผู้เข้าไปบิณฑบาตภายในบ้าน.
บุญของเธอนั้น มีผลมากกว่าทานที่อังกุรเทพบุตร ทำแถวเตาไฟยาวตั้ง๑๒ โยชน์
ให้แล้วตั้งหมื่นปี, เพราะเหตุนั้น อินทกเทพบุตรจึงกราบทูลอย่างนั้น. " เมื่ออินทกเทพบุตรกราบทูลอย่างนั้นแล้ว พระศาสดาตรัสว่า" อังกุระ การเลือกเสียก่อนแล้วให้ทานจึงควร, ทานนั้นย่อมมีผลมากด้วยอาการอย่างนี้ ดุจพืชที่เขาหว่านดีในนาดีฉะนั้น; แต่เธอหาได้ทำอย่างนั้นไม่, เหตุนั้น ทานของเธอจึงไม่มีผลมาก " เมื่อจะทรงประกาศเนื้อความนี้ให้แจ่มแจ้งจึงตรัสว่า
:-
" ทานอันบุคคลให้แล้วในเขตใด มีผลมาก,
บุคคลพึงเลือกให้ทานในเขตนั้น;
การเลือกให้ อัน
พระสุคตทรงสรรเสริญแล้ว,
ทานที่บุคคลให้แล้วใน
ทักขิไณยบุคคลทั้งหลาย ที่มีอยู่ในโลกคือหมู่สัตว์
ที่ยังเป็นอยู่นี้ มีผลมาก
เหมือนพืชที่บุคคลหว่านแล้ว
ในนาดีฉะนั้น. "
เมื่อจะทรงแสดงธรรมให้ยิ่งขึ้นไป ได้ตรัสพระคาถาเหล่านั้นว่า:-
"
นาทั้งหลายมีหญ้าเป็นเครื่องประทุษร้าย
หมู่
สัตว์นี้มีราคะเป็นเครื่องประทุษร้าย, เพราะเหตุนั้นแล
ทานที่บุคคลให้แล้ว ในท่านที่มีราคะไปปราศแล้ว
ทั้งหลาย จึงมีผลมาก.
นาทั้งหลายมีหญ้าเป็นเครื่อง
ประทุษร้าย หมู่สัตว์นี้มีโทสะเป็นเครื่องประทุษร้าย
เพราะเหตุนั้นแล
ทานที่บุคคลให้แล้วในท่านผู้มีโทสะไปปราศแล้วทั้งหลาย จึงมีผลมาก. นาทั้งหลาย มีหญ้าเป็นเครื่องประทุษร้าย หมู่สัตว์นี้มีโมหะเป็นเครื่องประทุษร้าย. เพราะเหตุนั้นแล ทานที่บุคคลให้แล้วในท่านผู้มีโมหะไปปราศแล้วทั้งหลาย จึงมี ผลมาก.
นาทั้งหลายมีหญ้าเป็นเครื่องประทุษร้าย หมู่สัตว์นี้มีความอยากเป็นเครื่องประทุษร้าย เพราะเหตุนั้นแล ทานที่บุคคลให้แล้ว ในท่านผู้มีความ
อยากไปปราศแล้วทั้งหลาย จึงมีผลมาก. "
ในกาลจบเทศนา อังกุรเทพบุตรและอินทกเทพบุตร ดำรงอยู่แล้ว
ในโสดาปัตติผล. (ธรรมเทศนาได้มีประโยชน์แม้แก่มหาชนแล้ว).
พระศาสดาเสด็จไปโปรดพระมารดาชั้นดาวดึงส์
ลำดับนั้น พระศาสดาประทับนั่งในท่ามกลางเทวริษัท ทรงปรารภพระมารดาเริ่มตั้งอภิธรรมปิฎกว่า
" กุสลา ธมฺมา อกุสลา ธมฺมา,อพฺยากตา ธมฺมา " ดังนี้เป็นต้น. ทรงแสดงอภิธรรมปิฎกโดยนัยนี้ เรื่อยไปตลอด ๓
เดือน. ก็แลทรงแสดงธรรมอยู่ ในเวลาภิกษาจารทรงนิรมิตพระพุทธนิรมิต ด้วยทรงอธิษฐานว่า " พุทธนิรมิตนี้จงแสดงธรรมชื่อเท่านี้ จนกว่าเราจะมา " แล้วเสด็จไปป่าหิมพานต์ ทรงเคี้ยวไม้สีฟันชื่อนาคลตา บ้วนพระโอษฐ์ที่สระอโนดาต นำบิณฑบาตมาแต่อุตตรกุรุทวีป
ได้ประทับนั่งทำภัตกิจในโรงกว้างใหญ่แล้ว.
พระสารีบุตร เถระไปทำวัตรแต่พระศาสดาในที่นั้น. พระศาสดาทรงทำภัตกิจแล้ว ตรัส แก่พระเถระว่า " สารีบุตร วันนี้เราภาษิตธรรมชื่อเท่านี้. เธอจงบอกแก่(ภิกษุ ๕๐๐) นิสิตของตน. " ได้ทราบว่า
กุลบุตร ๕๐๐ เลื่อมใสยมกปาฏิหาริย์ บวชแล้วในสำนักของพระเถระ. พระศาสดาตรัสแล้วอย่างนั้นทรงหมายเอาภิกษุเหล่านั้น. ก็แลครั้นตรัสแล้ว เสด็จไปสู่เทวโลก ทรงแสดงธรรมเอง ต่อจากที่พระพุทธนิรมิตแสดง. แม้พระเถระก็ไปแสดงธรรมแก่ภิกษุเหล่านั้น. ภิกษุเหล่านั้น เมื่อพระศาสดาเสด็จอยู่ในเทวโลกนั้นแล ได้เป็นผู้ชำนาญในปกรณ์ ๗ แล้ว. ได้ยินว่า
ในกาลแห่งพระพุทธเจ้าทรงพระนามว่ากัสสป
ภิกษุเหล่านั้นเป็นค้างคาวหนู
ห้อยอยู่ที่เงื้อมแห่งหนึ่ง
เมื่อพระเถระ ๒ รูปจงกรมแล้วท่องอภิธรรมอยู่ ได้ฟังถือเอานิมิตในเสียงแล้ว. ค้างคาวเหล่านั้นไม่รู้ว่า " เหล่านั้น ชื่อว่าขันธ์. เหล่านี้
ชื่อว่าธาตุ " ด้วยเหตุสักว่าถือเอานิมิตในเสียงเท่านั้น จุติจากอัตภาพนั้น แล้วเกิดในเทวโลกเสวยทิพยสมบัติสิ้นพุทธันดรหนึ่ง จุติจากเทวโลกนั้นแล้ว เกิดในเรือนตระกูลในกรุงสาวัตถี เกิดความเลื่อมใสในยมกปาฏิหาริย์ บวชในสำนักของพระเถระแล้ว
ได้เป็นผู้ชำนาญในปกรณ์ ๗ ก่อนกว่าภิกษุทั้งปวง.
แม้พระศาสดาก็ทรงแสดงอภิธรรมโดยทำนองนั้นแล ตลอด ๓ เดือนนั้น. ในกาลจบเทศนา ธรรมาภิสมัยได้มีแก่เทวดา ๘ หมื่นโกฏิ. แม้พระมหามายาก็ตั้งอยู่แล้วในโสดาปัตติผล.
พระโมคคัลลานเถระขึ้นไปทูลถามข่าวเสด็จลง บริษัทมีปริมณฑล ๓๖ โยชน์
แม้นั้นแล คิดว่า " แต่บัดนี้ไปในวันที่ ๗ จักเป็นวันมหาปวารณา
" แล้วเข้าไปหาพระมหาโมคคัลลาน
เถระ กล่าวว่า " ท่านเจ้าข้า ควรจะทราบวันเสด็จลงของพระศาสดา.เพราะข้าพเจ้าทั้งหลาย ไม่เห็นพระศาสดาแล้ว จักไม่ไป." ท่านพระ-มหาโมคคัลลานะ ฟังถ้อยคำนั้นแล้วรับว่า " ดีละ." แล้วดำลงในแผ่นดินตรงนั้นเอง อธิษฐานว่า
" บริษัทจงเห็นเรา
ผู้ไปถึงเชิงเขาสิเนรุแล้วขึ้นไปอยู่ "
มีรูปปรากฏดุจด้ายกัมพลเหลืองที่ร้อยไว้ในแก้วมณีเทียว ขึ้นไปแล้วโดยท่ามกลางเขาสิเนรุ. แม้พวกมนุษย์ก็แลเห็นท่านว่า " ขึ้นไปแล้ว ๑ โยชน์
ขึ้นไปแล้ว ๒ โยชน์ "
เป็นต้น. แม้พระเถระขึ้นไปถวายบังคมพระบาทยุคลของพระศาสดา ดุจเทินไว้ด้วยเศียรเกล้า กราบทูลอย่างนั้นว่า " พระเจ้าข้า บริษัทประสงค์จะเฝ้าพระองค์ก่อนแล้วไป.
พระองค์จักเสด็จลงเมื่อไร ? " พระศาสดา.
โมคคัลลานะ ก็สารีบุตร พี่ของเธอ
อยู่ที่ไหน. โมคคัลลานะ
พระเจ้าข้า ท่านจำพรรษาอยู่ ในสังกัสสนคร. พระศาสดา.
โมคคัลลานะ ในวันที่ ๗
แต่วันนี้ (ไป) เราจักลงที่ประตูเมืองสังกัสสะ
ในวันมหาปวารณา
ผู้ใคร่จะพบเราก็จงไปที่นั่นเถิด;ก็แลสังกัสสนครจากกรุงสาวัตถี มีประมาณ ๓๐ โยชน์ ในทางเท่านั้นกิจที่จะต้องเตรียมเสบียง ย่อมไม่มีแก่ใคร ๆ. เธอพึงบอกแก่คนเหล่านั้นว่า ' ท่านทั้งหลาย จงเป็นผู้รักษาอุโบสถไป ดุจไปสู่วิหารใกล้เพื่อฟังธรรมเถิด.'
0 ความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น